จีน-รัสเซีย ใช้ "ศึกฮามาส" โจมตีสหรัฐฯ

ต่างประเทศ
9 พ.ย. 66
21:00
1,472
Logo Thai PBS
จีน-รัสเซีย ใช้ "ศึกฮามาส" โจมตีสหรัฐฯ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสงครามที่เกิดขึ้นในกาซา ดึงความสนใจไปจากวิกฤตอื่นๆ ในโลก รวมถึงสงครามยูเครนที่ยืดเยื้อมานาน จนอีกไม่กี่เดือนจะครบ 2 ปีแล้ว ท่ามกลางความสูญเสียชีวิตทรัพย์สินมหาศาลและภาพความโหดร้ายของการสู้รบไม่ต่างจากสมรภูมิในกาซา

ความขัดแย้งระลอกใหม่เปิดโอกาสให้คู่ปรับของสหรัฐฯ ทั้งจีนและรัสเซียได้มีโอกาสหาพรรคพวกเพิ่ม ในเวลาที่มีหลายชาติไม่เห็นด้วยกับการกระทำของอิสราเอลต่อชาวปาเลสไตน์และท่าทีหนุนหลังของสหรัฐฯ

รัสเซียที่เคยถล่มเมืองในเชชเนียที่เต็มไปด้วยชาวมุสลิมจนราบเป็นหน้ากลองเมื่อปี 2000 และยังถล่มซีเรียเมื่อไม่กี่ปีมานี้  กับ จีนที่ยังมีกรณีอื้อฉาวของการกักกันชาวมุสลิมอุยเกอร์ในค่ายจนถึงทุกวันนี้ ในเวลานี้กลับเป็นชาติที่ออกตัวประณามการกระทำของอิสราเอลและสหรัฐฯ แสดงความเห็นอกเห็นใจชาวปาเลสไตน์และวางตัวเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อสันติภาพและมนุษยธรรม

รัสเซียเคยถล่มเมืองในเชชเนีย ในปี 2000

รัสเซียเคยถล่มเมืองในเชชเนีย ในปี 2000

รัสเซียเคยถล่มเมืองในเชชเนีย ในปี 2000


วลาดิมีร์ ปูติน ปธน.รัสเซีย กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าเขากำหมัดแน่นและน้ำตาคลอ เมื่อได้เห็นภาพการทิ้งระเบิดถล่มกาซาของอิสราเอล พร้อมระบุว่าทหารรัสเซียในยูเครนกำลังต่อสู้กับรากเหง้าแห่งความชั่วร้ายเดียวกัน นั่นก็คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งสมรภูมิทั้งในยูเครนและกาซา จะชี้ชะตารัสเซียและโลกทั้งใบ รวมถึงอนาคตของชาวปาเลสไตน์ด้วย

หลายคนอาจแปลกใจเมื่อย้อนมองความสัมพันธ์ของผู้นำรัสเซียกับเบนจามิน เนทันยาฮู นายกฯ อิสราเอล ที่หวานชื่นมาโดยตลอด แถมตลอดเวลาซึ่งเกิดสงครามในยูเครนที่แทบจะทั่วโลกร่วมกันคว่ำบาตรรัสเซีย แต่อิสราเอลก็ไม่ได้จับมือชาติตะวันตกคว่ำบาตรรัสเซียด้วยซ้ำ

ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายกฯ อิสราเอล - ปธน.รัสเซีย

ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายกฯ อิสราเอล - ปธน.รัสเซีย

ความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายกฯ อิสราเอล - ปธน.รัสเซีย

นักวิเคราะห์หลายคนประหลาดใจกับท่าทีของปูตินในระดับหนึ่ง แต่เมื่อพิจารณาแล้ว ต้องไม่ลืมว่าเวลานี้ความสนใจของประชาคมโลกถูกเบี่ยงเบนจากสงครามในยูเครนไปยังสงครามในกาซา นั่นก็เป็นข้อดีที่ทำให้ปูตินได้หายใจหายคอคล่องมากขึ้น

กับอีกประเด็นคือความสำคัญของ Global South หรือกลุ่มประเทศโลกใต้ ที่สำคัญกับปูตินมากขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบันท่ามกลางการคว่ำบาตรของนานาชาติ จึงไม่แปลกที่ปูตินจะเลือกเดินตามแนวนโยบายที่ขยับไปใกล้ชิดกับโลกอาหรับมากขึ้น ในเวลาที่สถานการณ์กาซาผลักให้ชาติอาหรับตีตัวออกห่างจากโลกตะวันตกและมีโอกาสเปิดรับรัสเซียมากขึ้นอย่างตอนนี้

จริงๆ สภาพการณ์ในบ้านก็มีผล เพราะประชากรรัสเซียปัจจุบันประมาณ 1 ใน 4 เป็นชาวมุสลิม และมีแนวโน้มที่อัตราส่วนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เรื่องจากมีอัตราการเกิดสูงสุด ประกอบกับการอพยพของชาวมุสลิมจากเอเชียกลางเข้าไปพำนักในรัสเซียด้วย

ชาวมุสลิม-รัสเซีย ขอพรให้สงครามยุติโดยไวหน้ามัสยิดในกรุงมอสโก

ชาวมุสลิม-รัสเซีย ขอพรให้สงครามยุติโดยไวหน้ามัสยิดในกรุงมอสโก

ชาวมุสลิม-รัสเซีย ขอพรให้สงครามยุติโดยไวหน้ามัสยิดในกรุงมอสโก

ส่วนทางจีน ปธน.สี จิ้นผิง อาจจะไม่ได้ออกตัวแรงเท่าปูติน แต่สำหรับกรณีจีนดูได้จากสื่อทั้งกระแสในโลกออนไลน์ ที่คนไม่น้อยเห็นใจชาวปาเลสไตน์ กับส่วนของสื่อทางการที่เน้นนำเสนอสถานะความเป็นตัวจุดชนวนสงครามของสหรัฐฯ และวิจารณ์พฤติกรรมย้อนแย้งของมหาอำนาจโลกชาตินี้ในตะวันออกกลาง โดยบางครั้งหยิบยกมาเทียบกับท่าทีของจีนที่คอยเรียกร้องให้หยุดยิงทันที รวมถึงการสนับสนุนความเป็นรัฐของปาเลสไตน์อีกด้วย

ทั้งจีนและรัสเซียต่างลงมติวีโต้ญัตติที่สหรัฐฯ เสนอในเวทีการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติเมื่อ 25 ต.ค. ให้ UN เข้าไปมีส่วนจัดการปัญหาระหว่างอิสราเอลกับฮามาส และผลักดันการหยุดยิงเพื่อเปิดทางนำส่งความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 

ปรากฏว่าท่าทีลักษณะนี้ของ 2 มหาอำนาจ เข้าทางกลุ่มฮามาส และแกนนำคนหนึ่งถึงกับประกาศว่าต้องการสานสัมพันธ์และความร่วมมือกับจีนและรัสเซียด้วย

แม้จะตีตัวออกห่างอิสราเอล ในทางปฏิบัติ ทั้งจีนและรัสเซียต่างก็ไม่ได้ต้องการ หรือจะมีขีดความสามารถพอที่จะเข้าไปคลุกวงในกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตะวันออกกลางขณะนี้ได้อยู่แล้ว โดยเฉพาะในเวลาที่สหรัฐฯ ส่งกองเรือบรรทุกเครื่องบิน 3 กองเรือ พร้อมยุทโธปกรณ์อื่นๆ เพื่อเข้าไปหนุนหลังอิสราเอลอย่างเต็มตัว ควบคู่กับการปรามอิหร่านที่สนับสนุนกลุ่มฮามาสอยู่

ความสัมพันธ์อันดีของ สี จิ้นผิง และ วลาดิมีร์ ปูติน

ความสัมพันธ์อันดีของ สี จิ้นผิง และ วลาดิมีร์ ปูติน

ความสัมพันธ์อันดีของ สี จิ้นผิง และ วลาดิมีร์ ปูติน

แต่อย่างน้อยๆ ท่าทีของ 2 ชาติ ตอนนี้ก็ได้ใจหลายประเทศที่ประท้วงหรือตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลไปแล้วจากกรณีนี้ ซึ่งสำหรับจีน นี่คือสิ่งที่ตรงตามเป้าหมายการหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วย

วิเคราะห์โดย : วินิจฐา จิตร์กรี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง