5 เรื่องน่ารู้ “วันตำรวจ” 17 ตุลาคม 163 ปีเปลี่ยนผ่าน

ไลฟ์สไตล์
15 ต.ค. 66
09:00
5,865
Logo Thai PBS
5 เรื่องน่ารู้ “วันตำรวจ” 17 ตุลาคม 163 ปีเปลี่ยนผ่าน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทุกวันที่ 17 ตุลาคมของทุกปี ถือเป็นวันตำรวจ ปีนี้ไทยพีบีเอสออนไลน์ประมวล 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความเป็นมาของวันตำรวจไทย 163 ปีเปลี่ยนผ่านจากกรมโปลิส สู่กรมตำรวจและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

163 ปีรัชกาลที่ 4 ให้กำเนิด "กองโปลิศ"

หากย้อนอดีตการถือกำเนิด “ตำรวจ” เกิดขึ้นเมื่อ 163 ปีตั้งแต่ยุคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งร้อยเอก แซมมวล โยเซฟ เบิร์ด เอมส์ หรือหลวงรัถยาภิบาลบัญชา เป็นผู้จัดตั้งกองโปลิศในปี พ.ศ.2403

มีภารกิจในการรักษาความสงบภายในประเทศ แทนที่ตำแหน่งเดิมคือข้าหลวงกองจับ และกองตระเวนซ้ายขวา ซึ่งในช่วงเริ่มต้นได้มีการจ้างแขกมลายูและอินเดียมาเป็นตำรวจ เรียกว่ากองโปลิศคอนสเตเบิ้ล และค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นคนไทยใน

ในช่วงแรก เราเคยเรียกตำรวจ ทับคำศัพท์ว่า "โปลิศ " มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Police สำหรับเรียกหน่วยตำรวจที่จัดตั้งขึ้น 

ทำไมเปลี่ยนวันตำรวจจาก 13 ตุลาคม

วันตำรวจ เดิมตรงกับวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เนื่องจากวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เป็นวันประกาศรวม "กรมพลตระเวน" กับ "กรมตำรวจภูธร" เป็น กรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมตำรวจ" จึงถือเอาวันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี

ต่อมาในปี พ.ศ.2560 มีการเปลี่ยนแปลงวันตำรวจเป็นวันที่ 17 ตุลาคมของทุกปี โดยยึดตามวันที่มีการเปลี่ยนแปลงจากกรมตำรวจเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2541

ปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มีผู้บังคับบัญชาสูงสุด คือ พล.ต.อ. ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ คนที่ 14 ซึ่งในวงการเรียก "บิ๊กต่อ" เจ้าของฉายา มือปราบสายธรรมะ และโรโบคอปสายบุญ  เนื่องจากบรรดาสื่อมวลชนสายอาชญากรรม-ตำรวจ ขนานนามให้ เพราะมักจะเป็นนายตำรวจที่ใช้หลักธรรมในการทำงาน และเดินสายปฏิบัติธรรมตามสถานที่ต่างๆ 

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.คนที่ 14

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.คนที่ 14

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.คนที่ 14

“ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้”

พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจคนที่ 14 (หากนับจากการก่อตั้งกองโปลิศปี 2403) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2494-2500 เจ้าของคำขวัญ "ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้"

พล.ต.อ.เผ่า ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาความสงบภายในทั่วราชอาณาจักร ในเหตุการณ์การรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ.2494 โดยคณะบริหารประเทศ

คำขวัญตำนานที่สะท้อนให้ถึงตัวตนของตำรวจในสมัยนั้น ก็คือ “ภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ ในทางที่ไม่ขัดต่อศีลธรรม ขนบธรรม เนียมประเพณีอันดีงามและกฎหมายบ้านเมือง” ซึ่ง พล.ต.อ.เผ่าเป็นผู้กล่าว จนได้รับฉายาจากสื่อต่างประเทศว่า “บุรุษเหล็กแห่งเอเชีย

หน่วยหนุมานกองปราบ

หน่วยหนุมานกองปราบ

หน่วยหนุมานกองปราบ

"หนุมานกองปราบ" เขี้ยวเล็บกองปราบ 

"หนุมานกองปราบ" ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพ.ย.2562 โดยพล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช ผู้บังคับการปราบปราม ที่ต้องการตั้งชื่อหรือนามเรียกขานหน่วยปฏิบัติการพิเศษให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ปฏิบัติหน้าที่เป็นกำลังหลักในการตรวจค้น จับกุมคดีสำคัญ รวมทั้งสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานในสังกัด

เนื่องจากหน่วยคอมมานโด ซึ่งเคยสังกัดกองปราบนั้น ได้แยกตัวไปอยู่ในสังกัดกองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 จึงได้ขอเสนอตั้งกองกำกับการสนับสนุนกองบังคับการปราบปรามขึ้นมาแทน มีพ.ต.อ.วิจักขณ์ ตารมย์ เป็นผู้กำกับการและควบคุมหน่วยปฏิบัติการพิเศษ  "S.W.A.T. กองปราบ"  

หนุมานกองปราบ ประเดิมผลงานแรกคดีสะเทือนขวัญต้นปี 2563 ด้วยเหตุอุจฉกรรจ์สะเทือนขวัญในพื้นที่ จ.ลพบุรี ซึ่งมีคนร้ายเป็นชายบุกเข้าชิงทองในร้านทองชื่อดัง โดยใช้อาวุธปืนยิงพนักงานร้านทอง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และเด็กชายวัย 2 ขวบ เสียชีวิตรวม 3 คน  

จากนั้นเมื่อวันที่ 8 ก.พ.2563 เกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของประเทศไทย ที่มีคนร้ายใช้อาวุธปืนกราดยิงประชาชนในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ใจกลางเมืองนครราชสีมา

หน่วยหนุมานกองปราบ เข้ารับพระราชทานตราสัญลักษณ์ประจำหน่วยปฏิบัติการพิเศษ “หนุมาน” เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.2563 ต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน จากนั้นได้อัญเชิญตราสัญลักษณ์พระราชทานมายังกองบังคับการปราบปราม และประกอบพิธีประดับเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ประจำหน่วยให้แก่ “ชุดปฏิบัติการพิเศษหนุมาน”

“สุนัขตำรวจเอ็กซ์” วีรบุรุษสี่ขาในกอง K-9

กองกำกับการสุนัขตำรวจ กองบัญชาการตำรวจนครบาล สร้างอนุสาวรีย์ของ "เอ็กซ์" สุนัขพันธุ์เยอรมันเชฟเฟิร์ด อายุ 6 ปี สุนัข K-9 ที่พลีชีพในภารกิจตามรอยขบวนการโจรก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน (ขจก.) เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2517

อนุสาวรีย์สุนัขตำรวจเอ็กซ์ สุนัขตำรวจตัวแรกพลีชีพในเหตุการณ์ภาคใต้เมื่อปี 2517

อนุสาวรีย์สุนัขตำรวจเอ็กซ์ สุนัขตำรวจตัวแรกพลีชีพในเหตุการณ์ภาคใต้เมื่อปี 2517

อนุสาวรีย์สุนัขตำรวจเอ็กซ์ สุนัขตำรวจตัวแรกพลีชีพในเหตุการณ์ภาคใต้เมื่อปี 2517

สุนัขตำรวจเอ็กซ์ ส่งสัญญาณเตือนให้ผู้บังคับสุนัข และเจ้าหน้าที่หลบเข้าที่กำบังได้ทันฉิวเฉียด ท่ามกลางเสียงปืนที่ดังขึ้นพร้อมกับการจากไปของเอ็กซ์ ต่อมากองกำกับการสุนัขตำรวจ ได้สร้างอนุสาวรีย์ยกย่องความกล้าหาญ และเสียสละของวีรบุรุษสี่ขา ที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่หลายคนรอดชีวิตในวันนั้น ส่วนสุนัขเอ็กซ์ถูกนำร่าง “เอ็กซ์” ไปฝังไว้หน้ากองร้อย กก.ภ.ยะลา

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง