"ท่อเชื้อเพลิง" ของยานวอยเอจเจอร์ 1 และ 2 เริ่มตันอุดตัน วิศวกรวางแผนแก้ปัญหา

Logo Thai PBS
"ท่อเชื้อเพลิง" ของยานวอยเอจเจอร์ 1 และ 2 เริ่มตันอุดตัน วิศวกรวางแผนแก้ปัญหา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
วิศวกรวางแผนแก้ปัญหาเชื้อเพลิงอุดตันในท่อส่งเชื้อเพลิงของยานวอยเอจเจอร์ (Voyager) ทั้งสองหลังใช้งานมาเป็นเวลากว่า 46 ปี เพื่อยืดอายุการใช้งาน

ยานวอยเอจเจอร์ 1 และ 2 เป็นยานสำรวจอวกาศที่กำลังสำรวจอวกาศนอกระบบสุริยะและเรียกได้ว่าเป็นเพียงยานอวกาศไม่กี่ลำที่เดินทางออกมาจากโลกได้ไกลเช่นนี้ โดยเฉพาะยานวอยเอจเจอร์ 1 ซึ่งเป็นวัตถุอวกาศของมนุษย์ที่เดินทางไกลจากโลกมากที่สุด

ยานวอยเอจเจอร์ 1 และ 2 เป็นยานแบบเดียวกัน ยานวอยเอจเจอร์ 1 ถูกปล่อยในเดือน กันยายน 1977 ส่วนยานวอยเอจเจอร์ 2 ถูกปล่อยในเดือน สิงหาคม 1977 โดยทั้งสองนั้นถูกปล่อยไปในคนละทิศทางกัน

ยานทั้งสองใช้เชื้อเพลิงปริมาณเล็กน้อยตลอดเวลาเพื่อควบคุมทิศทางของยานให้จานรับสัญญาณหันมายังโลกตลอดเวลาเพื่อการสื่อสาร อย่างไรก็ตามด้วยอายุการใช้งานของยานวอยเอจเจอร์ทั้งสองเองที่ทำงานมาแล้วกว่า 30 ปี ท่อเชื้อเพลิงของยานซึ่งมีขนาดเล็กเริ่มเกิดการอุดตันจากซากเชื้อเพลิงที่หลงเหลือจากการยิงจรวดควบคุมทิศทางขนาดเล็กมานานหลายสิบปี หากท่อเชื้อเพลิงอุดตัน ยานวอยเอจเจอร์ก็จะไม่สามารถยิงจรวดเพื่อควบคุมทิศทางได้และการสื่อสารจากโลกก็จะถูกตัดขาดเพราะยานไม่สามารถหันจานรับสัญญาณมายังโลกได้อย่างสม่ำเสมอ

วิศวกรของยานทั้งสองได้แก้ปัญหานี้โดยการลดความถี่ในการยิงจรวดเพื่อปรับทิศทาง ซึ่งก็จะลดปริมาณของซากเชื้อเพลิงที่จะอุดตันมากขึ้นลงไปด้วย อย่างไรก็ตาม นั่นก็หมายความว่าความเบี่ยงเบนในทิศทางการหันของยานวอยเอจเจอร์จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย แต่วิศวกรการคาดว่าการลดความถี่ในการยิงจรวดปรับทิศทางจะช่วยให้ท่อเชื้อเพลิงของยานวอยเอจเจอร์ยังใช้งานไปอีกได้อย่างน้อย 5 ปี

ที่มาภาพ: NASA
ที่มาข้อมูล: NASA

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง