เส้นทาง 22 ปี สู่ "สมรสเท่าเทียม" อีกขั้นสู่ความเท่าเทียม

สังคม
21 ธ.ค. 66
14:03
15,952
Logo Thai PBS
เส้นทาง 22 ปี สู่ "สมรสเท่าเทียม" อีกขั้นสู่ความเท่าเทียม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

วันนี้ 21 ธ.ค.2566 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีวาระพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญ คือ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) มาตรา 1448 หรือ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ใจความหลักสำคัญ นั้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความหลายหลายทางเพศสามารถสมรสกันได้อย่างถูกกฎหมาย โดยแก้ไขกฎหมายเดิม ที่อนุญาตให้แต่เฉพาะบุคคล "เพศชาย" กับ "เพศหญิง" จดทะเบียนสมรสได้เท่านั้น เป็นการสมรสระหว่างบุคคล 2 คน ไม่ว่าจะเพศใดก็ตาม

อ่านข่าว : สภาฯ รับหลักการ "สมรสเท่าเทียม" ทั้ง 4 ฉบับ

ครั้งนี้ ร่างกฎหมายที่จะถูกนำเข้าพิจารณาในสภามี 4 ฉบับ ได้แก่

1. ร่าง พ.ร.บ. ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ

2. ร่าง พ.ร.บ.ซึ่ง ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ

3. ร่าง พ.ร.บ.ซึ่ง อรรณว์ ชุมาพร กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 11,611 คน เป็นผู้เสนอ

4. ร่าง พ.ร.บ.ซึ่ง นายสรรเพชญ บุญญามณี พรรคประชาธิปัตย์ กับคณะเป็นผู้เสนอ

กฎหมายการสมรสที่ใช้ปัจจุบัน ป.พ.พ. มาตรา 1448 ระบุว่า "การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรส ก่อนนั้นได้"

อ่านข่าว : ทำไมต้อง "สมรสเท่าเทียม" หนึ่งเสียงสะท้อนขอสิทธิ "คนเท่ากัน"

ร่าง พ.ร.บ.ของก้าวไกล เคยเข้าสู่สภาและได้รับหลักการวาระแรกมาเมื่อปี 2565 แต่ช่วงการเปลี่ยนผ่านรัฐบาล การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ล่าช้า ทำให้ไม่สามารถหยิบมาพิจารณาต่อในวาระ 2 และ 3 ได้ เพราะพ้นกำหนด 60 วัน หลังมีสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ ดังนั้นกฎหมายที่จะพิจารณาในวันนี้ ตัวนำจึงเป็นฉบับที่ผ่านมติ ครม. หรือ เป็นร่างที่เสนอจาก "พรรคเพื่อไทย"

เรื่องนี้ นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.ก้าวไกล ที่เดินหน้าผลักดันกฎหมายนี้มาตลอด ไม่มองว่าจะเป็นถูกเคลมความสำเร็จไป ขณะที่นายชัยธวัช ตุลาธน ผู้นำฝ่ายค้าน ยืนยันว่า พร้อมร่วมมือในกฎหมายที่เป็นประโยชน์ โดยไม่แบ่งแยกฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ซึ่งคงไม่ใช่ฉบับนี้ฉบับเดียว

อ่านข่าว : "ชัยธวัช" ชี้ "กม.สมรสเท่าเทียม" ฉบับรัฐบาลเข้าสภาฯ เรื่องดี แนวโน้มทำงานร่วมกัน

การพิจารณาวันนี้เป็นไปตามขั้นตอนที่ว่า ร่างกฎหมายไหนที่มีหลักการทำนองเดียวกัน ก็สามารถนำมาพิจารณาพร้อมกันในคราวเดียวได้ ดังนั้นเมื่อ ครม.เศรษฐา มีมติรับร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่เสนอโดยกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา และขอบรรจุเป็นวาระเร่งด่วน ร่างกฎหมายของก้าวไกล ที่เคยเสนอและผ่านวาระ 1 ช่วงปลายสภาชุดที่แล้ว และของภาคประชาชน จึงถูกนำเข้ามาพิจารณาพร้อมกัน

ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ทั้งหมดมีความแตกต่างกันในรายละเอียด โดยหลักคือมีการใช้คำว่า "บุคคล" แทน คำว่า "ชาย - หญิง" ส่วนเรื่อง "การหมั้น" ของภาคประชาชน ไม่ได้เสนอแก้ เพราะมองว่าไม่ต้องหมั้นก็แต่งงานได้ ส่วนฉบับรัฐบาลกับของก้าวไกล ใช้คำว่า "บุคคล" เป็น "ผู้หมั้น" และ "รับหมั้น"

อ่านข่าว : ทั่วโลกฉลอง "เทศกาลไพรด์" นิวยอร์กเซ็นรวด 5 กม. คุ้มครอง LGBTQ+

ส่วน "อายุการสมรส" ของรัฐบาลกำหนดที่ 17 ปี เหมือนเดิม ส่วนภาคประชาชนกับของก้าวไกลกำหนดที่ 18 ปี เพศของคู่สมรสจากเดิม "ชาย - หญิง" ปรับใช้คำว่า "บุคคลสองฝ่าย สองคน" เหมือนกันหมด และให้สถานะหลังจดทะเบียนเป็น "คู่สมรส" เหมือนกัน

นายธัญวัจน์ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้ผลักดันกฎหมายนี้มาอย่างต่อเนื่อง บอกว่า "การได้มาซึ่งสมรสเท่าเทียม คือการได้รับคืนสิทธิที่ถูกพรากไป" และยังมองว่า เชื่อว่า "กฎหมายจะผ่าน และผ่านได้ค่อนข้างเร็วด้วย เพราะมีอีกเหตุผลรองรับ"

22 ปี ของการเดินทางสู่ "สมรสเท่าเทียม"

การต่อสู้เพื่อการสมรสของคนเพศเดียวกัน จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นตั้งแต่ 22 ปีก่อน

ในปี 2544 รัฐบาลยุคนายทักษิณ ชินวัตร โดย "รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย" เริ่มแนวคิดเรื่องนี้ แต่กระแสสังคมไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง รัฐบาลมองเห็นว่าสังคมไม่พร้อมสำหรับเรื่องนี้จึงตกไป

ในปี 2555 มีคู่รักเพศหลากหลายต้องการจดทะเบียนสมรสแต่ถูกปฏิเสธ จึงได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่การร่างกฎหมาย พ.ร.บ.คู่ชีวิต ในสมัยอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปี 2556 แต่ไม่ได้ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ ไม่เท่ากับ คู่รักชาย-หญิง แต่กระแสโลกตอนนั้น ชาติตะวันตก มี พ.ร.บ.คู่ชีวิต หรือ Civil Partnership ออกมา จึงเริ่มการขับเคลื่อนจริงจังในไทย

ในปี 2557 เกิดรัฐประหาร การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ยุติลง

อ่านข่าว :  Bangkok Pride 2023 สุดคึกคัก "คนดัง-นักการเมือง" ร่วมงานคับคั่ง

ปี 2563 ในรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มมีการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเกี่ยวกับสมรสเท่าเทียมเช่นเดียวกับกระแสทั่วโลกที่พัฒนาเรื่อง "สมรสเท่าเทียม" ตามหลักความเท่าเทียม แต่รัฐบาลจะจัดทำเป็น "พ.ร.บ.คู่ชีวิต" แต่ว่าพรรคก้าวไกล ทำเป็น พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม

มิ.ย.2563 พรรคก้าวไกลยื่นเสนอร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ต่อสภาฯ และได้รับการถูกบรรจุวาระแรก

กระทั่ง ปี 2563 - 2566 ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ผ่านวาระที่ 1 ไปแล้ว ในวันที่ 15 มิ.ย.2565 แต่ด้วย สภาล่มบ่อยครั้ง จึงไม่สามารถพิจารณาได้ครบ 3 วาระ ทำให้ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมตกไปตามรัฐธรรมนูญ

ขณะที่ การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว นอกเหนือจากสายสนับสนุนแล้ว ก็ยังมีหลายฝ่ายที่ยังต้องพิจารณา โดยเฉพาะท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาล อย่างพรรคประชาชาติ

ที่หากย้อนไปมื่อเดือน พ.ค.2566 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ครั้งอยู่ในตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาชาติ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเอ็มโอยูจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคก้าวไกล ในประเด็นสมรสเท่าเทียมที่มีการแก้ไข ว่า เงื่อนไขในการสมรสเท่าเทียม ต้องไม่ขัดหลักศาสนา

และในวันนี้ 21 ธ.ค. ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับกระทวงยุติธรรม ผ่านมติ ครม.ส่งเป็นวาระด่วนเข้าสู่การพิจารณาของสภา พร้อมร่างของพรรคก้าวไกลที่จะนำร่างเดิมมาพิจารณาควบคู่กันในวาระที่ 1  รวมทั้งร่างของภาคประชาชน 

อ่านข่าวอื่น ๆ

กลุ่ม LGBTQ+ ภูเก็ต เรียกร้อง รบ.ใหม่ขับเคลื่อน "สมรสเท่าเทียม"

ปัดรัฐบาลแทรกแซง "ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ" ทบทวนเพื่อแรงงาน

ขอให้โชคดีนะ! "ชิซุกะ-โนบิตะ-ไบรอัล" ลิงอุรังอุตังกลับบ้าน

ครั้งแรกในไทย! ชวนคู่รัก "LGBTQ+ "บันทึกจดแจ้ง" วันวาเลนไทน์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง