เปิดโถงสาม "ถ้ำหลวง" ย้อนเส้นทาง 13 หมูป่าติดถ้ำ

สิ่งแวดล้อม
18 ธ.ค. 66
14:41
3,890
Logo Thai PBS
เปิดโถงสาม "ถ้ำหลวง" ย้อนเส้นทาง 13 หมูป่าติดถ้ำ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

เทือกเขานางนอน ที่ทอดสงบนิ่งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย บรรยากาศไม่ต่างจากที่ตาสัมผัสทั่วไป นับจากเกิดเหตุ 13 หมูป่า เยาวชนหมูป่าอะคาเดมี และโค้ชเอก เข้าไปติดในถ้ำนาน 18 วัน นับจากจากปี 61 ผ่านมาแล้ว 5 ปี ผู้คนกลับไปเยือนอีกครั้ง สภาพภูมิประเทศไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่เปลี่ยนไป คือ บริเวณด้านหน้ามีรูปปั้น "จ่าแซม" น.ต.สมาน กุนัน วีรบุรุษถ้ำหลวง ตั้งตระหง่านอยู่ในบริเวณดังกล่าว

รูปปั้น

รูปปั้น

รูปปั้น "จ่าแซม" วีรบุรุษถ้ำหลวง

นับเป็นครั้งแรกที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พาสื่อมวลชน "มุด คลานต่ำ ปีนป่าย ลอดตัวผ่านช่องหินแคบ ๆ" เข้าถึงโถง 2 และโถง 3 ถ้ำหลวงฯ สำรวจร่องรอยในอดีต และสัมผัสประสบการณ์แอดแวนเจอร์เพื่อพิสูจน์ความยากลำบากของภารกิจกู้ภัยระดับโลก ระยะทาง 800 เมตร หรือ 1 ใน 3 ของความยาวถ้ำ 2,400 เมตร ใช้เวลาไป-กลับ 2-3 ชั่วโมง

วันนี้ "ถ้ำหลวง" เปิดรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ให้เข้าไปดูบรรยากาศ โดยกรมอุทยานฯ พร้อมเปิดให้จองล่วงหน้าเพื่อเข้าไปสัมผัสประสบการณ์ตรง ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป แบ่งเป็นวันละ 2 รอบ รอบละ 10 คน โดยคนไทยจ่ายค่าเข้าร่วมกิจกรรม 950 บาท ไม่ร่วมค่าเช่าอุปกรณ์ ส่วนชาวต่างชาติคนละ 1,500 บาท

พี่ต่อชี้ให้ดูร่องรอยสายสื่อสารที่หลงเหลือจากภารกิจ 13 หมูป่า

พี่ต่อชี้ให้ดูร่องรอยสายสื่อสารที่หลงเหลือจากภารกิจ 13 หมูป่า

พี่ต่อชี้ให้ดูร่องรอยสายสื่อสารที่หลงเหลือจากภารกิจ 13 หมูป่า

"นพดล อุปคำ" หรือพี่ต่อ นักสำรวจถ้ำ และหัวหน้าทีมกู้ภัยทางสูง ให้คำแนะนำว่า ก่อนจะเข้าถ้ำต้องเตรียมความพร้อมด้านร่างกาย และอุปกรณ์จำเป็น โดยเฉพาะหมวกกันน็อค ไฟฉายติดหมวก และถุงมือใช้จับเชือกประคองตัวในบางจุดที่ต้องปีนผ่านหินชันและลื่น

นอกจากนี้ ในระหว่างทาง ผู้มาเยือนยังสามารถแวะชมประติมากรรม หินงอก หินย้อย ที่ใช้เวลานับร้อยนับพันปีกว่าจะเติบโตสวยงาม มีแสงระยิบระยับสะท้อนการมีชีวิต เมื่อน้ำฝนซึมผ่านถ้ำ หยดผ่านหินย้อย ก่อเกิดเป็นหินงอกเล็ก ๆ ดูบอบบาง เจ้าหน้าที่จะนำอิฐมาล้อมไว้ให้ระมัดระวัง ป้องกันสิ่งที่ธรรมชาติสร้างเสียหาย

หินงอกเล็ก ๆ ถูกล้อมด้วยอิฐ ป้องกันความเสียหาย

หินงอกเล็ก ๆ ถูกล้อมด้วยอิฐ ป้องกันความเสียหาย

หินงอกเล็ก ๆ ถูกล้อมด้วยอิฐ ป้องกันความเสียหาย

ก่อนเข้าโถง 2 แนวโถงถ้ำมีเส้นทางคดเคี้ยว บางช่วงเข้าถึงง่าย บางช่วงเพดานต่ำ ยังมีร่องรอยของสายสื่อสาร ท่อส่งอากาศ หลงเหลือจากภารกิจเมื่อปี 2561 พี่ต่ออธิบายว่า เส้นทางจากนี้จะมีแสงเพียงจากไฟฉายที่ติดกับหมวกกันน็อคของแต่ละคนเท่านั้น

เจ้าหน้าที่สาธิตการลำเลียงเปลในภารกิจช่วยหมูป่า

เจ้าหน้าที่สาธิตการลำเลียงเปลในภารกิจช่วยหมูป่า

เจ้าหน้าที่สาธิตการลำเลียงเปลในภารกิจช่วยหมูป่า

ทางเชื่อมระหว่างโถง 2 ไปโถง 3 เป็นจุดสำคัญที่จะได้เห็น “เปล” ถูกแขวนอยู่กับระบบเชือก คล้ายซิปไลน์ ครั้งนั้นเคยใช้ลำเลียง 13 ชีวิต ที่เพิ่งพ้นการดำน้ำระยะไกลจากเนินนมสาว หรือโถง 9 จุดที่พบทีมหมูป่า ผ่านพัทยาบีช สามแยก ก่อนขึ้นจากน้ำในเข้าโถง 3 และลำเลียงมาถึงจุดนี้ นอกจากนี้ยังมี “เปลสีเขียว” ที่เคยพาน้อง ๆ หมูป่า ผ่านซอกหิน บนเปลมี "ลายเซ็น" ของผู้ร่วมภารกิจกำกับอยู่

เปลที่ใช้ลำเลี้ยงเยาวชนหมูป่าผ่านช่องหินแคบ ๆ ยังมีลายเซ็นของผู้ร่วมภารกิจ

เปลที่ใช้ลำเลี้ยงเยาวชนหมูป่าผ่านช่องหินแคบ ๆ ยังมีลายเซ็นของผู้ร่วมภารกิจ

เปลที่ใช้ลำเลี้ยงเยาวชนหมูป่าผ่านช่องหินแคบ ๆ ยังมีลายเซ็นของผู้ร่วมภารกิจ

ระหว่างทางถูกติดตั้งเชือก "แฮนด์ไลน์" รองรับเส้นทางที่ยากขึ้น นักท่องเที่ยวต้องใช้สองมือจับเชือกประคองตัวผ่านโขดหินลื่น จุดไฮไลต์แคบที่สุดเรียกว่า "คีย์โฮล" ต้องปีนป่าย คลานต่ำ ลอดตัวผ่านช่องแคบ ๆ ก่อนพบโถง 3 ที่มีร่องร่อยท่อส่งอากาศ เป็นความพยายามนำส่งสิ่งจำเป็นนี้ไปให้ถึงจุดเนินนมสาว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะระยะทางไกลอีก 1,800 เมตร จึงใช้ส่งอากาศให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติภารกิจในจุดนี้แทน

 คีย์โฮล จุดแคบที่สุด ต้องลอดตัวผ่าน

คีย์โฮล จุดแคบที่สุด ต้องลอดตัวผ่าน

คีย์โฮล จุดแคบที่สุด ต้องลอดตัวผ่าน

สิ้นสุดเส้นทางที่โถง 3 จุดนี้ไร้แสงส่องสว่าง นอกจากไฟที่ติดบนหมวก ทีมเจ้าหน้าที่และมัคคุเทศก์ ขอให้ทุก “ปิดไฟ” ในช่วงเวลาประมาณ 2 นาที เพื่อให้สัมผัสว่า 2 นาทีนั้นเนินนานเพียงใด เมื่อเทียบกับ 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ในถ้ำนาน 18 วัน และบรรยากาศโดยรอบมีเพียงเสียงน้ำหยด และเสียงสะท้อนผ่านหิน

ร่องรอยสายท่อส่งอากาศที่ไปไม่ถึงโถง 9

ร่องรอยสายท่อส่งอากาศที่ไปไม่ถึงโถง 9

ร่องรอยสายท่อส่งอากาศที่ไปไม่ถึงโถง 9

"เรารู้จักถ้ำหลวง จากคำบอกเล่าผ่านสื่อ ยังไม่เคยได้สัมผัสความยากลำบากในภารกิจช่วยเหลือหมูป่าด้านในถ้ำ" หนึ่งในคณะสื่อมวลชนสำรวจถ้ำหลวง กล่าว

สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี เป็นผู้มาเยือนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้าชมโถง 3 เล่าแรงบันดาลใจการเข้าไปสัมผัสความท้าทายครั้งนี้ ว่า สิ่งพบคือร่องรอยอุปกรณ์ช่วยชีวิตน้อง ๆ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้เห็นความลำบากในแต่ละโถงถ้ำที่ลำเลียงทีมหมูป่าออกมา บางจุดต้องทำตัวเล็ก ๆ และลอดเข้าไป หรือปีนเชือกไต่หินขึ้นไป เป็นระยะทาง 800 เมตรที่คุ้มค่า เพราะถ้ำนี้มีประวัติศาสตร์ที่คนทั่วโลกรู้จักและส่งกำลังใจมาช่วยในภารกิจครั้งนั้น จึงอยากชวนทุกคนมาลองสัมผัสประสบการณ์นี้

สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี

สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี

สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี

"ถ้ำหลวง" ไม่ได้มีเพียงความน่าสนใจจากเรื่องราวของ 13 หมูป่าที่โด่งดัง แต่เป็นเส้นทางของ "น้ำใจ" ที่หลั่งไหลจากทั่วโลก จนภารกิจกู้ภัยครั้งประวัติศาสตร์สำเร็จ

Mr.Josh Morris ผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำ ในฐานะอดีตผู้ประสานงานทีมช่วยเหลือนานาชาติในเหตุการณ์ 13 หมูป่า กล่าวว่า การเปิดให้เข้าถึงโถง 3 นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสความยากลำบากของเจ้าหน้าที่กู้ภัย ทีมนักดำน้ำ เห็นระบบเชือกที่ใช้ตอนลำเลียงน้อง ๆ ออกมาจากโถง 3 ซึ่งเป็นกองอำนวยการที่มีทั้งหน่วยซิล ทหารอากาศอเมริกา นักสำรวจถ้ำ จากนั้นนำเด็กใส่เปลลำเลียงออกมา จุดโถง 2 มีสะพานเชือกใช้ลำเลียงไปถึงโถง 1 ในวันนั้นมีผู้ร่วมภารกิจลำเลียงจากโถง 3 มาถึงปากถ้ำ 300-400 คน

Mr.Josh Morris ผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำ

Mr.Josh Morris ผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำ

Mr.Josh Morris ผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำ

ผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำ ยืนยันว่า เส้นทางนี้ไม่ยากลำบากเกินไปสำหรับผู้ที่สุขภาพแข็งแรง และไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย เพราะอุทยานฯ เปิดให้ท่องเที่ยวในช่วงที่ไม่มีน้ำท่วมถ้ำ หรือช่วงเดือน พ.ย.-เม.ย.ของทุกปี อีกทั้งมีเจ้าหน้าที่และมัคคุเทศก์ท้องถิ่นคอยแนะนำและดูแลความปลอดภัยตลอดเส้นทาง ส่วนอุณหภูมิภายในถ้ำไม่หนาวมาก อยู่ที่ 23-25 องศาเซลเซียส เหมาะสมกับการสำรวจถ้ำและท่องเที่ยวผจญภัย ทำให้ผู้มาเยือนได้รู้จักตัวเองมากขึ้น

อุปกรณ์สื่อสารในภารกิจ

อุปกรณ์สื่อสารในภารกิจ

อุปกรณ์สื่อสารในภารกิจ

นอกจากนี้ การเปิดกิจกรรมเข้าชมโถง 2-3 ยังช่วยสร้างรายได้ให้ท้องถิ่น เพราะผู้มาเยือนทั้งชาวไทยและต่างชาติ จะพักค้างคืนในพื้นที่และแวะเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวในละแวกใกล้เคียงด้วย

นี่เป็นเพียงประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้ย้อนรอยเรียนปฏิบัติกู้ชีวิตช่วย 13 เยาวชนหมูป่า ที่ลึกเข้าไป 800 เมตร หรือ 1 ใน 3 ของเส้นทางกว่าจะถึงเนินนมสาว จุดที่ 13 หมูป่าติดถ้ำ เป็นเส้นทางที่ทำให้รู้ความยากลำบาก และความสามัคคีของผู้คน จนจบภารกิจที่เรียกว่า "มิชชั่น อิมพอสซิเบิ้ล"

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาใจสายลุย เปิดจองท่องเที่ยวถ้ำหลวงฯ ถึงโถง 3 จำกัดวันละ 2 รอบ 

"หนาวนี้เที่ยวอุทยานแห่งชาติ" ชมหมอกยามเช้า-ดอกไม้เมืองหนาว 

ย้อนรอย 5 ปี "ภารกิจกู้ภัยถ้ำหลวง" วีรบุรุษในความทรงจำ  

รำลึก 5 ปี "กู้ภัยถ้ำหลวง" เริ่มปิดให้เที่ยว 16 ก.ค.-30 ก.ย. 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง