"เผายา" ศาสตร์หมอพื้นบ้านภาคเหนือ ใช้ความร้อนรักษาโรค

สังคม
6 ธ.ค. 66
17:22
1,019
Logo Thai PBS
"เผายา" ศาสตร์หมอพื้นบ้านภาคเหนือ ใช้ความร้อนรักษาโรค
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“อาจารย์คมสัน” ย้ำ หัตถการเผายา ต้องทำในผู้เชี่ยวชาญ มีใบประกอบโรคศิลปะแพทย์แผนไทย รักษาท้องอืด กรดไหลย้อน ก่อนทำควรศึกษาว่าคลินิกมีเครื่องมือป้องกัน อุบัติเหตุหรือไม่ เพราะการย่างยา ใช้ไฟ และมีแอลกอฮอล์ ทำต้องทำด้วยความไม่ประมาท

วันนี้ (6 ธ.ค. 2566 ) อาจารย์แพทย์แผนไทย คมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดีฝ่ายการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ตามประกาศสภาการแพทย์แผนไทย เรื่องเกณฑ์มาตรฐานและกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2556 ระบุว่า  การเผายาเป็นกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทย เป็นหัตถการที่ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู รักษาสุขภาพ ให้ผลเร็วกว่าการใช้ยาแผนไทยรักษา หรือ การนวด เหมาะสำหรับผู้ไข้ ที่มีอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว กรดไหลย้อน ตะคริว ช่วยจุดไฟธาตุในการย่อย โดยเป็นการนำเอาเครื่องสมุนไพรวางไว้บริเวณที่ต้องการรักษา แล้วจุดไฟเผาเครื่องยา เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ

อาจารย์แพทย์แผนไทย คมสัน ทินกร ณ อยุธยา  รองคณบดีฝ่ายการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

อาจารย์แพทย์แผนไทย คมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดีฝ่ายการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

อาจารย์แพทย์แผนไทย คมสัน ทินกร ณ อยุธยา รองคณบดีฝ่ายการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

ย้ำหัตถการ"เผายา"คนทำต้องเป็นแพทย์แผนไทย

อาจารย์แพทย์แผนไทย คมสัน กล่าวว่า ทั้งนี้ศาสตร์การเผาเครื่องยาร้อนมี สืบกันมา ในกลุ่มหมอเมืองพื้นบ้านทางภาคเหนือของประเทศไทย เช่น เชียงใหม่ เชียงราย เป็นต้น ใช้หลักความร้อนจากการเผายา เพื่อกระจายกองลมที่อัดอั้นอยู่ตรงบริเวณที่มีอาการ ทำให้โลหิตเข้าไปหล่อเลี้ยงได้ดียิ่งขึ้นตลอดถึงทำให้ธาตุดินในบริเวณนั้นอ่อนตัวลงที่ ซึ่งผู้ทำหัตถการนี้ ต้องผ่านการอบรมและและจบการศึกษา แพทย์แผนไทย และต้องมีใบประกอบวิชาชีพ การทำหัตถการ ต้องทำให้ในคลินิกแพทย์แผนไทย มีใบอนุญาตอย่างถูกต้อง

หาก ผู้ไข้ หรือ ผู้มารับบริการ ไม่สบายใจในการรับบริการ  สามารถดูคลิป และศึกษาวิธีการเผายา ก่อนรับบริการ และควรสอบถามถึง อุปกรณ์ในการป้องกันไฟ หรือเครื่องมือกู้ชีพขั้นพื้นฐาน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับไฟ และ ปริมาณแอลกอฮอล์

คนมีไข้ไม่ควรทำ "เผายา" เพราะยิ่งเพิ่มความร้อน

อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน กล่าวว่า ข้อจำกัดของการมารับรองการนั้น ผู้ไข้ ต้องไม่มีอาการปวดหัว หรือ มีไข้ ,มึนเวียนศีรษะ,หน้ามืดตาลาย เพราะการทำหัตถการนี้จะเพิ่มความร้อนให้กับร่างกาย สำหรับสมุนไพรที่ใช้ในการเผายา เป็นเครื่องยารสร้อน ไพล เหง้ากระทือ เหง้าขิง เหง้าข่า เหง้าขมิ้น เหง้าตะไคร้ก่อนทำหัตถการ ต้องได้รับการวินิจฉัย และนวดบริเวณที่มีอาการก่อน
จากนั้น นำผ้าชุบน้ำบิดแล้ววงล้อมบริเวณที่จะหัตถการนั้น และนำเครื่องยา ลงสระในวงที่ทำไว้เบื้องต้น จากนั้นโรยผงเกลือแกงเพื่อนำยาและความร้อนผ่านผิวหนังลงไปภายใน นำผ้าชุบน้ำอีกผืนหนึ่งคลุมปิดวงเครื่องยาที่สระไว้จนมิดชิด แล้วนำแอลกอฮอล์ 95% ราดลงแต่พอควรและจุดไฟ

คนไข้จะรู้สึกเพียงแค่อุ่นๆเท่านั้นเพราะเปลวไฟอยู่เพียงผืนผ้าที่เปียกน้ำอยู่ แลยังมีชั้นเครื่องยาขวางความร้อนจากเปลวไฟนั้นอยู่อีกเป็นชั้นที่สอง ขณะเดียวกันหมอจะถือผ้าชุบน้ำไว้อีกผืนเพื่อป้องกันเปลวไฟนั้นหากคนไข้แจ้งว่าร้อนพอควรแล้ว ก็จะดับไฟทันที จบขั้นตอนหัตถการ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ปิด 15 วันคลินิก "เผายาหน้าท้อง" เน็ตไอดอลไฟคลอก-แจ้ง 2 ข้อหา

อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน กล่าวย้ำว่า การทำหัตถการเผานี้ ต้องทำความไม่ประมาท ให้เกิดกับผู้ไข้ และคนทำหัตถการ แพทย์แผนไทยต้องมั่นใจในการทำและต้องอธิบายการทำหัตถการให้ผู้ไข้ทราบทุกระยะเพื่อความมั่นใจ และเชื่อมั่นในตัวแพทย์แผนไทย ไม่ใช่ตกใจจนควบคุมไม่ได้ และไม่อยากให้มองว่าการรักษาด้วยแพทย์แผนไทยจะต้องเกิดเหตุลักษณะนี้เช่น เพราะสิ่งที่เป็นข่าวในขณะนี้เป็นอุบัติเหตุ ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

ปัจจุบันหัตถการเผาเครื่องยาร้อน ทำได้ในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน(คลินิก) สอบถามข้อมูลเบื้องต้นได้จากแพทย์แผนไทยปฎิบัติการณ์ประจำสถานพยาบาลที่มีหัตถการนี้อยู่ทั่วประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง