เฮลั่น ประมงพื้นบ้าน 1.2 หมื่นลำ "กรมประมง" ขึ้นทะเบียนถูกกฎหมาย

เศรษฐกิจ
20 ม.ค. 67
10:24
638
Logo Thai PBS
เฮลั่น ประมงพื้นบ้าน 1.2 หมื่นลำ "กรมประมง" ขึ้นทะเบียนถูกกฎหมาย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมประมง ไฟเขียว ประมงพื้นบ้าน 12,000 หมื่นลำ ขึ้นทะเบียนทำประมงถูกกฎหมาย หวังสร้างความเป็นอยู่ที่ดี กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศกว่า 8,000 ล้านบาท เปิดยื่นขอหนังสือรับรองวันนี้ถึง 15 เม.ย.67

วันนี้ (20 ม.ค.2567) นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากมติที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาประมงทะเล ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2566 เห็นชอบให้กรมประมงเร่งดำเนินการออกหนังสือรับรองให้กับชาวประมงพื้นบ้าน สำหรับรายที่ยังมีการตกหล่นไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนไปตั้งแต่คราวก่อน

ซึ่งช่วยชาวประมงพื้นบ้านที่ขณะนี้มีอยู่ประมาณ 12,000 ลำ ให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้สิทธิการช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเต็มที่ รวมถึงเร่งผลักดันให้เกิดการนำเรือประมงพื้นบ้าน เรือประมงขนาดเล็ก เข้าสู่ระบบ

 นายบัญชา  สุขแก้ว  รองอธิบดีกรมประมง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมประมง

นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมประมง

นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมประมง

การให้พี่น้องชาวประมงพื้นบ้านได้รับสิทธิ จากการช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเต็มที่ เช่น การช่วยเหลือกรณีประสบภัยธรรมชาติ ฯ และเพื่อความมั่นคงของอาชีพชาวประมงพื้นบ้าน หากนำเรือประมงพื้นบ้านเข้าระบบ จะมีผลผลิตสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมงพื้นบ้านเพิ่มขึ้นปีละ 84,000 ตัน รวมมูลค่าปีละกว่า 8,232 ล้านบาท

กรมประมงจึงได้ออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกหนังสือรับรองเพื่อประกอบการยื่นขอจดทะเบียนเรือไทย สำหรับเรือประมงพื้นบ้าน พ.ศ.2567 ลงวันที่ 12 ม.ค.2567 โดยเปิดให้ชาวประมงพื้นบ้านยื่นขอหนังสือรับรองได้ ตั้งแต่วันที่ 17 ม.ค.-15 เม.ย.2567 ณ สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักงานประมงจังหวัด / สำนักงานประมงอำเภอท้องที่มีอาณาเขตติดทะเล

หรือ ยื่นผ่านช่องทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (อีเมล์) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอจดทะเบียนเรือไทยกับกรมเจ้าท่าต่อไปได้ โดยใช้ได้ในกรณีการจดทะเบียนเรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส และยังไม่มีทะเบียนเรือไทย หรือ เพื่อทดแทนเรือประมงลำเดิมที่ชำรุด สูญหาย อัปปาง

สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะขอหนังสือรับรองจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1.เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย กรณียังไม่บรรลุนิติภาวะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
2.ไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะได้รับใบอนุญาตทำการประมง ตามมาตรา 39 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 เช่น ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาว่ากระทำความผิดตามกฎหมายประมงยังไม่พ้น 5 ปี หรือไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาตทำการประมง เป็นต้น
3.ไม่เป็นเจ้าของเรือประมงลำอื่นที่มีชื่ออยู่ในระบบทะเบียนเรือประมง
4.ต้องมีเรือประมงพื้นบ้านอยู่ในครอบครองอยู่แล้ว ณ วันยื่นคำขอ

เอกสารหลักฐานประกอบการขอหนังสือรับรอง มีดังนี้

1. แสดงบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง
2. กรณีมอบอำนาจ : หนังสือมอบอำนาจ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้รับมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
3. กรณีผู้ยื่นขอหนังสือรับรองยังไม่บรรลุนิติภาวะ : หนังสือยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้ปกครอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้แทนโดยชอบธรรม
4. ภาพถ่ายเรือประมง (ปัจจุบัน) จำนวน 2 รูป คือ ภาพเรือเต็มลำด้านซ้าย 1 รูป และ ภาพเรือเต็มลำด้านขวา 1 รูป

อ่านข่าวอื่นๆ:

ชาวนาหน้าบาน ราคาข้าวเปลือกพุ่ง พณ. สั่งคุมหวั่นกระทบผู้บริโภค

เงินช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท งวดที่ 4 โอนเข้าบัญชีวันนี้

"ข้าวหอมมะลิ" พรีเมียมไทย บุกแดนมะกันเจาะตลาดกำลังซื้อสูง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง