กรมสุขภาพจิต แจงนิยามเด็กพิเศษ "สถิติก่อความรุนแรงน้อย"

อาชญากรรม
29 ม.ค. 67
16:19
529
Logo Thai PBS
กรมสุขภาพจิต แจงนิยามเด็กพิเศษ "สถิติก่อความรุนแรงน้อย"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมสุขภาพจิต ย้ำ สถิติเด็กพิเศษก่อความรุนแรงมีน้อย กระบวนการทางกฎหมาย มีวิธีคัดแยกเด็กพิเศษ -เด็กธรรมดา ไม่สามารถอ้างความพิเศษไม่รับโทษ อิงสติรู้ตัวขณะก่อเหตุ แจงเด็กพิเศษ แยกเป็น 3 กลุ่มเด็กสมาธิสั้น ,เด็กออทิสติก และเด็กไอคิวต่ำ

วันนี้ (29 ม.ค.2567) นพ.จุมภฏ พรมสีดา รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีนักเรียน 14 ปี แทงเพื่อนในโรงเรียนและมีการอ้างเป็นเด็กพิเศษว่า ในนิยามของเด็กพิเศษ ในวัยเรียนนั้น แยกเป็นเด็ก 3 กลุ่ม ได้แก่

  • เด็กสมาธิสั้น มีสติปัญญาเหมือนเด็กทั่วไป แต่อยู่ไม่นิ่ง
  • เด็กออทิสติก เด็กที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรม ชอบอยู่คนเดียวเล่นคนเดียว หากมีความโดดเด่นเฉพาะด้าน เช่น วาดภาพ หรือ คณิตศาสตร์
  • เด็กไอคิวต่ำ หรือ ปัญญาอ่อน เด็กเหล่านี้ จะปรับตัวเรื่องการเรียนได้ช้ากว่าคนทั่วไป

สำหรับสถิติเด็กพิเศษก่อคดีนั้น นพ.จุมภฏ ยอมรับว่า มีน้อยมาก เพราะเด็กที่มีอาการมาก มักเข้าสู่กระบวนการรักษาไม่สามารถมาเรียนร่วมกับเด็กธรรมดาได้ ยกเว้นเด็กที่มีอาการไม่มาก เช่น สมาธิสั้น สามารถเรียนได้ตามปกติ แต่ชอบแกล้งเพื่อนหรือไม่อยู่นิ่งเท่านั้น

นพ.จุมภฏ กล่าวว่า การอ้างเอาความพิเศษมาเพื่อลดหย่อนโทษนั้น ส่วนใหญ่มักทำในส่วนของผู้ก่อเหตุ แต่ในกระบวนการทางกฎหมาย มีการตรวจสอบถึง 2 ชั้น ในการแยกแยะ ว่า เด็กพิเศษคนนั้นขณะก่อเหตุ สติรับรู้รับผิดรับชอบ หรือไม่ โดยมีทั้งคณะกรรมการสหวิชาชีพพิจารณา และมีผู้พิพากษาพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการยกหรือการอ้างรับผิดชอบจากการกระทำนั้น ๆ

การที่เด็กคนหนึ่งจะก่อพฤติกรรมความรุนแรงได้นั้น ขึ้นอยู่ 3 ปัจจัย ตัวเด็ก ,ผู้ปกครอง และสิ่งแวดล้อม เพราะแค่ลำพังตัวเด็ก มีตั้งแต่กระทำเพราะเจ็บป่วย ยาเสพติด ถูกชักจูง ส่วนในมุมครอบครัวก็อาจเป็นพฤติกรรมเลียนแบบ

อ่านข่าว : ยังไม่ชัดแรงจูงใจเด็ก 14 ปีแทงเพื่อนร่วมชั้นให้แพทย์วินิจฉัยเพิ่ม

สุญญากาศความปลอดภัยในโรงเรียน หลังยกเลิก "ครูเวร"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง