ส่งออกข้าวไทยปี 2567 หืดขึ้นคอ “ภัยแล้ง-ราคา” เวียดนามจ่อแซงหน้า

เศรษฐกิจ
7 ก.พ. 67
17:02
1,749
Logo Thai PBS
ส่งออกข้าวไทยปี 2567 หืดขึ้นคอ “ภัยแล้ง-ราคา” เวียดนามจ่อแซงหน้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้ส่งออกข้าวชี้ ส่งออกข้าว ปี67 แข่งเดือด ทั้งด้านราคา-ปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะไทย- เวียดนามคู่แข่งสำคัญ หลังกวาดประมูลข้าวอินโดฯไปกว่า 4 แสนตัน จี้ รัฐเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าว หวั่นโดนเวียดนามแซงขึ้นเบอร์ 2 ส่งออกข้าวโลก ย้ำซื้อขายข้าวแบบ จีทูจี เป็นไปได้ยาก

วันนี้ (7 ก.พ.2567) นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา หรือ USDA มีการคาดการณ์ ปริมาณผลผลิตข้าวของโลก ยังทรงตัวเท่ากับปี 2566 เฉลี่ย 513 ล้านตัน

จีนยังคงมีผลผลิตมากที่สุด 144 ล้านตัน รองลงมาเป็นอินเดีย 132 ล้านตัน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย ผลิตใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ประมาณ 20 ล้านตัน
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

ทั้งนี้คาดการณ์การส่งออกในปี 2567 ที่ปริมาณ 7.5 ล้านตัน และยังเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก ซึ่งเท่ากับปริมาณการส่งออก ของเวียดนามที่ 7.5 ล้านตันเช่นกัน รองจากอินเดีย ที่ 16.5 ล้านตัน จึงเป็นความเสี่ยงของไทย ที่จะต้องรักษาอันดับการเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก

โอกาสที่เวียดนามจะแซงไทยได้เริ่มเห็นชัด เพราะตัวเลขการส่งออกข้าวเวียดนาม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากปกติส่งออกเพียง 6 ล้านตันต่อปี แต่ปี 2566 เวียดนาม ส่งออกได้ถึง 8.1 ล้านตัน และเริ่มทำตลาดมากขึ้นในปีนี้

โดยเฉพาะราคาข้าวของเวียดนามที่ถูกว่าไทย ซึ่งเห็นได้ชัดในการเปิดประมูลนำเข้าข้าวของอินโดนีเซีย เมื่อปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ปริมาณ 5 แสนตัน ปรากฏว่า เวียดนามชนะประมูลไปกว่า 4 แสนตัน ที่เหลือเป็นของปากีสถาน และเมียนมา โดยที่ไทยไม่สามารถประมูลได้เลย

สาเหตุที่ไทยประมูลไม่ได้เพราะราคาข้าวสูงกว่าคู่แข่ง ไทยเสนอราคาที่ 690 เหรียญสหรัฐต่อตัน แต่เวียดนามเสนอราคาเพียงตันละ 655 เหรียญสหรัฐ ต่างกันถึง 40 เหรียญสหรัฐ

และที่สำคัญ การผลิตข้าวของเวียดนาม ปัจจุบัน ได้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 970 กิโลกรัม แต่ไทยผลิตได้เพียง 450 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐของไทย ต้องกลับมามองเรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างจริงจัง ในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ส่งออกข้าวไทยทะลุเป้า ห่วงภัยแล้งกระทบ แนะเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวสู้ตลาดโลก

“ข้าวหอมมะลิไทย” ยืนหนึ่งตลาดฮ่องกง คาดปี 67 แข่งราคาเดือด

ส่วนการทำตลาดข้าว ผ่านการเจรจาซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ หรือ G to G ยังมองว่า เกิดได้ยากมากขึ้น เพราะแต่ละประเทศปรับเปลี่ยนการซื้อข้าว โดยใช้เอกชน เป็นผู้นำเข้าแทน แล้วเก็บภาษีนำเข้า เพื่อนำเงินไปช่วยเหลือเกษตร และยังมีความคล่องตัวกว่า

การขายข้าว แบบ G to G ของไทยมีกระบวนการที่นาน จะต้องผ่าน นบข. และครม. อาจจะกินเวลาไปถึง 2 เดือนกว่าจะส่งมอบได้ และยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ที่ต้องติดตาม ทั้งความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนดังนั้นน่าจะเกิดขึ้นยากในยุคที่การค้าเปลี่ยนไป
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

ด้านนายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ราคาข้าวเปลือกในประเทศ จะขึ้นอยู่กับการผลิต การส่งออก เช่นเดือนแรกของปีนี้ไทยส่งออกกว่า 1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นถึง 43.96 % เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหากส่งออกเกิน 1 ล้านตัน ติดต่อกันหลายๆ เดือนจะมีผลต่อราคาข้าวในประเทศที่จะสูงขึ้นแน่นอน ซึ่งจะส่งผลดีต่อชาวนา

อย่างไรก็ตามประเด็นที่อยากให้รัฐเข้ามาดูแล คือ เร่งพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันของข้าวไทย ทั้งพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ๆ ที่ตลาดต้องการ ได้ผลผลิตต่อไร่สูง ให้ทันกับคู่แข่งทั้งเวียดนาม และอินเดีย

ที่ภายในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่ ได้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่า 800 กิโลกรัม ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากปกติส่งออก 8-10 ล้านตันต่อปีเท่านั้น ปัจจุบันขยับไปถึง 16 ล้านตัน และต้องทำคู่ขนานกับการพัฒนาระบบชลประทาน

นอกจากนี้ ต้องดูแลเรื่องค่าขนส่ง จากค่าระวางเรือ ที่กำลังปรับเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ปัจจุบันขยับขึ้นแล้ว 4 เท่าตัว เป็นกว่า 4,000 -6,000 เหรียญสหรัฐฯ จากปลายปีที่แล้ว ส่งออกไปยุโรป-สหรัฐ ต่อตู้คอนเทนเนอร์ละ 1,200 เหรียญสหรัฐฯ และยังมีการขยับขึ้นต่อเนื่องได้

อ่านข่าวอื่นๆ:

กรมทรัพย์สินฯ ชี้ “กางเกงช้าง” สิขสิทธิ์ไทย "ภูมิธรรม" สั่งเบรกนำเข้า

กนง. มีมติคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% มีผลทันที

"พิชัย" ชี้เงินเฟ้อติดลบ 4 เดือนติง ธปท.เร่งออกนโยบาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง