หวั่นหลอน !เคี้ยวใบท่อมขณะขับขี่ หมอห่วงคนขับรถสาธารณะ

สังคม
11 ม.ค. 67
12:51
1,094
Logo Thai PBS
หวั่นหลอน !เคี้ยวใบท่อมขณะขับขี่ หมอห่วงคนขับรถสาธารณะ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แพทย์ ห่วง คนขับรถโดยสารสาธารณะเคี้ยวใบกระท่อม ขณะขับขี่ หวั่นหลอน ก่ออันตรายกับผู้โดยสาร จี้เจ้าหน้าที่กำชับควบคุม ตรวจสอบ ย้ำไม่มีโทษทางกฎหมาย -ใช้เกินขนาดมากกว่า 3-5 ใบต่อวัน เกิดอาการทางประสาท

วันนี้ (11 ม.ค.2567) นพ.อังกูร ภัทรากร นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ กล่าวถึงกรณีเพจหมอแล็บแพนด้า โพสต์ภาพคนขับรถโดยสารสาธารณะ หยิบใบกระท่อมมาเคี้ยวขณะขับรถ ว่า การเคี้ยวใบกระท่อมแม้ทางกฎหมายไม่มีความผิด แต่ขอให้คำแนะนำว่า การเคี้ยวไม่ควรเกิน 3-5 ใบต่อวัน เท่านั้น

ผู้ใช้ต้องไม่มีโรคประจำตัว หรือ ป่วยจิตเวช และไบโพล่าร์ เพราะอาจไปกระตุ้นให้โรคกำเริบ และในกรณีที่เป็นผู้ขับรถโดยสารสาธารณะ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

นพ.อังกูร กล่าวว่า การใช้ใบกระท่อมเกินขนาดวันละ 10-20 ใบ หากสะสมเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการประสาทหลอนได้ จากการให้การบำบัดรักษาผู้ใช้ใบกระท่อม

ส่วนใหญ่มักคิดว่า ทำให้เกิดความขยันหรือทนแดด แต่จริงๆ แล้ว เมื่อสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน แม้แต่ฝนตกฟ้าร้องธรรมดา เกิดอาการหลอน หวาดกลัว และอาจมีอาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อตามได้

ทั้งนี้ผู้ขับขี่รถโดยสารสาธารณะไม่ควรใช้ใบกระท่อม เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้โดยสาร จึงอยากให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่บังคับและควบคุมการใช้กฎหมาย ในการต่อใบอนุญาตขับขี่รถโดยสารสาธารณะ รวมถึงบริษัทเดินรถ ควรทำหน้าที่ในการตรวจสอบควบคุม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุอันตรายต่อผู้ชับขี่และประชาชน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : วันเด็ก 13 ม.ค. "เด็ก" นั่ง MRT ฟรี 4 สาย-ขึ้นรถเมล์ฟรีตลอดวัน

เตรียมเปิดศูนย์ฟื้นฟู "ผู้ป่วยจิตเวช" จากยาเสพติด 7,000 คน

"ชีวิตคนไทย" 30 บาทรักษาทุกโรค สู่ บัตรประชนใบเดียวรักษาทุกที่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง