"กล้วยหอมทองเสิงสาง" รุกตลาดเอเซีย ญี่ปุ่นสั่งซื้อ 5,000 ตัน

เศรษฐกิจ
29 พ.ย. 66
13:26
2,072
Logo Thai PBS
"กล้วยหอมทองเสิงสาง" รุกตลาดเอเซีย ญี่ปุ่นสั่งซื้อ 5,000 ตัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กล้วยไทยบุกตลาดญี่ปุ่น ซื้อแน่แล้ว 5,000 ตัน ชาวสวนกล้วยหอมทองเสิงสางยิ้ม รวมกลุ่ม 800ไร่ พาณิชย์ชี้ไทยมีโควต้าส่งออกญี่ปุ่นปีละ 8,000 ตัน

ไทยส่งออกกล้วยเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ และอันดับ 20 ของโลก ส่วนประเทศที่ผลิตกล้วยมากที่สุดของโลก คือ อินเดีย จีน และอินโดนี เซีย 

จากการสำรวจข้อมูลพบว่า ไทยมีพื้นที่ปลูกกล้วยจำนวน 481,639 ไร่ แบ่งเป็น กล้วยน้ำว้า 328,456 ไร่ ผลผลิต 184,251 ตัน กล้วยไข่ 63,233 ไร่ ผลผลิต 32,159 ตัน กล้วยหอม 62,252 ไร่ ผลผลิต 30,082 ตัน

โดยมีเกษตรกรปลูกกล้วยหอม 12,959 ราย พื้นที่ปลูก 61 จังหวัด 3 จังหวัดที่ปลูกกล้วยหอมมากที่สุดได้แก่ปทุมธานี 21,368 ไร่เพชรบุรี 14,150 ไร่   สุราษฏร์ธานี 10,745 ไร่ ส่วน นครราชสีมา มีพื้นที่ปลูก 1,350 ไร่

การเซ็นสัญญาซื้อขายกล้วยหอมไทย ระหว่างกลุ่มเกษตรกรอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น

การเซ็นสัญญาซื้อขายกล้วยหอมไทย ระหว่างกลุ่มเกษตรกรอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น

การเซ็นสัญญาซื้อขายกล้วยหอมไทย ระหว่างกลุ่มเกษตรกรอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ระบุว่าปี 2567 คณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่นจะเดินทางมาเซ็นสัญญาซื้อกล้วยจากกลุ่มเกษตรกรอ.เสิงสาง จ.นครราชสีมาเป็นจำนวน 5,000 ตัน เป็นเม็ดเงินที่ลงสู่กลุ่มเกษตรกรโดยตรงกว่า 100 ล้านบาท

นางสาวณัฐิยา สุจินดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นิยมบริโภคกล้วยมาก เพราะผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีราคาที่ไม่แพงมากเข้าถึงได้และสามารถนำไปใช้แปรรูปเป็นขนมได้หลายชนิด ขณะที่ญี่ปุ่นปลูกกล้วยได้ในปริมาณน้อย เนื่องจากมีภูมิอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้นแต่ละปีจะต้องนำเข้ากล้วยเข้ามาบริโภคในประเทศถึงปีละกว่า 1 ล้านต้น

กล้วยหอมไทย

กล้วยหอมไทย

กล้วยหอมไทย

ไทยแม้จะมีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย -ญี่ปุ่น (Japan – Thailand Economic Partnership Agreement) หรือที่เรียกว่า JTEPA ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2550 โดยญี่ปุ่นให้สิทธิพิเศษการยกเว้นภาษีนำเข้ากล้วยจากประเทศไทยเป็นจำนวน 8,000 ตัน

อ่านข่าวอื่นๆ:

"Future Food" เทรนด์อาหารโลก อนาคตคนรุ่นใหม่ บนวิถียั่งยืน

แต่ที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกกล้วยเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นได้สูงสุดเพียง 2,890 ตันต่อปีเท่านั้น จึงเห็นโอกาสขยายตลาดและได้สั่งการให้เดินหน้าการผลักดันการส่งออกกล้วยไทยเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นอย่างเต็มที่

กล้วยหอมไทย

กล้วยหอมไทย

กล้วยหอมไทย

นางสาวณัฐิยา กล่าวอีกว่า ล่าสุดกรมฯ ร่วมเป็นพยานในการเซ็นสัญญาซื้อขายกล้วยหอมไทย ระหว่างกลุ่มเกษตรกรอำเภอเสิงสาง และคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น ที่ให้ความสำคัญกับการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส เน้นดูแลกลุ่มเกษตรกร ถือเป็นการทำงานระ หว่างพาณิชย์จังหวัดและทูตพาณิชย์ และเร่งใช้ประ โยชน์จากผลของการเจรจา FTA เพื่อผลักดันให้มีปริมาณการส่งออกของสินค้าไทยสู่ตลาดโลกได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

สำหรับการส่งออกกล้วย ประเทศไทยเองก็ได้รับสิทธิประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งยกเว้นภาษีให้กล้วยจากประเทศไทยเป็นจำนวน 8,000 ตันต่อปีอยู่แล้ว

ที่ผ่านมาไทยใช้ประโยชน์ได้ไม่ถึงครึ่งของโควต้าดังกล่าว จนในวันนี้กรมสามารถสร้างผลลัพธ์เร่งด่วนในแบบ Quick win ได้สำเร็จภายใน 100 วัน ด้วยยอดขายได้ถึง 100 ล้านบาท
การเซ็นสัญญาซื้อขายกล้วยหอมไทย ระหว่างกลุ่มเกษตรกรอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น

การเซ็นสัญญาซื้อขายกล้วยหอมไทย ระหว่างกลุ่มเกษตรกรอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น

การเซ็นสัญญาซื้อขายกล้วยหอมไทย ระหว่างกลุ่มเกษตรกรอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และคณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่น

ด้านนายฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรุงโตเกียว กล่าวว่า หลังจากบูรณาการทำงานร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา เพื่อขยายตลาดกล้วยไทยในญี่ปุ่นแล้ว ยังนำผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยชาวญี่ปุ่นลงพื้นที่ เพื่อช่วยพัฒนาเทคนิคการปลูกให้กล้วยในแต่ละพื้นที่ให้มีคุณภาพ ได้ปริมาณตามความต้องการของตลาดญี่ปุ่นด้วย

พันธุ์กล้วยหอมทองของไทย นอกจากจะมีรสชาติที่อร่อยแล้ว ที่ อ.เสิงสาง ถือเป็นแหล่งผลิตเพียงแห่งเดียวในโลกที่ยังเหลืออยู่ เราจึงใช้เป็นหนึ่งในจุดขายและทำการตลาดกับผู้นําเข้าชาวญี่ปุ่น

ขณะที่ นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าฯ นครราชสีมา กล่าวว่า อำเภอเสิงสางเป็นแหล่งผลิตกล้วยหอมทองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัด โดยมีพื้นที่เพาะปลูกกล้วยหอมทองถึง 1,350 ไร่ และมีปริมาณผลผลิตได้ถึง 8,100 ตันต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อเป้าความต้องการของตลาดญี่ปุ่นในปีหน้า

นายสมศักดิ์ แสงรัมย์ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทอง ในพื้นที่ อ.เสิงสาง กล่าวกับ “ไทยพีบีเอสออนไลน์” ว่า มีพื้นที่ 150 ไร่ และปลูกกล้วยหอมทองมานาน 7 ปีแล้ว และกล้วยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ดี ไม่ต่างจากพืชชนิดอื่นๆ โดยส่งขายให้พ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดและห้างสรรพสินค้า

การที่คณะผู้ซื้อชาวญี่ปุ่นเดินทางมาเซ็นสัญญาซื้อกล้วยจากกลุ่มเกษตรกรฯเป็นเรื่องที่ดีเพราะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

ที่ผ่านมาราคากล้วยในประเทศ จะขึ้นลงตามผลผลิต บางปีราคาแพง บางปีราคาถูก แต่พอมีการทำสัญญาซื้อขายกับญี่ปุ่นซึ่งรับประกันราคาที่กิโลกรัมละ19 บาทตลอดสัญญาซื้อ ทำให้เกษตรกรไม่ต้องกังวลเรื่องราคาที่ผันผวน

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมโครง การ 47 ราย พื้นที่ปลูกกล้วย 800ไร่ และกำลังเปิดรับสมัครสมาชิกเพิ่ม ส่วนรายได้ที่ชาวสวนจะได้มั่นใจว่าดีกว่าปีก่อนแน่นอน

 อ่านข่าวอื่นๆ:

ยิ้มแก้มปริ!จ่ายแล้วไร่ละ1,000 บาทให้ ชาวนา 4.68 ล้านครัวเรือน

"เกษตร-บริการ" กระอัก เศรษฐกิจไทยกระเตื้อง รับปรับค่าแรงขั้นต่ำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง