“วราวุธ” ห่วงสถาบันครอบครัว ชี้เหมือนฟางเส้นสุดท้าย

สังคม
11 ม.ค. 67
14:35
254
Logo Thai PBS
“วราวุธ” ห่วงสถาบันครอบครัว ชี้เหมือนฟางเส้นสุดท้าย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
“วราวุธ” ชี้สถาบันครอบครัว ฟางเส้นสุดท้ายของสังคมไทย ยกตัวอย่างหีบเหล็กถ่วงน้ำ แนะวิธีแก้ปัญหาสังคมก้มหน้า เห็นใจลุงขายลอตเตอรี่วีลแชร์หงายท้องหัวฟาดพื้นที่มาบตาพุด

วันนี้ (11 ม.ค.2567) นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ปาฐกถาหัวข้อ “เยาวชน อนาคตของประเทศไทย และความมั่นคงของมนุษย์” แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาความสัมพันธ์ระดับผู้บริหาร กองบัญชาการกองทัพไทย (พสบ.บก.ทท.) รุ่นที่ 15

อ่านข่าว : “สุทิน” ตั้งเป้าลด “นายพล” ให้เหลือน้อยกว่า 300 คน ในปี 2570

นายวราวุธกล่าวตอนหนึ่งว่า งานของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นงานที่ละเอียดอ่อนร้อยคน ก็ร้อยวิธีแก้ ความมั่นคงของมนุษย์ ไม่เพียงแค่เรื่องความปลอดภัย แต่เป็นเรื่องของอนาคตและโครงสร้างประชากรของประเทศไทย ซึ่งในวันนี้สังคมไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์แบบ และสาเหตุหนึ่งคืออัตราเด็กเกิดใหม่น้อยลงมากไม่ถึง 5 แสนคน ตรงข้ามกับผู้สูงอายุ หรือผู้มีประสบการณ์ ที่มีมากขึ้น

ดังนั้นเราจะทำอย่างไรกับเด็กที่เกิดน้อยลงนี้ ให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ และหาวิธีให้เด็กเกิดใหม่เพิ่มมากขึ้น พัฒนาเยาวชนและเด็ก ถือเป็นภารกิจที่สำคัญ คงไม่มีประเทศใดปฏิเสธว่าอนาคตของเยาวชน และแนวทางการพัฒนาเขาเหล่านั้น เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต่อความมั่นคงของประเทศ

อ่านข่าว : "ชัชชาติ" โพสต์เคลียร์ปมผังเมืองใหม่กทม.-ยันรับฟังทุกฝ่าย

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มียุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างทรัพยากรมนุษย์ โดยมีเป้าหมายพัฒนาในทุกมิติ เพื่อให้เป็นพลเมืองของศตวรรษที่ 21 เป็นพลเมืองของโลก ไม่เพียงเป็นประชากรของไทยเท่านั้น

นายวราวุธ กล่าวว่า มนุษย์เราทุกวันนี้จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเปราะบางเด็กและเยาวชน ที่จะต้องเติบโตขึ้นมา และพบเจอปัญหาหลากหลาย แต่ก็ต้องอยู่ให้ได้ท่ามกลางสภาวะโลกที่เปลี่ยนไป

ภารกิจของ พม. คือ การปรับตัวของมนุษย์ ดูแลกลุ่มเปราะบางเด็กและเยาวชน พัฒนาศักยภาพคนให้มีความมั่นคงและเติบโตขึ้นมาในสังคม และต้องพัฒนาศักยภาพของคนให้เท่าทันกับปัญหาที่เกิดขึ้น ที่สำคัญคือต้องพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว

อ่านข่าว : “ศิริกัญญา” ลุ้นร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน ทัน-ไม่ทัน ห่วงเหตุผลเป็นบรรทัดฐานที่ไม่ดี

สถาบันครอบครัววันนี้เป็นฟางเส้นสุดท้ายของสังคมไทย อย่างที่ทุกคนได้เห็นข่าวแล้ว ที่ลูกชายเอาพ่อและน้องสาว เข้าไปในกรงเหล็กแล้วจะไปถ่วงน้ำ ถามว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ถ้าแก้คงแก้ไม่ได้ แต่เราต้องป้องกัน ป้องกันด้วยการมีสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น เราจะทำอย่างไรที่ไม่ให้เวลาพ่อแม่ลูกนั่งกินข้าวด้วยกัน แต่ทุกคนต่างเล่นโทรศัพท์มือถือ เรียกได้ว่ากินข้าวด้วยกันแต่ไม่ได้กินด้วยกัน ต่างคนต่างมีโลกของตัวเอง

นายวราวุธ กล่าวว่า เราต้องดึงศักยภาพของคนพิการออกมา เพราะคนพิการไม่ใช่คนด้อยโอกาส เพียงแต่สังคมในวันนี้ยังไม่ได้หยิบยื่นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตให้กับพวกเขา เช่นกรณีเมื่อเช้านี้ มีข่าวชายสูงวัยขายลอตเตอรี่นั่งวีลแชร์เข็นลงฟุตบาท หงายหัวฟาดกลางถนน ที่มาบตาพุด จ.ระยอง น่าเห็นใจมาก

อ่านข่าว : "ทวี" ไม่สรุปแนวทางขัง "ทักษิณ" - ถกราชทัณฑ์เกณฑ์คุมนอกคุก

นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่บอกได้ว่า ไม่ใช่ความผิดของคนนั้น แต่เป็นสิ่งที่สังคมให้โอกาสแก่เขา ในการทำงาน ดังนั้นหากเราสามารถดึงศักยภาพ เพิ่มสิ่งที่จำเป็นให้กับกลุ่มที่เปราะบาง เหล่านี้เราก็จะได้บุคคลที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง