ช่วย "พังแก้วมังกร" ช้างป่าถูกเชือกรัดขา-แผลอักเสบ

สิ่งแวดล้อม
30 ม.ค. 67
07:28
388
Logo Thai PBS
ช่วย "พังแก้วมังกร" ช้างป่าถูกเชือกรัดขา-แผลอักเสบ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทีมเจ้าหน้าที่-สัตวแพทย์กรมอุทยานฯ เข้าช่วยเหลือ "พังแก้วมังกร" ช้างป่าในพื้นที่เขาชะเมา จ.ระยอง ถูกเชือกรัดขาหน้าซ้ายจนบาดแผลอักเสบ-มีหนอง เบื้องต้นให้ยาฆ่าเชื้อ ลดอักเสบ พร้อมติดตามอาการ

วันที่ 29 ม.ค.2567 นายพิทักษ์ อินทศร ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า รายงานว่า เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2567 เวลา 12.00-23.30 น. ทีมสัตวแพทย์ประจำส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) ทีมสัตวแพทย์ประจำศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยพิทักษ์ป่าสีระมัน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครฯ ในพื้นที่ ติดตามช้างป่าบาดเจ็บบริเวณขาหน้าซ้าย ในพื้นที่ ม.8 ต.ห้วยทับมอญ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง

ทีมเจ้าหน้าที่เข้าติดตามช่วยเหลือช้างป่าบาดเจ็บ

ทีมเจ้าหน้าที่เข้าติดตามช่วยเหลือช้างป่าบาดเจ็บ

ทีมเจ้าหน้าที่เข้าติดตามช่วยเหลือช้างป่าบาดเจ็บ

เจ้าหน้าที่เข้าติดตามร่องรอย เพื่อค้นหาช้างป่าตัวดังกล่าว และได้ใช้โดรนในการค้นหา พบเพียงโขลงช้างป่าประมาณ 10 ตัวกำลังออกหากินบริเวณชายป่า แต่ไม่พบช้างป่าบาดเจ็บ

กระทั่งวันที่ 29 ม.ค.2567 ได้ติดตามพบช้างป่าตัวดังกล่าว โดยมีพฤติกรรมแยกเดียวและออกหากินใกล้ชายป่า จึงยิงยาซึมและติดตามช้างป่าอย่างใกล้ชิด ในเวลา 18.35 น. ช้างป่าเริ่มยืนนิ่ง ทีมสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่จึงเข้าพื้นที่ปฎิบัติงาน

ใช้โดรนค้นหาช้างป่า

ใช้โดรนค้นหาช้างป่า

ใช้โดรนค้นหาช้างป่า

การตรวจสอบพบว่า บริเวณขาหน้าซ้ายพบบาดแผลมีการอักเสบและมีหนอง มีเชือกไนล่อนติดอยู่ในบาดแผล ซึ่งมีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน และพบว่าเนื้อที่สร้างขึ้นใหม่หุ้มเชือกไนล่อนแล้ว คาดว่าบาดแผลดังกล่าวเป็นมาแล้วมากกว่า 3 เดือน จึงได้ตัดเชือกไนล่อนที่ขาหน้าซ้ายออก พร้อมพ่นสเปรย์ฆ่าเชื้อภายนอก

เจ้าหน้าที่ยิงยาซึมรักษาอาการบาดเจ็บของช้างป่า

เจ้าหน้าที่ยิงยาซึมรักษาอาการบาดเจ็บของช้างป่า

เจ้าหน้าที่ยิงยาซึมรักษาอาการบาดเจ็บของช้างป่า

จากการประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายอยู่ที่ 3/5 ชื่อพังแก้วมังกร เป็นช้างป่าตัวเมีย อายุประมาณ 5 -10 ปี น้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัม สูงประมาณ 160 เซนติเมตร ให้การรักษาโดยให้ยาฉีดเป็นยาฆ่าเชื้อ ซึ่งมีฤทธิ์ควบการติดเชื้อนาน 10 วัน ยาลดปวดลดอักเสบ ยาป้องกันหนอนแมลงวัน และยาบำรุงเลือด โดยในเวลา 19.05 น. ได้ให้ยาแก้ฤทธิ์ยาซึม พร้อมสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด พบว่าช้างป่ามีอาการฟื้นตัวได้ดี

เชือกที่รัดขาช้างป่า

เชือกที่รัดขาช้างป่า

เชือกที่รัดขาช้างป่า

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ป่าสีระมัน จะเฝ้าติดตามอาการช้างป่า และรายงานสัตวแพทย์เพื่อประเมินอาการรักษาเป็นระยะ ๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง