ลัดเลาะเกาะรัตนโกสินทร์ "กราบพระนอน-ดูยักษ์วัดโพธิ์"

สังคม
16 พ.ย. 66
12:44
1,723
Logo Thai PBS
ลัดเลาะเกาะรัตนโกสินทร์ "กราบพระนอน-ดูยักษ์วัดโพธิ์"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

หากกล่าวถึงแลนมาร์คสำคัญ จุดเชคอินยอดฮิตของนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติในกทม.รอบเกาะกรุงรัตน โกสินทร์ คงหนีไม่พ้น "วัดโพธื์ "หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็น 1 ใน 9 วัดเก่าแก่ของประเทศไทย

จากการสันนิษฐานของนักโบราณคดี และผู้เชี่ยวชาญพบว่า วัดแห่งนี้สร้างขึ้นช่วงหลังปี พ.ศ.2231 หรือตั้งแต่สมัยอยุํธยา และเมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าให้สถาปนาวัดขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ 2331บูรณของเดิมจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2344 และพระราชทานนามว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส แปลว่า "ที่อยู่อันงดงามของพระพุทธเจ้า"

วัดพระเชตุพนฯ หรือ "วัดโพธิ์" มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทย ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และยังเป็นมหาวิทยาลัยของไทยแห่งแรกด้วย บริเวณจุดต่างๆจะมีจารึกตามศาลารายรอบวัด และมีเจดีย์รายตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบ รวมทั้งมหาเจดีย์สี่รัชกาล ที่นักท่องเที่ยวที่มาเข้าชม มักนิยมแต่งกายด้วยชุดไทย และถ่ายรูปท่ามกลางสถาปัตยกรรมเจดีย์กระเบื้องเคลือบ ตามกระแสนิยมละคร “ออเจ้า” มองแล้วเพลินตาเพลินใจ

เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด จุดสำคัญที่พลาดไม่ได้ คือ การเข้าไปกราบสักการะพระนอน พระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู ที่วิหารพระพุทธไสยาส และกราบพระบาทเพื่อรับ มงคล 108  เนื่องจากประเพณีและความเชื่อของคนไทยและคนจีนว่าจะนำพาความร่มเย็นสุขมาสู่ตนเองและครอบครัว

มงคล 108

มงคล 108

มงคล 108

โดยในบริเวณวิหารจะเห็นผู้คนมากมายนิยม ถ่ายรูปคู่กับพระนอน ด้วยเทคนิคและวิธีการต่างๆแล้วแต่ความสามารถ เพราะด้วยองค์พระนอนมีความยาวถึง 46 เมตร ถือเป็นพระนอนที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 รอง ลงมาจากพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี และพระนอนวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง

นอกจากนี้ภายในวิหาร หากนักท่องเที่ยวเดินครบรอบจะได้ยินเสียงเหรียญบาทตกกระทบกัน เนื่องจากนักท่องเที่ยวนิยมใส่เหรียญสลึงลงในบาตรให้ครบ 108 เหรียญ และบางคนคิดว่า พระพุทธไสยาสองค์นี้ เป็นพระประธาน แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่

อย่างไรก็ตาม และหากเดินตามแผนผังวัด ใจกลางวัดพระเชตุพน จะพบกับพระอุโบสถ ภายใน ประดิษฐาน “พระเทวปฎิมากร “ พระประธานประจำพระอุโบสถ ที่งดงามวิจิตร และมีความหมายว่า พระพุทธรูปที่งดงามราวกับเทวดามาสร้างไว้ และที่ผ้าทิพย์พระพุทธอาสน์ขององค์พระยังประดิษฐานพระสรีรางคางรัชกาลที่ 1 ด้วย 

พระเทวปฏิมากร

พระเทวปฏิมากร

พระเทวปฏิมากร

และความพิเศษของพระอุโบสถ นอกจากประดับลวดลายอย่างวิจิตรแล้ว ถ้ามองลอดไปที่ช่องบานประตูและหน้าต่าง จะเห็นมีการประดับกระจกเงา 3 บาน ผู้ดูแลวัด บอกว่า มีการใช้สะท้อนแสงจากโคมไฟ เพื่อทำให้ภายในพระอุโบสถนั้นมีความสว่าง และมีแสงที่สวยงาม นับเป็นความชาญฉลาดของคนสมัยโบราณโดยแท้

บานกระจกเพิ่มแสง

บานกระจกเพิ่มแสง

บานกระจกเพิ่มแสง

เข้ามาถึงวัดโพธิ์ จะไม่แวะทักทายยักษ์ประจำวัดคงมิได้ หากให้ใครเคยดูภาพยนตร์สมัยก่อน หรือเรื่องเล่า ยักษ์โพธิ์ ตีกับ ยักษ์วัดแจ้ง ทำให้พื้นที่ตรงนั้น ราบเป็นท่าเตียน แต่จริงๆ แล้ว คติความเชื่อของการมียักษ์ประจำวัดนั้น มาจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 3 สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้หล่อรูปยักษ์ขึ้นมา เพื่อให้เฝ้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป และทำหน้าที่พิทักษ์รักษาพระไตรปิฎก จำนวนทั้งสิ้น 8 ตน ประจำในแต่ละทิศ ได้แก่ ทศกัณฐ์ และ สหัสสเดชะ ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ,อินทรชิต และสุริยาภพ ประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ ,พญาสัทธาสูร และ พญาขร ประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และพญาไมยราพณ์ และ พญาแสงอาทิตย์ ประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่ง ปัจจุบันจะพบเห็นยักษ์ประจำแค่ 2 ทิศเท่านั้น คือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนั้นอยู่ระหว่างการบรูณะปรับปรุง

ส่วนใครที่ต้องกราบสักการะพระประจำวันเกิด ทั้ง วันพุธกลางคืน และวันเสาร์ ก็ไม่ได้ไปไกล เพราะที่นี่ก็มีพระพุทธปางปาลิไลย พระประจำวันพุธกลางคืน และ พระพุทธชินศรี พระพุทธรูปปางนาคปรก ให้สักการะ

พระพุทธปาลิไลย

พระพุทธปาลิไลย

พระพุทธปาลิไลย

พระพุทธชินศรี

พระพุทธชินศรี

พระพุทธชินศรี

เมื่อเดินรอบวัดแล้ว หากนักท่องเที่ยวมีอาการเมื่อยล้า ก็สามารถนำความรู้จากท่าทางต่างๆของรูปปั้นฤษีดัดตน ที่รายล้อมอยู่รอบวัด ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และถ้าเป็นคนช่างสังเกตจะเห็นว่า บริเวณสวนฤษีดัดตนจะมีการปลูกพืชสมุนไพรไทยนานาชนิด ปลูกแซมแฝงไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ต้นธรณีสาร มีความเชื่อว่า นอกจากใช้ปัดเคราะห์ ปัดเรื่องร้ายต่างๆ แล้ว ยังมีสรรพคุณทางยา ใช้ไล่ขับลมในระบบทางเดินอาหาร

ของดีวัดโพธิ์ ยังมีอีกหลากหลาย และเปิดรอให้นักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัส และเที่ยวชม ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์และเป็นอีกหนึ่งจุดเชคอินในช่วงลมหนาวกำลังมาเยือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง