“กองเรือฟริเกต” ราชนาวีไทย มีที่มาอย่างไร? ในวงถกการเมืองไทย

การเมือง
24 ต.ค. 66
14:49
1,053
Logo Thai PBS
“กองเรือฟริเกต” ราชนาวีไทย มีที่มาอย่างไร? ในวงถกการเมืองไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
คำถามที่ค่อนข้างทันสมัย สำหรับทักทายในเรื่องการเมืองไทย เห็นจะเป็น “ใครสั่งเปลี่ยนซื้อเรือฟริเกตแทนเรือดำน้ำ” “เราจะผิดสัญญาหรือเปล่า”

หลังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เดินทางไปพบผู้นำจีน และมีการพูดคุยกัน จนมาถึงการให้สัมภาษณ์ของนายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม ที่บอกยกเลิกการจัดซื้อเรือดำน้ำเจ้าปัญหา แต่เปลี่ยนมาซื้อ “เรือฟริเกต” แทน

"สุทิน" ย้ำกองทัพเรือเสนอมาเอง เปลี่ยน "เรือดำน้ำ" เป็น "เรือฟริเกต"

เรามาดูกันว่า “เรือฟริเกต” ที่ประจำการในกองทัพเรือไทย มีที่มาที่ไปอย่างไร

กองเรือฟริเกตที่ 1 กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2496 เป็นหน่วยกำลังรบทางเรือที่เก่าแก่ที่สุดหน่วยหนึ่งของกองทัพเรือไทย มีเรือที่มีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ จนมีการเปลี่ยนชื่อหน่วย เป็นเช่นในปัจจุบัน ตามการแก้ไขอัตราจัดกองเรือยุทธการใหม่ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2535

โดยมีการจัดตั้งหน่วยใช้กำลังทางเรือใหม่รวมถึง กองเรือฟริเกตที่ 2 ที่ประจำการด้วยเรือฟริเกตที่ซื้อมาจากประเทศจีนคือ ชุดเรือหลวงเจ้าพระยา 4 ลำ (เจ้าพระยา, บางปะกง, กระบุรี, สายบุรี) และชุดเรือหลวงนเรศวร 2 ลำ (เรือหลวงนเรศวร, เรือหลวงตากสิน) พร้อมการเปลี่ยนหมายเลขเรือ (pennant number) จากเลขตัวเดียวเป็นเลขสามหลัก

การเปลี่ยนแปลงกำลังทางเรือของกองเรือฟริเกตที่ 1 ที่สำคัญ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา คือ การปลดประจำการเรือฟริเกต ชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 2 ลำ (เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย)

ซึ่งเป็นเรือฟริเกตชั้น Knox ที่เคยประจำการในกองเรือสหรัฐฯ ที่จัดหาช่วงในปี 2537-2540 คือ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในวันที่ 30 กันยายน 2560 และเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย ในวันที่ 1 เมษายน 2558

นอกจากนี้ กองเรือฟริเกตที่ 1 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญคือ ล่าสุดปลดประจำการเรือฟริเกตชุดเรือหลวงตาปี (เรือหลวงตาปี, เรือหลวงคีรีรัฐ) เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2565 และปลดประจำการเรือหลวงคีรีรัฐ ในปี 2566

คณะรัฐมนตรีของไทยได้อนุมัติการจัดหาเรือฟริเกตตรวจการณ์ (Patrol Frigate) แบบ PF-105 (PF-103) ที่สร้างโดยอู่เรือบริษัท American Shipbuilding และบริษัท Norfolk Shipbuilding & Drydock สหรัฐฯ 2 ลำ เป็นวงเงินลำละ 7,878,000 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2511

ส่วนกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535 โดยกระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติให้กองทัพเรือปรับโครงสร้างหน่วยกำลังรบใหม่ โดยจัดแบ่งกองเรือตามประเภทจากเดิม 4 กองเรือ เป็น 9 กองเรือ

ต่อมากองทัพเรือได้รับมอบเรือฟริเกตชุด เรือหลวงเจ้าพระยา ซึ่งต่อจากประเทศจีน 4 ลำ คือ เรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง เรือหลวงกระบุรี เรือหลวงสายบุรี

“เรือหลวงเจ้าพระยา” เดินทางถึงประเทศไทยเป็นลำแรก เมื่อเดือนเมษายน 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงเจิมเรือชุด เรือหลวงเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2536

เพื่อความเป็นสิริมงคลกองเรือฟริเกตที่ 2 จึงถือเอาวันดังกล่าว เป็นวันคล้ายวันสถาปนาหน่วยตลอดมา และในปี 2537 กองทัพเรือได้รับมอบ เรือหลวงนเรศวร และเรือหลวงตากสิน เข้าสังกัดกับกองเรือฟริเกตที่ 2

สำหรับกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ มีหน้าที่ในการจัด และเตรียมกำลังสำหรับการปฏิบัติการผิวน้ำการปราบเรือดำน้ำ และการป้องกันภัยทางอากาศ ตั้งแต่ก่อตั้งเป็นต้นมา

กองเรือฟริเกตที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างสมบูรณ์ จนเป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจของผู้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ เช่น การจัดเรือปฏิบัติราชการกองเรือภาค ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน การจัดกระบวนเรือคุ้มกัน เรือหลวงจักรีนฤเบศร ในการเดินทางจากประเทศสเปนกลับมายังประเทศไทย การฝึกภาคปฏิบัติในทะเลของนักเรียนนายเรือ

จากภารกิจที่ได้รับมอบหมายที่ผ่านมา ทำให้กำลังพลของกองเรือฟริเกตที่ 2 มีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะการปฏิบัติงานในทะเล

สำหรับเรือฟริเกต ของกองทัพเรือไทย ที่ได้รับพระราชทานให้ใช้พระนามพระมหากษัตริย์ ตั้งเป็นชื่อเรือ เช่น
413 เรือหลวงปิ่นเกล้า
421 เรือหลวงนเรศวร
422 เรือหลวงตากสิน
433 เรือหลวงมกุฎราชกุมาร
461 เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
462 เรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย
471 เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช

อ้างอิง
https://www.navy.mi.th/
https://www.google.com
https://www.carrushome.com/
https://aagth1.blogspot.com/

อ่านข่าวอื่นๆ

จับ "ลูกเขยชาดา" เรียกรับสินบนสร้างประปาหมู่บ้าน 6 แสนบาท

แกะเส้นทางหนี "เสี่ยแป้ง นาโหนด" ซ่อนไทย -ไปต่างแดน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง