"ดอกเบี้ยแพง-กำไรแบงก์พุ่ง " กกร.นัดถกปมร้อน พรุ่งนี้

เศรษฐกิจ
9 ม.ค. 67
14:21
647
Logo Thai PBS
"ดอกเบี้ยแพง-กำไรแบงก์พุ่ง " กกร.นัดถกปมร้อน พรุ่งนี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"กกร."ถกปมร้อนดอกเบี้ยแพง-กำไรแบงก์พุ่ง พรุ่งนี้ (10 ม.ค.) ประธานส.อ.ท.ชี้ต้องมอง 2 มุม เชื่อไม่มีทางลดดอกเบี้ยก่อนสหรัฐ ระบุเอกชนหวังต้นทุนทางการเงินถูกลงปีนี้

วันนี้ (9 ม.ค.2567) นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวถึงประเด็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย และกำไรของสถาบันการเงินที่อยู่ในระดับสูง ว่า ในวันพรุ่งนี้ (10 ม.ค.2567) ที่ประชุมคณะกรรมกกร.3 สถาบัน  ประกอบด้วยประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ,สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งจะมีการหารือเรื่องดังกล่าว

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

นายเกรียงไกร กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถมองได้ 2 มุม  คือ ในส่วนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่มีหน้าที่กำกับดูแลอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 2.5% ก็คงจะมีเหตุผลในการปรับขึ้น เนื่องจากขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐมีการใช้มาตรการ QE หรือการพิมพ์ธนบัตรออกมา เพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ

รวมถึงมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายแนวทาง ทำให้ประชาชนชาวสหรัฐ แม้ไม่ได้ทำงาน แต่ยังมีเงินใช้เหลือเฟือ ส่งผลให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อสหรัฐพุ่งสูง และต้องสู้กับเงินเฟ้อของไทยด้วย 

ส่วนประเด็นที่สถาบันการเงินมีกำไรสูงกว่า 2.2 แสนล้านบาท เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งเป็นรายได้ค่อนข้างสูง แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เป็นต้นทุนค่อนข้างต่ำ จึงส่งผลทำให้มองว่า มีกำไรมา

ในมุมเอกชน หรือผู้ประกอบการต้องการให้ต้นทุนทางการเงินลดลงอยู่แล้ว หวังว่าปี 67 ไทยจะมีแนวโน้มดอกเบี้ยในทิศทางขาลง เพราะสหรัฐเองก็ระบุชัดเจนว่า หมดยุคของดอกเบี้ยขาขึ้น และจะมีการลดลง 3 ครั้งปีนี้ แต่ไม่ได้ระบุเวลา

นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า คาดว่าธปท. คงไม่ลดดอกเบี้ยก่อนสหรัฐ เนื่องจากต้องรอดูท่าทีของเฟดก่อนว่า จะดำเนินการอย่างไร จากนั้นจึงอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

และในส่วนของผู้ประกอบการต้องการให้ต้นทุนลดลง โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติที่ไทยต้องนำเข้า ราคาจะไม่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงกลุ่มที่นำเข้าวัตถุดิบจะไม่ได้รับผลกระทบ จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับฮามาส และวิกฤตทะเลแดงเข้ามาเกี่ยวข้อง หากไม่เกิดปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้น ก็เชื่อว่าเศรษฐกิจยังพอไปได้

ดอกเบี้ยเป็นต้นทุนทางการเงิน หากลดลงได้ ผู้ประกอบการก็จะผ่อนคลาย โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้สถาบันการเงิน นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ไทยยังเผชิญต่อเนื่อง จากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นทุนของผู้ประกอบการ

อ่านข่าวอื่นๆ:

ค่าเงินแกว่ง "สะเทือน" ส่งออกไทย สรท.จี้รัฐเร่งเสริมสภาพคล่อง

คิกออฟ "เงินดิจิทัล 10,000 บาท " กฤษฎีกาไฟเขียวให้กู้ 5 แสนล้าน

Aging Society ไทยเข้าสู่สังคม"แก่เต็มขั้น" สวนทางเด็กเกิดน้อย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง