สปสช.ขู่เอาผิดพบ "ถุงยางแจกฟรี" โผล่ขายออนไลน์

สังคม
3 พ.ย. 66
19:00
363
Logo Thai PBS
สปสช.ขู่เอาผิดพบ "ถุงยางแจกฟรี" โผล่ขายออนไลน์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สปสช.เตือนห้ามนำถุงยางอนามัยแจกฟรีมาขายต่อ หลังพบวางขายในออนไลน์ ยันผิดกฎหมาย พร้อมขู่จะดำเนินคดีถ้ายังไม่เลิก ชี้ถุงยางแจกฟรีผ่านแอปเป๋าตัง 10 ชิ้นต่อสัปดาห์

วันนี้ (3 พ.ย.2566) ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า กรณีพบว่ามีผู้นำถุงยางอนามัยที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)แจกฟรี ไปขายบนแพล็ตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ชื่อดังในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด 

การกระทำดังกล่าว ถือว่ามีความผิด เพราะเป็นการนำสิ่งของที่รัฐแจกฟรีให้แก่ประชาชนมาแสวงผลประโยชน์โดยมิชอบ และมีความผิดตามกฎหมาย ขอเตือนให้หยุดการกระทำดังกล่าว ไม่เช่นนั้น สปสช.จะดำเนินการตามกฎหมาย 

ทพ.อรรถพร กล่าวว่า การแจกถุงยางอนามัยนั้น เป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่ สปสช. จัดให้แก่ชายไทยทุกสิทธิ ควบคู่ไปกับการแจกยาคุมกำเนิดและยาคุมฉุกเฉินแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งทั้งถุงยางอนามัยและยาคุมกำเนิด สปสช.แจกให้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดังนั้นการฉวยโอกาสนำถุงยางอนามัยที่ได้รับฟรีมาขายต่อ จึงเป็นการกระทำที่ผิดวัตถุประสงค์ เอาเปรียบเบียดบังเอาสิ่งของที่ได้มาจากภาษีส่วนรวมมาหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

ขอให้ผู้ที่กระทำการในลักษณะนี้หยุดการกระทำโดยทันที หากพบว่ายังมีการนำถุงยางอนามัยที่ได้รับแจกฟรีมาขายต่ออีก สปสช. จะพิจารณาดำเนินการทางกฎหมายจนถึงที่สุด ขอเตือนว่าเป็นเรื่องที่ไม่คุ้ม อาจจะขายของได้เพียงหลักสิบหลักร้อยบาท แต่เมื่อถูกฟ้องร้องขึ้นมา ท่านอาจจะเสียทั้งเงินและอาจถึงขั้นติดคุกด้วย 

อ่านข่าว คุมท้องไม่พร้อม! รับ"ถุงยาง" สัปดาห์ละ 10 ชิ้นเริ่ม 1 ก.พ.นี้

ทพ.อรรถพร กล่าวต่อว่า ในส่วนของประชาชนผู้ที่ต้องการใช้ถุงยางอนามัย ขอแนะนำว่าไม่ควรอุดหนุนการกระทำดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพราะแม้ถุงยางที่นำมาขายจะมีราคาต่ำกว่าราคาที่ขายเป็นการทั่วไป แต่จริงๆ แล้วท่านสามารถขอรับถุงยางอนามัยได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียเงินแม้แต่บาทเดียว

โดยสามารถลงทะเบียนใช้สิทธิในเมนู “ประเป๋าสุขภาพ” ในแอปฯ เป๋าตัง แล้วเลือกหน่วยบริการในระบบบัตรทองเพื่อไปรับถุงยางอนามัยได้ ทั้งคลินิกชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรม ร้านยา หน่วยบริการปฐมภูมิ คลินิกการพยาบาล รพ.สต.

หรือในกรณีที่ไม่มีสมาร์ทโฟนก็สามารถนำบัตรประชาชนมาลงทะเบียนเพื่อรับยาคุมกำเนิด ณ หน่วยบริการในระบบบัตรทองได้เช่นกัน โดยสามารถรับได้ครั้งละ 10 ชิ้นต่อคน/สัปดาห์ และไม่เกิน 52 ครั้ง/คน/ปี โดยมีให้เลือก 4 ไซส์ คือ 49 มม., 52 มม., 54 มม. และ 56 มม.

อ่านข่าว

ปี' 65 ติดเอชไอวี 9,230 คน เกินครึ่งวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง