กลุ่มชาติพันธุ์ 27 คน ได้สัญชาติไทยผ่านการแปลงสัญชาติ

ภูมิภาค
23 ม.ค. 67
18:01
1,379
Logo Thai PBS
กลุ่มชาติพันธุ์ 27 คน ได้สัญชาติไทยผ่านการแปลงสัญชาติ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กลุ่มผู้สูงอายุไร้สัญชาติ 3 หมู่บ้าน ใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย - วอนเร่งแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติให้เข้าถึงสิทธิ์สวัสดิการของรัฐ

การได้รับสัญชาติไทยของกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และมีขั้นตอนของกฎหมายหลายขั้นตอน หลายคนต้องรอมาเกือบทั้งชีวิต เพื่อจะได้สัญชาติไทย และวันนี้ (23 ม.ค.2567) ถือเป็นข่าวดีของกลุ่มผู้สูงอายุไร้สัญชาติ 3 หมู่บ้าน อาข่า และจีนยูนนาน ที่อาศัยใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 

ดีใจที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตของ นางหมี่นะ เบเชอกู่ ผู้เฒ่าไร้สัญชาติ กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า บ้านป่าคาสุขใจ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

หญิงสูงวัยอายุ 80 ปี ที่ได้รับบัตรประชาชนคนไทย จากการแปลงสัญชาติใน “วันเกิดวันนี้ของเธอพอดี”

นางหมี่นะ ถือบัตรประจำตัวต่างด้าว และมีใบถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยไทย โดยเข้ามาอยู่ไทยตัังแต่ปี 2509 หรือกว่า 58 ปีที่แล้ว

เช่นเดียวกับ นายเล่าเอ๋อ แซ่เหว่ย อดีตทหารจีนคณะชาติ อายุ 78 ปี ที่เข้ามาเมืองไทยเมื่ออายุ 16 ปี และอาศัยอยู่ บ้านใหม่สันติ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ที่ได้รับการแปลงสัญชาติวันนี้เช่นเดียวกัน

นายเล่าเอ๋อ บอกว่า รู้สึกภูมิใจ ที่ได้เป็นคนไทย ต่อจากนี้คงจะเดินทางไปไหนมาไหนสะดวกมากขึ้น และได้สิทธิต่าง ๆ ของคนไทย

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติ อีก 3 หมู่บ้าน กลุ่มชาติพันธ์ุอาข่า และชาติพันธ์ุจีนยูนนานที่อาศัยใน อ.แม่ฟ้าหลวง ได้รับสัญชาติไทย ผ่านการแปลงสัญชาติ รวม 27 คน ในวันนี้

นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา เปิดเผยว่าการได้สิทธิ์ของผู้เฒ่ามีอายุมากสุด 93 ปี โดยคุณสมบัติขั้นตอนการแปลงสัญชาติ คือ ต้องถือบัตรสำคัญประจำคนต่างด้าว และใบถิ่นที่อยู่ถาวรตั้งแต่ปี 2546 ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 730 วัน ตรวจสอบและยื่นเรื่อง แต่ส่วนใหญ่ใช้เวลานานกว่ากฎหมายกำหนด

เช่นกรณีแปลงสัญชาติผู้เฒ่าไร้ไร้ในครั้งนี้ ที่ใช้เวลา 3 ปี 4 เดือน แต่ก็เร็วกว่าแต่ก่อน ที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี จึงอยากเรียกร้องให้เร่งแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางที่สุดให้เข้าถึงสิทธิ์สวัสดิการของรัฐ

สำหรับการแปลงสัญชาติ ของกลุ่ม การแปลงสัญชาติของกลุ่มต่างด้าว ชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย กระทรวงมหาดไทย ยังใช้ดุลยพินิจอนุมัติให้แปลงสัญชาติ พิจารณาจากคุณสมบัติ อาชีพ รายได้ การเสียภาษี ความรู้ภาษาไทย และความประพฤติที่ดี

จึงยื่นคำขอแปลงสัญชาติได้ตาม มาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ก่อนส่งให้อำเภอตรวจสอบ จึงให้จังหวัดพิจารณา ส่งเรื่องให้กรมการปกครอง ดำเนินตามขั้นตอนมากกว่า 14 ขั้นตอน

ข้อมูลจาก มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าในประเทศไทยยังมีผู้เฒ่าไร้สัญชาติกว่า 100,000 คน ที่ยังไม่ได้รับสัญชาติ และอาศัยอยู่ในไทยยาวนานกว่า 30-60 ปี

อ่านข่าวอื่น ๆ

กทม.ลั่นยกเลิก "ครูเวร" 100% ตั้งแต่ ก.ย.66

ตกเทรนด์"สูงวัย"ไม่ทันข้อมูล คนเจนใหม่มองบุหรี่ไฟฟ้า “เท่”

"ทนายอั๋น" ร้อง DSI ตรวจสอบเส้นทางการเงิน "ศักดิ์สยาม"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง