มติสภาฯ เอกฉันท์ 443 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด

สิ่งแวดล้อม
17 ม.ค. 67
15:42
1,825
Logo Thai PBS
มติสภาฯ เอกฉันท์ 443 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
มติสภาฯ เอกฉันท์ 443 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด คืนสิทธิอากาศบริสุทธิ์ให้ประชาชน ตั้ง กมธ. 39 คนพิจารณา ยึดร่าง ครม. เสนอเป็นหลัก

วันนี้ (17 ม.ค.2567) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเป็นเอกฉันท์ 443 เสียง งดออกเสียง 1 ให้รับหลักการร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ที่ ครม. เป็นผู้เสนอ พร้อมยังรับหลักการร่างกฎหมายอากาศสะอาด ที่ภาคประชาชนกว่า 22,000 รายชื่อ และพรรคการเมือง ทั้งพรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ พรรคก้าวไกล และพรรคประชาธิปัตย์เสนอ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ซึ่งเป็นการพิจารณาต่อจากสัปดาห์ก่อน

อ่านข่าว : สภาฯ ถกกฎหมายอากาศสะอาด - "บิ๊กป๊อด" หวังแก้ต้นตอฝุ่น PM 2.5

การอภิปรายของ สส.ส่วนใหญ่ทั้งพรรครัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน ต่างสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด ทุกร่าง ทุกฉบับ ที่เสนอเพื่อคืนอากาศสะอาด และคืนสิทธิการหายใจในอากาศสะอาด ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชน รวมถึงแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 อย่างยั่งยืน

แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ขึ้นมาชุดหนึ่ง จำนวน 39 คน เพื่อพิจารณาปรับแก้ในชั้นกรรมาธิการ ก่อนเสนอให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาต่อในวาระที่ 2 และ 3 ตามขั้นตอน โดยที่ประชุมฯ มีมติให้ใช้ร่าง พ.ร.บ.การจัดการเพื่ออากาศสะอาด ที่เสนอโดย ครม. เป็นร่างหลักในการพิจารณาชั้นกรรมาธิการ

สำหรับเนื้อหาภายในร่างพระราชบัญญัติการจัดการเพื่ออากาศสะอาด ที่เสนอโดย ครม. กำหนดให้มีการกำหนดนโยบายระดับชาติเกี่ยวกับการจัดระบบสิ่งแวดล้อม เพื่ออากาศสะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพทุกคน

โดยให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับเหตุพื้นฐาน ที่มาจากแหล่งกำเนิด รวมถึงการสร้างความร่วมมือในการป้องกัน และแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศ และพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ และนานาชาติ ซึ่งหน่วยงานรัฐ จะต้องปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหามลพิษ

แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มี "คณะกรรมการนโยบายอากาศสะอาด" ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จัดทำแผนแม่บทเพื่ออากาศสะอาดและปลอดภัย พิจารณากำหนดเครื่องมือ และมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อบริหารจัดการอากาศสะอาด ทั้งมาตรการการเงิน การคลัง ภาษี การส่งเสริมการลงทุน และนโยบายอื่น ๆ เพื่ออากาศสะอาด เป็นต้น

แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

แฟ้มภาพ

ขณะเดียวกัน ยังกำหนดผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากแหล่งกำเนิดมลพิษ จะมีโทษปรับ 50,000 บาท ผู้ที่เผาในที่โล่งโดยไม่ได้รับอนุญาต ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

ผู้ที่ปล่อยทิ้งอากาศเสียโดยไม่มีการบำบัดให้มีคุณภาพตามมาตรฐานควบคุม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ครองครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศนอกประเทศ ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000,000 บาท เป็นต้น

อ่านข่าวอื่น ๆ

มติ ศาล รธน.ให้ความเป็นรัฐมนตรี "ศักดิ์สยาม" สิ้นสุดตั้งแต่ 3 มี.ค.66 คดีซุกหุ้นบุรีเจริญ

รพ.จุฬาฯใช้หุ่นยนต์ บริการผู้ป่วยนอก ลดขั้นตอนทำบัตรผู้ป่วย

2 สัปดาห์นักท่องเที่ยวเข้าไทยทะลุล้านคน จีนอันดับ 1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง