คนจีนใช้เงินเปย์สัตว์เลี้ยง สูงถึง2.5 หมื่นบาท ชี้โอกาสทองสินค้าไทย

เศรษฐกิจ
29 ธ.ค. 66
12:48
469
Logo Thai PBS
คนจีนใช้เงินเปย์สัตว์เลี้ยง สูงถึง2.5 หมื่นบาท ชี้โอกาสทองสินค้าไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมส่งออกฯ ชี้ตลาดสัตว์เลี้ยงในจีนพุ่ง คนจีนใช้เงินกว่า2.5หมื่นบาทกับสัตว์แสนรัก โอกาสทองส่งออกสินค้าไทย แนะใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซทั้งขายผ่านแพลตฟอร์ม เน้นสินค้าคุณภาพ ออร์แกนิกยิ่งเพิ่มโอกาส

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กล่าวว่า แนวโน้มตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงของจีนโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มคนจีนที่กันมาเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงของจีนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2565 จีนมีขนาดตลาดสัตว์เลี้ยงมูลค่า 270,600 ล้านหยวน ประมาณ 1.353 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.7% และตลาดการบริโภคสำหรับสัตว์เลี้ยงมีมูลค่า 392,400 ล้านหยวน หรือประมาณ 1.962 ล้านล้านบาท

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

สาเหตุที่ตลาดสัตว์เลี้ยงโตมาจากครอบครัวขนาดเล็กลงคนหนุ่มสาวแยกตัวมาอยู่คนเดียว ทำให้มีความต้องการเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นคนหนุ่มสาว โดยเพศหญิงและผู้ที่เกิดระหว่างปี 2538–2542 ครองสัดส่วนสูงที่สุด

สำหรับการบริโภคของสัตว์เลี้ยงผู้เลี้ยงไม่ได้ให้กินอิ่มอย่างเดียวแต่มีความยินดีที่จะจ่ายเพื่อแสวงหาประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับสัตว์เลี้ยง อาหารและขนมต้องกินดี ต้องแพงซื้อของเล่นให้หลากหลาย พาไปรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ รวมถึงจัดงานศพให้กับสัตว์เลี้ยง ซึ่งเป็นบริการที่เพิ่งกำเนิดขึ้นในตลาดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

โดยมีตัวเลขการใช้จ่ายสัตว์เลี้ยง 1 ตัว ต่อ 1 ครัวเรือน สูงกว่า 5,000 หยวน หรือ 25,000 บาทขึ้นไป และมีความหลากหลายในประเภทสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนโครงสร้างการบริโภคสำหรับสัตว์เลี้ยงของจีนพบว่า อาหารสัตว์ครองสัดส่วนสูงที่สุด 40%

รองลงมาได้แก่ ของใช้สำหรับสัตว์เลี้ยง การรักษาพยาบาล และบริการสำหรับสัตว์เลี้ยงส่วนสัตว์เลี้ยงที่เป็นที่นิยมยังคงเป็นสุนัขและแมวทางด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงในจีนพบว่า แบรนด์ต่างชาติที่อาศัยความได้เปรียบด้านคุณภาพ และการเข้าสู่ตลาดจีนก่อนจึงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคโดยแบรนด์ต่างชาติจากยุโรปและสหรัฐฯ ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 40% ที่เหลือเป็นแบรนด์จีนและแบรนด์ต่างชาติอื่นๆ

อ่านข่าวอื่นๆ:

ปิดดีล FTA ไทย-ศรีลังกา เปิดยุทธศาสตร์การค้าเชื่อม "เอเชียใต้"

เข็น Quick Win 99 วัน พณ.ฟุ้งลดครองชีพกระตุ้นศก.1.2 หมื่นล้าน

อาหารสัตว์เลี้ยง

อาหารสัตว์เลี้ยง

อาหารสัตว์เลี้ยง

นายภูสิตกล่าวว่า ภายใต้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้เกิดเศรษฐกิจคนโสด และเศรษฐกิจผู้สูงอายุประกอบกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นของชาวจีน ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงเริ่มกลายเป็นเสมือนคนในครอบครัว เป็นเพื่อนคลายความเหงาและความเครียดจึงผลักดันให้จำนวนผู้เลี้ยงสัตว์เลี้ยงในจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ส่งผลตลาดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดและมีทิศทางการเติบโตที่ดี รวมถึงความนิยมอาหารสัตว์เลี้ยงนำเข้าของทาสรักสัตว์เลี้ยงของจีน ทำให้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงของจีนเป็นอีกตลาดที่น่าจับตามองสำหรับผู้ประกอบการไทย

ผู้ประกอบการไทยควรเปิดตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในจีนผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ ทั้งจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดังในจีน หรือช่องทางอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนโดยการร่วมมือกับพันธมิตร คู่ค้าที่น่าเชื่อถือได้ในจีน รวมทั้งการเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติระดับประเทศทั้งในเมืองหลวง และเมืองรองต่างๆ เพื่อทดสอบตลาด

ทั้งนี้ปัจจุบันสามารถพบเห็นอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยวางจำหน่ายอยู่บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจีนบ้างแล้ว แต่ยังมีแบรนด์ที่ไม่หลากหลายเท่าที่ควร จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้ประกอบการอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยรายใหม่ๆ จะเริ่มศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของผู้บริโภคชาวจีนในการเลือกซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณสมบัติของอาหารสัตว์เลี้ยงให้ตรงความต้องการของผู้บริโภค

คนจีนต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีความปลอดภัย มีสารอาหารเสริมครบถ้วน และไฮเอนด์ มีความเป็นธรรมชาติหรือออร์แกนิก

อ่านข่าวอื่นๆ:

"ตลาดหมู" ฮอตทั่วโลก นำเข้า 2.8 ล้านล้าน สนค.เร่งขยายส่งออก

รัฐควัก 7.7 พันล้าน จ่ายชาวไร่อ้อย 1.25 แสนราย เงินเข้าบัญชีวันนี้

SMEs เข็นไม่ขึ้น 11 เดือน แห่เลิกกิจการส่งท้ายปี ทะลุ 17,858 ราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง