ชัดแล้ว! "แร้งดำหิมาลัย" นกหายากใกล้สูญพันธุ์ ตกที่กำแพงเพชร

สิ่งแวดล้อม
31 ธ.ค. 66
16:47
15,300
Logo Thai PBS
ชัดแล้ว! "แร้งดำหิมาลัย" นกหายากใกล้สูญพันธุ์ ตกที่กำแพงเพชร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หลังจากอาสากู้ภัยที่ จ.กำแพงเพชร พบ "นกยักษ์" บินตกลงมาด้วยอาการอ่อนแรงและต้องรับเลี้ยงไว้ ก่อนนำส่งต่อให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าปีหน้า ล่าสุดมีคำยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ ระบุชัดเป็น "แร้งดำหิมาลัย" นกหายากใกล้สูญพันธุ์เหลือเพียง 22,000 ตัวในโลก

วันนี้ (31 ธ.ค.2566) ผู้สื่อข่าวรับแจ้งจาก นายเสน่ห์ ศรีผึ่งจั่น อาสาสมัครกู้ภัยข่าวภาพ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร ได้นำนกขนาดใหญ่ตัวหนึ่งมาเลี้ยงไว้ เวลาออกไปทำภารกิจหรือธุระนอกบ้าน ก็นำติดรถไปด้วย โดยนกขนาดใหญ่ตัวนี้ อยู่ในสภาพที่แข็งแรง ลักษณะขนใบหน้า ลำตัวออกสีน้ำตาล ช่วงโคนปากมีสีขาวส่วนปลายสีน้ำตาลปนดำ ขาออกสีชมพูอ่อนมีเล็บสีดำเข้ม น้ำหนักประมาณ 5 กก. ปีก 2 ข้างคาดว่ายาวประมาณ 2 ม.

อ่านข่าว : "กองทัพอากาศ" แจงลงโทษหนัก 4 ลูกทัพฟ้าเมาในค่าย

จากการสอบถาม อาสาสมัครกู้ภัยข่าวภาพ อ.ลานกระบือ เล่าให้ฟังว่าเมื่อวานก่อนที่ผ่านมา ตนได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่เทศบาล ต.ลานกระบือ พบนกไม่ทราบชนิดขนาดใหญ่บินหลงมาอยู่บนถนนทางเข้าเทศบาล ต.ลานกระบือ จึงได้ออกปฏิบัติหน้าที่ตามเหตุรับแจ้ง เมื่อเดินทางมาถึงพบนกขนาดใหญ่ อยู่ในสภาพอ่อนแรง ไม่มีท่าทีอาการดุร้าย จึงสามารถจับได้ง่าย แล้วนำกลับมาไว้ที่บ้าน

จากนั้นประสานไปทางหมายเลข 1362 ป่าไม้ จ.นครสวรรค์ ได้รับแจ้งว่าจะเดินทางมารับนกตัวนี้ ในวันที่ 2 ม.ค.2567 ซึ่งในระหว่างนี้ เวลาไปไหนมาไหนต้องนำนกตัวนี้ติดไปด้วย เกรงว่าหากปล่อยไว้ที่บ้านอาจจะถูกสุนัขกัดจนตาย หรืออาจจะหลุดไปทำร้ายเด็กๆ ก็เป็นไปได้

จึงได้ป้องกันไว้ก่อน รอจนกว่าจะส่งมอบกับเจ้าหน้าที่ เพื่อนำไปดูแลและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป ส่วนนกตัวนี้ไม่ทราบว่ามาจากที่ไหน ชาวบ้านก็ไม่เคยพบเห็นนกตัวใหญ่ขนาดนี้มาก่อน

อ่านข่าว : "มิกกี้ เมาส์" กลายเป็นสมบัติสาธารณะ หลังลิขสิทธิ์ "ดิสนีย์" หมดอายุ

ผู้เชี่ยวชาญชี้ "แร้งดำหิมาลัย" นกหายากของโลก 

ไทยพีบีเอสออนไลน์สอบถามไปยังผู้เชี่ยวชาญจากโครงการฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในไทย ยืนยันว่านกที่ตกใน จ.กำแพงเพชร เป็น "แร้งดำหิมาลัย" ซึ่งจุดสังเกตชัดเจนมีขนาดตัวใหญ่ที่สุด หัวสีดำ จงอยปากงุ้ม เป็นแร้งวัยเด็ก และอาจจะหมดแรง วิธีการจะต้องให้จิบน้ำ และป้อนเนื้อหมูก้อนเล็กๆ และประสานส่งให้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยแร้งทุกชนิดถือเป็นนกหายากใกล้สูญพันธุ์

"แร้งดำหิมาลัย" เป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเซีย มีความยาววัดจากปลายจงอยปากถึงปลายหาง100-120 ซม. ปีกกว้าง 2.9-3 ม. และถือเป็นสัตว์คุ้มครองที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ทั่วโลกมีเหลืออยู่ประมาณ 20,000 ตัวเท่านั้น ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ทั่วตัวมีขนสีดำ ตรงบริเวณหัวถึงคอมีขนน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย บริเวณรอบๆ คอมีขนขึ้นฟูคล้ายพวงมาลัย นิ้วสีออกขาว ตัวที่ยังไม่โตเต็มวัยมีลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลอ่อนกว่า แร้งดำหิมาลัยไม่ใช่นกประจำถิ่นของไทย นอกจากอพยพย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาวของแต่ละปีเท่านั้น มีการกระจายพันธุ์ในทวีปยุโรปจนถึงภูมิภาคไซบีเรีย เอเชียกลาง จีน อินเดีย

อ่านข่าว : ปลดล็อก! เปิดอ่าวให้เรือ 1,200 ลำจับสัตว์น้ำเพิ่มอีก 20-50 วัน

เดือน ธ.ค.2549 ไทยพบแร้งดำหิมาลัย อายุ 8 เดือน ได้รับบาดเจ็บตกลงมาที่ จ.จันทบุรี คาดว่าอพยพมาจากประเทศจีน หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้พยาบาลและฟื้นฟูสุขสภาพ โดยตั้งชื่อให้ว่า "อนาคิน" แต่เมื่อปล่อยไปได้ติดอุปกรณ์ติดตามดาวเทียมด้วย ต่อมาพบว่า อนาคิน ถูกยิงตกจนตายที่รัฐฉาน ประเทศเมียนมา

แร้งดำหิมาลัย อนาคิน ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

แร้งดำหิมาลัย อนาคิน ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

แร้งดำหิมาลัย อนาคิน ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

"อนาคิน" ผู้จุดประกายโครงการฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ

"อนาคิน" เป็นแร้งดำหิมาลัย ผู้จุดประกายโครงการฟื้นฟูสุขภาพของนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ นับเป็นครัังแรกในประเทศไทยและอาเซียน ที่มีโครงการปล่อยสัตว์ป่าคุ้มครองใกล้สูญพันธุ์​ที่บาดเจ็บคืนสู่ธรรมชาติอย่างเป็นระบบ และติดตามหลังการปล่อยด้วยดาวเทียม

เมื่อ 17 ปีที่แล้ว อนาคินหมดแรงร่วงในป่าเขาสอยดาว ต่อมาคณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ รับตัวมาฟื้นฟูสุขภาพ และนำไปปล่อยคืนธรรมชาติโดยได้ติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียมไว้ด้วย ที่ ผาอนาคิน บนดอยลาง อช.ผ้าห่มปก จ.เชียงใหม่ 3 สัปดาห์ต่อมาหลังการปล่อย อนาคินบินขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ จนถึงรัฐฉานและถูกยิงตาย เหตุการณ์นั้นทำให้ คณะสัตวแพทยศาสตร์​ ตั้งหน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตรศาสตร์ เพื่อช่วยเหลือ รักษา ฟื้นฟูสุขภาพของนกล่าเหยื่อ นกนักล่าบาดเจ็บหรือกำพร้า เพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ 

สกาย หรือชื่อเต็มๆ สกายวอล์กเกอร์ เหลนของอนาคิน ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

สกาย หรือชื่อเต็มๆ สกายวอล์กเกอร์ เหลนของอนาคิน ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

สกาย หรือชื่อเต็มๆ สกายวอล์กเกอร์ เหลนของอนาคิน ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

อมรา The Immortal ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

อมรา The Immortal ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

อมรา The Immortal ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

นอกจาก อนาคิน แล้ว หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อเพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ ยังได้ช่วยเหลือ รักษา ฟื้นฟู "แร้งดำหิมาลัย" จนสามารถปล่อยสู่ธรรมชาติอย่างสำเร็จอีกหลายตัว เช่น สกาย (สกายวอล์กเกอร์) อมรา ล่าสุดคือ กุมภาภาศ KU962 แร้งดำหิมาลัย ที่ตกที่ จ.มหาสารคาม ที่ยังอยู่ในการดูแล

กุมภาภาศ ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

กุมภาภาศ ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

กุมภาภาศ ที่มา : หน่วยฟื้นฟูนกล่าเหยื่อ Kasetsart University Raptor Rehabilitation Unit

วิธีช่วยแร้งเบื้องต้น

ถ้าพบเห็น แร้งร่วง อาจเกิดจาก นกหมดแรง ยกหัวไม่ขึ้น ไม่มีแรงต้านหรือวิ่งหนี วิธีช่วยเบื้องต้นคือ ให้ป้อนน้ำเกลืออุ่น
โดยผสมน้ำสะอาด 1,000 มล. กับ เกลือแกง 9 กรัม และป้อนในปริมาณ 50-100มล./ครั้ง ทุกๆ 3-6 ชั่วโมง ที่สำคัญงดป้อนอาหารโดยเด็ดขาด

หลังจากนั้น 1-2 วัน เมื่อแร้งยกหัวได้ สามารถให้เนื้อหมูหรือไก่สดที่ไม่เน่าเป็นชิ้นๆ ให้แร้งกินได้ แต่ต้องไม่บังคับ หรือยัดอาหารเข้าปาก เนื่องจากอาจทำให้แร้งสำลักอาหารจนตายได้ เมื่อแร้งมีแรง ยกหัวได้ ให้พาไปพบสัตวแพทย์หรือส่งสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หรือโทรแจ้งสายด่วน 1362

อ่านข่าวอื่น :

ปชช. แห่เที่ยวทั่วไทย! ตักบาตรส่งท้ายปี รอรับแสงแรกปีใหม่ 2567

โฆษกรัฐบาล ห่วง "ฉลองปีใหม่2567" อย่าหลงลืมความปลอดภัย

ทั่วโลกจัดเคาท์ดาวน์ปีใหม่ 2567 ไทม์สแควร์เตรียมปล่อยลูกบอลคริสตัลยักษ์ฉลอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง