พิธีกรรมเดือน 12 "จองเปรียง" ต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทง

Logo Thai PBS
พิธีกรรมเดือน 12  "จองเปรียง" ต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
พิธีกรรมมักจะเกิดจากความคิดความเชื่อของผู้คน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง "ลอยกระทง" เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่เกิดจากความเชื่อที่ผู้คนต้องการขอขมาพระแม่คงคา และถูกสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ไทยพีบีเอสออนไลน์พาไปรู้จักพิธีจองเปรียญก่อนจะถูกพัฒนามาเป็นประเพณีลอยกระทงในปัจจุบัน

"จองเปรียง" เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเจ้า 3 องค์ ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ และ พระพรหม เมื่อเวลาผ่านไป กษัตริย์เริ่มนับถือศาสนาพุทธ พิธีกรรมนี้จึงเปลี่ยนเป็นการบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระจุฬามณี และ พระพุทธบาท

อ่าน : ความเชื่อ "ผี" ขอขมาน้ำ-ดิน สู่ประเพณีลอยกระทง

พิธีจองเปรียง ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยา เป็นพิธีกรรมที่กษัตริย์ต้องทำเป็นประจำทุกปี กล่าวถึงพระราชพิธีที่ต้องกระทำทั้ง 12 เดือน

เดือนสิบเอ็ดอาศยุชยแข่งเรือ
เดือนสิบสองพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม
หรือ
เดือน 11 แข่งเรือ เดือน 12 ลดชุดลอยโคม

อันมีใจความว่า เมื่อเดือน 11 แข่งเรือเสี่ยงทายแล้ว ในเดือน 12 จะจัดพิธีกรรมขอขมาดินกับน้ำ มีการชักโคมไฟขึ้นสู่ยอดเสา และการลอยโคมลงน้ำ ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์เรียกว่า "ลอยกระทง"

อ่าน : ปักหมุด 34 สวนสาธารณะ ลอยกระทง 27 พ.ย.นี้

พิธีจองเปรียง ต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทง

พิธีจองเปรียง ต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทง

พิธีจองเปรียง ต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทง

พิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม ประกอบด้วย 2 กิจกรรม 

  1. จองเปรียญ คือ โคมไฟที่ได้จากการจุดไฟเผาน้ำมันเนย การชักโคมขึ้นสู่ยอดเสาเพื่อให้แสงส่องสว่างอยู่ท่ามกลางความมืด เมื่อระยะเวลาผ่านไปโคมจะตกลงสู่แม่น้ำ เป็นการขอขมาดินและน้ำที่ทำให้พืชผลเติบโตสมบูรณ์

    จอง มาจากคำว่า "จง" ในภาษาเขมร แปลว่า ผูก หรือ โยง หมายถึง การประคับประคองให้มีแสงสว่าง และ เปรียง มาจากคำว่า "เปฺรง" ในภาษาเขมร แปลว่า น้ำมัน ในที่นี้หมายถึงน้ำมันเนยที่ได้จากน้ำนมของวัว หรือควาย ผสมกับน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน

  2. ลดชุด แท้จริงแล้วยังไม่พบนิยามหรือคำอธิบายที่แน่ชัด แต่ในแง่ศัพท์ ลดชุด หมายถึง เครื่องจองเปรียงขนาดเล็ก จัดวางเป็นแถวตามแนวไฟในช่องที่เจาะไว้ตามผนังกำแพงเมือง หรือกำแพงวัง

เมื่อลาลูแบร์ ทูตจากฝรั่งเศส นั่งเรือหลวงมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ในช่วงเดือน 12 แล้ว ได้เห็นบรรยากาศการชักโคมลอยโคม จึงบรรยายไว้ว่า เมื่อไปถึงเมืองละโว้ในยามกลางคืน เห็นไฟเรียงเป็นแนวตามกำแพงเมืองและวังเป็นระยะๆ เพื่อแสดงความขอบคุณต่อพระแม่ธรณี ที่ทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงปีใหม่

อ่าน : แจกพิกัด 13 จุดลอยกระทง ทั่วไทย เริ่ม 18 - 28 พ.ย.66

ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่พัฒนามาจากพิธีจองเปรียงลดชุดลอยโคม และเป็นขนบธรรมเนียมที่เกิดมาจากความเชื่อของคนไทย จนกลายเป็นประเพณีที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานจวบจนถึงปัจจุบัน

ที่มา : จากหนังสือ จดหมายเหตุลาลูแบร์ฯ แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร สำนักพิมพ์ก้าวหน้า พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2510 หน้า 215-216

อ่านข่าวเพิ่ม :

ตรวจ "โป๊ะ-ท่าเรือ" ก่อนลอยกระทง - เตือนงดใช้ 13 จุดริมเจ้าพระยา

หลายจังหวัดเตรียมงานลอยกระทงเน้นคอนเซปต์ "รักษ์โลก"

ห้ามปล่อย "โคมลอย" ใกล้รัศมีสนามบินคืนลอยกระทง 27-28 พ.ย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง