เร่งสร้างความตื่นรู้ ช่วยลด "ไมโครพลาสติก" ปนเปื้อนท้องทะเลไทย

ภัยพิบัติ
15 ธ.ค. 66
13:23
583
Logo Thai PBS
เร่งสร้างความตื่นรู้ ช่วยลด "ไมโครพลาสติก" ปนเปื้อนท้องทะเลไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปัญหาขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งออกสู่ทะเล เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกที่แก้ได้ยาก เพราะไม่สามารถหาทางเก็บขยะพลาสติกออกจากทะเลได้ทั้งหมด และขยะเหล่านี้กำลังแตกตัวไปเป็นไมโครพลาสติก หรือ "พลาสติกขนาดจิ๋ว" ที่ปนเปื้อนทั้งในน้ำ อาหาร อากาศ และ เข้าสู่ร่างกายเราในที่สุด

ปัจจุบัน ไมโครพลาสติก กลายเป็นปัญหามลพิษทางทะเลที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทั่วโลก เนื่องจาก ไมโครพลาสติก มีขนาดเล็กมากทำให้ยากต่อการเก็บและกำจัด รวมถึงย่อยสลายได้ยาก เมื่อมีการระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม "ไมโครพลาสติก" จึงสามารถปนเปื้อน แพร่กระจาย สะสม และ ตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้ง่าย

การแพร่กระจายของ ไมโครพลาสติก ในสิ่งแวดล้อม พบได้ทั้งในน้ำจืด ตะกอนดิน และ ในทะเล แม้ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานวิจัยว่า "ไมโครพลาสติก" ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ผ่านทางห่วงโซ่อาหาร แต่ในมุมมองของ ผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกกับไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า 

แม้จะยังไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดี แต่ไม่ควรมีน่าจะดีที่สุด
ผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อ่าน : ครั้งแรกของโลก! นักวิจัยพบ "ไมโครพลาสติก" ในหัวใจมนุษย์

มาโครพลาสติกปล่อยไมโครพลาสติก

อ.สุริยัน ระบุว่า ความน่ากลัวของไมโครพลาสติกเกิดจาก พวกพลาสติกชิ้นใหญ่ หรือ มาโครพลาสติก (Macroplastic) ที่ถูกปล่อยอยู่ในทะเล พลาสติกชิ้นใหญ่ที่ลอยอยู่บนผิดน้ำ จะถูกความร้อนจากแสงอาทิตย์ แล้วไมโครพลาสติกชิ้นขนาดเล็กก็จะค่อยๆ หลุดออกมา ปนเปื้อนในน้ำทะเล หรือสัตว์น้ำเช่น ปลา เต่า ที่ไม่มีวันแยกออกได้ระหว่างพลาสติกกับแมงกะพรุน สุดท้ายก็กินเข้าไปแล้วอุดตันในท้องตาย

ภาพประกอบข่าว : ถุงพลาสติกพันคอเต่า

ภาพประกอบข่าว : ถุงพลาสติกพันคอเต่า

ภาพประกอบข่าว : ถุงพลาสติกพันคอเต่า

ส่วนพลาสติกชิ้นใหญ่ที่จมน้ำ เช่น เชือกพลาสติก อวน แห อาจพันอยู่กับปะการังหรือโขดหินใต้ทะเล สัตว์น้ำต่างๆ ว่ายน้ำเข้าไปติดจนตาย จากนั้นก็จะมีสัตว์ตัวใหม่เข้าไปติดอีก วนไปเรื่อยๆ 

ภาพประกอบข่าว : เศษเชือกใต้ทะเล

ภาพประกอบข่าว : เศษเชือกใต้ทะเล

ภาพประกอบข่าว : เศษเชือกใต้ทะเล

ทางที่ต้องแก้ไขคือ "ทำอย่างไรที่จะไม่ให้พลาสติกเหล่านี้ลงสู่ทะเล" 

นายสุวรรณ พิทักษ์สินธร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 ตราด และอุปนายกสมาคมนิสิตเก่าคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การจัดเก็บพลาสติกเพื่อลดการปล่อยสู่ทะเล ต้องเริ่มต้นจากการแยกขยะภายในบ้านก่อน รวมถึงการจัดเก็บขยะในที่สาธารณะให้เรียบร้อยด้วย 

บางครั้งลมพัดมา พวกขยะพลาสติกก็ปลิวบ้าง หรือน้ำท่วม ขยะพลาสติกก็ไปอุดตันท่อบ้าง 
สุวรรณ พิทักษ์สินธร อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สุวรรณ พิทักษ์สินธร อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สุวรรณ พิทักษ์สินธร อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หมั่นสร้างจิตสำนึกการแยกขยะ ช่วยลดไมโครพลาสติก

นายสุวรรณ กล่าวว่า เราต้องเริ่มต้นจากการสร้างจิตสำนึกให้ตัวเอง แล้วขยายไปสู่ครอบครัว สังคม ในเรื่อง "การแยกขยะ" เพื่อลดการปล่อยสู่ทะเล ยิ่งลดได้มากเท่าไหร่ ไมโครพลาสติกที่จะปนเปื้อนในทะเลก็ลดตามเท่านั้น

พร้อมยกตัวอย่างในต่างประเทศ ที่ใช้มาตรการนำขยะมาแลกเงิน หรือเก็บขวดมาแลกคูปอง และของขวัญ เพื่อเป็นการจูงใจให้คนในพื้นที่ช่วยกันแยกขยะ 

ภาพประกอบข่าว : การแยกขยะ

ภาพประกอบข่าว : การแยกขยะ

ภาพประกอบข่าว : การแยกขยะ

มีนกรทั้ง 2 ยังแนะนำว่า อยากให้ทุกคนช่วยกันเริ่มต้นคัดแยกขยะ โดยเริ่มต้นจากตนเองก่อน แม้การรณรงค์นี้จะมีมานานแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องกระตุ้นให้ทำกันเรื่อยๆ พร้อมเปรียบเทียบว่าหลายประเทศในยุโรป ประชาชนในเมืองยอมปั่นจักรยานเพื่อไปทิ้งขยะตามถังขยะที่แยกไว้ แม้ว่าจะไม่มีผลตอบแทนใดๆ ก็ตาม ซึ่งเข้าใจได้ว่าทุกคนถูกปลูกฝังจนกลายเป็นความเคยชินแล้ว 

ภาพประกอบข่าว : รณรงค์ช่วยเก็บขยะ

ภาพประกอบข่าว : รณรงค์ช่วยเก็บขยะ

ภาพประกอบข่าว : รณรงค์ช่วยเก็บขยะ

10 อันดับขยะชายหาด

คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยขยะทะเล 10 อันดับแรกของทะเลไทย หากดูรวมๆ พบว่าขยะจำพวกพลาสติกและโฟม ครองแชมป์มากถึง 8 ใน 10 ชนิดที่พบเลยทีเดียว 

ที่มา : คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ที่มา : คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ที่มา : คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

  1. ขวดเครื่องดื่มพลาสติก ร้อยละ 22.00
  2. ถุงพลาสติก ร้อยละ 19.42 
  3. ขวดแก้ว ร้อยละ 10.96
  4. ห่อ/ถุงขนม ร้อยละ 7.97
  5. เศษโฟม ร้อยละ 7.55
  6. กระป๋องเครื่องดื่ม ร้อยละ 7.46
  7. กล่องอาหาร โฟม ร้อยละ 6.92
  8. หลอด ร้อยละ 6.45
  9. ฝาพลาสติก ร้อยละ 5.67
  10. เชือก ร้อยละ 5.61 

KUFA ชวนวิ่งสร้างจิตสำนึกปัญหามลภาวะทะเลไทย

สมาคมนิสิตเก่าคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ @ บางเขน ร่วมกับคณะประมง และสโมสรนิสิตคณะประมง เห็นถึงความสำคัญของคุณภาพระบบนิเวศทะเลไทยที่กำลังเข้าสู่วิกฤติ

เนื่องจากไทยกำลังประสบปัญหามลภาวะทางทะเล วัดจากติดอันดับ 5 ประเทศที่มีขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก ถึง 22,800,000 กิโลกรัมพลาสติก จึงจัดกิจกรรมวิ่ง Run For The Ocean ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อหารายได้มาใช้ในกิจกรรมการดูแลทะเลไทย ร่วมกับภาคประชาชน และหน่วยงานท้องถิ่น โดยใช้ชื่อว่า โครงการ KU SOS : Kasetsart University Save Our Sea 

ภาพประกอบข่าว : ขยะพลาสติกริมชายหาด

ภาพประกอบข่าว : ขยะพลาสติกริมชายหาด

ภาพประกอบข่าว : ขยะพลาสติกริมชายหาด

เพื่อสร้างจิตสำนึกให้สังคมไทยรับรู้ และ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหามลภาวะในทะเลไทย และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ทะเลไทย ในระดับบุคคล ชุมชน และ เกิดนโยบายในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในระดับชาติ 

รายละเอียดโครงการ

  • ระยะ Mini Marathon 10 KM เวลาปล่อยตัวนักวิ่ง 06:00 น.
  • ระยะ Fun Run 5 KM เวลาปล่อยตัวนักวิ่ง 06:15 น.
  • ระยะ Family Run 2.8 KM เวลาปล่อยตัวนักวิ่ง 06:20 น.
  • วิ่งแบบ Virtual Run มี 2 ระยะ คือ 5 KM และ 10 KM

กำหนดการ วันเสาร์ที่ 13 ม.ค.2567 เวลา 10:00-18:00 น. ลงทะเบียนรับเสื้อ รับบิบ บริเวณ ลานอเนกประสงค์ (โดมสีฟ้า) คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

วันแข่งขัน วันอาทิตย์ที่ 14 ม.ค.2567 ณ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ก : Run for the Ocean by KUFA #3

ข่าวที่เกี่ยวข้อง