รักษาไม่ได้ผล "ยาปฏิชีวนะ" ทำเศรษฐกิจพัง 4 หมื่นล้าน-คนป่วยนาน

Logo Thai PBS
รักษาไม่ได้ผล "ยาปฏิชีวนะ" ทำเศรษฐกิจพัง 4 หมื่นล้าน-คนป่วยนาน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไทยมีอัตราการคนเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ กว่า 38,000 คน/ปี นักวิชาการต่างประเทศคาดการณ์ว่า ในอีก 30 ปีข้างหน้า สถานการณ์ทั่วโลกจะมีคนตายเพราะเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเพิ่มถึง 10 ล้านคน/ปี ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงถึง 4 หมื่นล้านบาท

รายงานองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย ในเดือน ต.ค.2566 พบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในแหล่งน้ำสาธารณะและบริเวณฟาร์มอุตสาหกรรรม อาทิ ฟาร์มสุกร และฟาร์มไก่ ใน จ.นครราชสีมา จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.นครปฐม ไม่ต่างจากผลตรวจเมื่อ 4 ปีก่อน สร้างความวิตกอย่างมาก ที่ยังคงพบเชื้อดื้อยา เช่น E.coli และ Klebsiella อยู่ในกลุ่มยาที่นิยมใช้ในฟาร์มอุตสาหกรรม เช่น Ampicillin, Amoxy-clavulanate และ Tetracycline ซึ่งเป็นยากลุ่มเดียวกับที่ใช้รักษาโรคผู้ป่วยที่ติดเชื้อต่างๆ เช่น ในทางเดินปัสสาวะ หลอดลมอักเสบ ภาวะติดเชื้อที่หู ในกระแสเลือด รวมถึงการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ฯลฯ

ภาพประกอบข่าว แหล่งน้ำปนเปื้อนสิ่งสกปรก

ภาพประกอบข่าว แหล่งน้ำปนเปื้อนสิ่งสกปรก

ภาพประกอบข่าว แหล่งน้ำปนเปื้อนสิ่งสกปรก

หากคนได้รับเชื้อดื้อยาและเจ็บป่วยจากโรคดังกล่าว อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาปีละ 38,000 คน และติดเชื้อปีละ 88,000 คน นำไปสู่การรักษาที่โรงพยาบาลนานขึ้น ค่าใช้จ่ายในการรักษาราว 2,500-6,000 ล้านบาท และมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากถึง 40,000 ล้านบาท

ภาพประกอบข่าว ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ต้องรักษาตัวนาน

ภาพประกอบข่าว ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ต้องรักษาตัวนาน

ภาพประกอบข่าว ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ต้องรักษาตัวนาน

ข้อมูล "มูลนิธิ สืบ นาคะเสถียร" ไขปริศนาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะมาจากไหน?

ส่วนหนึ่งมาจากการใช้ยาที่ไม่เป็นไปตามแนวทางรักษาของแพทย์และเภสัชกร องค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของการใช้ยาปฏิชีวนะในประเทศกำลังพัฒนา เป็นการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมและสูญเปล่า โดยเฉพาะการใช้ยาปฏิชีวนะที่มีความซับซ้อนขึ้น เพราะมีการนำไปใช้ในภาคการเกษตรและการปศุสัตว์

ผลกระทบที่ตามมาคือ มีการปนเปื้อนของเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะที่กระจายลงสู่ดินและแหล่งน้ำที่อยู่บริเวณใกล้เคียงฟาร์มอุตสาหกรรม

สวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มโยงสุขภาพคน-สิ่งแวดล้อม

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ได้ศึกษาความเชื่อมโยงเรื่องของสวัสดิภาพของสัตว์ในระบบฟาร์มอุตสาหกรรม กับการใช้ยาปฏิชีวนะภาคการปศุสัตว์ ใน 4 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา สเปน อเมริกา และ ไทย พบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมหาศาลในภาคการเกษตร ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ มีการแพร่กระจายจากฟาร์มไปสู่คนได้ โดยช่องทางต่างๆ เช่น การสัมผัสโดยตรงของคนงาน การปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร รวมถึงปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

ภาพประกอบข่าว สัตว์ในอุตสาหกรรมฟาร์ม

ภาพประกอบข่าว สัตว์ในอุตสาหกรรมฟาร์ม

ภาพประกอบข่าว สัตว์ในอุตสาหกรรมฟาร์ม

ยาปฏิชีวนะถูกใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสวัสดิภาพสัตว์ที่ย่ำแย่ เช่น การตอนสดอวัยวะในลูกหมู การตัดหาง-ตัดฟัน หมูเหล่านี้จะได้รับยาปฏิชีวนะผสมในน้ำและอาหารให้กิน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ 

จากการศึกษาพบว่าแหล่งน้ำและดินที่อยู่บริเวณใกล้กับฟาร์มตัวอย่าง พบการปนเปื้อนยีนดื้อยาปฏิชีวนะหลายกลุ่มที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดอยู่ในกลุ่มที่มีความสำคัญสูงและสูงสุดหลายตัว ซึ่งสอดคล้องกับผลของต่างประเทศ แต่สิ่งที่ไทยแตกต่างจากประเทศอื่นคือ

ไทยมีการพบ mcr-1 ซึ่งเป็นยีนที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะในกลุ่ม polymyxins หรือโคลิสติน ซึ่งถือเป็นยาที่มีการควบคุมและจำกัดการใช้อย่างเข้มงวดในประเทศไทย

นายโชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการแคมเปญระบบอาหาร องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า ยีนดื้อยาปฏิชีวนะเหล่านี้ ถูกพบมากขึ้นในพื้นที่ที่มีการนำเอามูลสุกรไปใช้เป็นปุ๋ยคอกในภาคการเกษตร หรือปล่อยน้ำเสียจากฟาร์มโดยตรงสู่สิ่งแวดล้อม ราวร้อยละ 70 ของยาปฏิชีวนะที่สัตว์ได้รับผ่านการกินอาหารและน้ำ จะไม่ถูกดูดซึมและย่อยได้ทั้งหมด และปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อมผ่านมูลสัตว์ ที่จำหน่ายเพื่อนำไปเป็นปุ๋ยคอกในภาคการเกษตรอีกด้วย

แบคทีเรียที่อยู่ในมูลสัตว์สามารถมีอายุได้ถึง 2-12 เดือน ซึ่งอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการกระจายของยีนดื้อยา และยาปฏิชีวนะตกค้างในมูลสัตว์มากยิ่งขึ้น
ภาพประกอบข่าว มูลสัตว์ใช้ทำปุ๋ยคอก

ภาพประกอบข่าว มูลสัตว์ใช้ทำปุ๋ยคอก

ภาพประกอบข่าว มูลสัตว์ใช้ทำปุ๋ยคอก

เสริมสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์ม ลดการปนเปื้อนเชื้อดื้อยาในระบบนิเวศ

นายโชคดีระบุว่า แม้ว่าเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ จะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง ปัญหาที่น่ากังวลคือ การเฝ้าระวังและตรวจสอบในเรื่องนี้ยังคงมีอยู่น้อยมาก ในปี 2562 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่ามีเพียง 10 ประเทศที่มีข้อกำหนดเรื่องการปล่อยน้ำเสียออกจากฟาร์ม ที่มีการควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อดื้อยารวมถึงยาปฏิชีวนะตกค้าง

ภาพประกอบข่าว การเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบการปนเปื้อน

ภาพประกอบข่าว การเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบการปนเปื้อน

ภาพประกอบข่าว การเก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจสอบการปนเปื้อน

ซึ่งขัดต่อสิ่งที่องค์การสหประชาชาติ (UN) พยายามผลักดันให้แต่ละประเทศใส่ใจในเรื่องของการปนเปื้อนเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในสิ่งแวดล้อม และเป็นที่น่าตกใจว่า ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานสากลใดๆ กำหนดเรื่องความเข้มข้นของเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ในแหล่งน้ำ และยังไม่มีแนวทางในการเฝ้าระวังปัญหาในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม

กุญแจสำคัญที่ทำให้การใช้ยาปฏิชีวนะน้อยลงคือการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ในระบบฟาร์มอุตสาหกรรมให้มีชีวิตที่ดีขึ้น จากการสำรวจในประเทศอังกฤษพบว่าการทำฟาร์มหมูแบบมีสวัสดิภาพที่ดี สามารถช่วยลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะได้มากถึงร้อยละ 77

"บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด ฮึดสู้เพื่อสัตว์ฟาร์ม" อ.ปริญญา-มารีญา แทคทีม "พายซัพ" 

เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2566 องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย (World Animal Protection) จัดแคมเปญ "บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด ฮึดสู้เพื่อสัตว์ฟาร์ม" ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ อาทิ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา อาสาสมัคร ตลอดจนเยาวชน ให้มีส่วนร่วมสร้างสังคมตระหนักถึงปัญหาและภัยของเชื้อดื้อยาเพื่อป้องกันและสร้างความปลอดภัยในชุมชน พร้อมเผยผลตรวจเชื้อแบคทีเรียดื้อยาล่าสุดในแหล่งน้ำ รอบฟาร์มอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำผ่านกิจกรรมพายซัพบอร์ด

แคมเปญ บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด ฮึดสู้เพื่อสัตว์ฟาร์ม

แคมเปญ บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด ฮึดสู้เพื่อสัตว์ฟาร์ม

แคมเปญ บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด ฮึดสู้เพื่อสัตว์ฟาร์ม

  • วันที่ 4 พ.ย.2566 นำร่อง ล่องแม่น้ำบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
  • วันที่ 11 พ.ย.2566 ล่องแม่น้ำนครชัยศรี จ.นครปฐม
  • วันที่ 21 พ.ย.2566 ล่องแม่น้ำเจ้าพระยา จ.กรุงเทพฯ ปิดกิจกรรม 

โดย มารีญา พูลเลิศลาภ ทูตองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า ภัยจากเชื้อดื้อยาเป็นเรื่องที่หลายคนมองข้าม แต่กลับแฝงตัวได้อย่างน่ากลัวมาก จากการเก็บตัวอย่าง พบการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาในสิ่งแวดล้อมและแหล่งน้ำสาธารณะ สะท้อนถึงปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมในฟาร์มอุตสาหกรรม โดยต้นตอของปัญหามาจากการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ในฟาร์มอุตสาหกรรมที่ย่ำแย่

หวังให้ทุกคนช่วยกันปรับปรุงโครงสร้างระบบอาหารใหม่ ไม่เลี้ยงสัตว์อย่างทรมาน พัฒนาคุณภาพชีวิตสัตว์ฟาร์มให้ดีขึ้น จะช่วยลดวิกฤติดจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาพร้อมทั้งส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ และสุขภาพของคน
แคมเปญ บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด ฮึดสู้เพื่อสัตว์ฟาร์ม

แคมเปญ บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด ฮึดสู้เพื่อสัตว์ฟาร์ม

แคมเปญ บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด ฮึดสู้เพื่อสัตว์ฟาร์ม

ด้าน ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ประธานชมรมพายเรือเพื่อแม่น้ำและ Thammasat Fleet กล่าวว่า ตอนนี้เชื้อดื้อยาจากฟาร์มอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนลงมาในแม่นัำลำคลองและสิ่งแวดล้อม กำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อสุขภาพของเราเป็นอย่างมาก เชื่อว่าการจัดกิจกรรมชวนคนพายเรือเก็บขยะในแม่น้ำจะสามารถจุดประกายให้คนได้รับรู้ถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับแม่น้ำเพื่อจะได้ช่วยกันแก้ไข และจะได้นำไปสู่ความตื่นตัวของสังคมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำสายอื่นๆ ต่อไป

โชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการโครงการสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทโดยตรงในเรื่องนี้ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้โดยเร่งด่วน ได้แก่

  • ยกระดับมาตรฐานขั้นต่ำสวัสดิภาพสัตว์ฟาร์มให้สูงขึ้น ให้สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำในการเลี้ยงสัตว์ฟาร์มที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล 
  • ควบคุมและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดโดยเร่งด่วน 
  • ดำเนินการภายใต้แนวคิด "หลักสวัสดิภาพหนึ่งเดียว" โดยบูรณาการและการทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นรูปธรรม 
  • จัดทำกลไกเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมกลุ่มต่างๆ ในการติดตามและตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง