คุยนอกกรอบกับ "สุทธิชัย หยุ่น" : ภารกิจสร้างสุข "เภสัชกรยิปซี" กฤษณา ไกรสินธุ์

สังคม
15 ก.พ. 67
14:58
163
Logo Thai PBS
คุยนอกกรอบกับ "สุทธิชัย หยุ่น" : ภารกิจสร้างสุข "เภสัชกรยิปซี" กฤษณา ไกรสินธุ์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เป้าหมาย "ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์” เล่าภารกิจในวัย 72 ปี ภารกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อยกระดับชีวิตคนในชุมชนตั้งแต่ภาคใต้ไปจนถึงภาคเหนือ

"ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์" ประธานมูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ กล่าวถึงเป้าหมายของชีวิต ในวัย 72 ปี ในรายการคุยนอกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น ทางไทยพีบีเอส พร้อมบอกเล่าถึงโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรในแต่ละท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชน

ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ประธานมูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ กล่าวถึงเป้าหมายของชีวิต ในวัย 72 ปี ในรายการคุยนอกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น ทางไทยพีบีเอส ภาพ : กฤษณา ไกรสินธุ์

"ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์" ประธานมูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ กล่าวถึงเป้าหมายของชีวิต ในวัย 72 ปี ในรายการคุยนอกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น ทางไทยพีบีเอส ภาพ : กฤษณา ไกรสินธุ์

"ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์" ประธานมูลนิธิกฤษณา ไกรสินธุ์ กล่าวถึงเป้าหมายของชีวิต ในวัย 72 ปี ในรายการคุยนอกรอบ กับ สุทธิชัย หยุ่น ทางไทยพีบีเอส ภาพ : กฤษณา ไกรสินธุ์

จุดเริ่มต้น โครงการ

ทำงานเยอะขึ้น โปรเจกมากขึ้น อายุ 72 แล้ว ยิ่งต้องทำมากขึ้น ต้องรีบมากขึ้น

ศ.ภญ.ดร.กฤษณา เล่าถึงวัตถุประสงค์โครงการว่า สาเหตุที่ริเริ่มโครงการนี้ เนื่องจากต้องการให้คนไทยได้ทราบว่า ประเทศไทยมีของดี เหมือนที่ “ในหลวง รัชกาลที่ 9” ทรงรับสั่งว่า บ้านเรามีของมีคุณค่ามาก ก็คือ สมุนไพร

ตั้งใจไว้ว่า จะให้คนได้ใช้ของที่มีคุณภาพดี ทำให้มีความภาคภูมิใจ โดยเฉพาะคุณภาพสมุนไพร

ดังนั้น แล้วทำไมเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่มีอยู่ให้มากที่สุด ใช้อย่างมีคุณค่าให้มาก และต้องอนุรักษ์ควบคู่กันไปด้วย โดยสิ่งที่เราพยายามทำ ทำให้ของมีคุณภาพ ปราศจากพวกยาฆ่าแมลง สารเคมีและต้องอินทรีย์เท่านั้น นอกจากนี้ ยังต้องการให้มองว่า ถ้ามีอาหารที่มีคุณภาพเครื่องแกงที่ดี สุขภาพของประชาชนก็จะดีขึ้น ซึ่งจะสร้างรายได้ทางอ้อม

 ภาพ : กฤษณา ไกรสินธุ์

ภาพ : กฤษณา ไกรสินธุ์

ภาพ : กฤษณา ไกรสินธุ์

เริ่มต้นใน 3 จว.ชายแดนใต้ กับ โครงการ “ลังกาสุกะ” 

ศ.ภญ.ดร.กฤษณา เล่าถึงจุดเริ่มต้นของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในท้องถิ่น ซึ่งเริ่มจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการ “ลังกาสุกะ ” เริ่มต้นที่ จ.นราธิวาส จ.ยะลา จ.ปัตตานี โดยบริเวณนั้นชาวบ้านนิยมปลูกสมุนไพร โดยจะนำแปรรูปสมุนไพร เพื่อให้เขาใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง และมีคุณภาพ

รวมถึงยังฝึกให้ชาวบ้านฝึกหัดแปรรูปสมุนไพร ในพื้นที่ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส ในพื้นที่ดังกล่าวจะปลูกขมิ้นชัน และฟ้าทลายโจร โดยจะมีรถที่สามารถแปรรูปขมิ้นชัน รถแปรรูปฟ้าทะลายโจร ซึ่ง ในช่วงปีแรกเริ่มต้นจาก 1 คัน โดยสามารถแปรรูปขมิ้นชัน ได้วันละ 200 กก.

เริ่มต้นโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร จุดแรกในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาพ : กฤษณา ไกรสินธุ์

เริ่มต้นโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร จุดแรกในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาพ : กฤษณา ไกรสินธุ์

นอกจากนี้ยังมี ผลิตภัณฑ์ผักอัดเม็ด นมอัดเม็ด ผักผสมนมอัดเม็ด สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเคี้ยวผักได้แล้ว โดยจะมีผักหลายประเภททั้ง กรีนโอ๊ก ผักเคล และอื่น ๆ โดย ผักอัดเม็ดจำนวน 3 เม็ด จะมีคุณค่าเท่ากับสลัด 1 จาน หรือเด็กที่ไม่ชอบรับประทานทานผัก ก็สามารถทำเป็นนมอัดเม็ดผสมผักเข้าไปด้วยได้

การผลิตยา ผลัก และนมอัดเม็ด โดยโรงพยาบาลจะแนะ จ.นราธิวาส ภาพ : กฤษณา ไกรสินธุ์

การผลิตยา ผลัก และนมอัดเม็ด โดยโรงพยาบาลจะแนะ จ.นราธิวาส ภาพ : กฤษณา ไกรสินธุ์

การผลิตยา ผลัก และนมอัดเม็ด โดยโรงพยาบาลจะแนะ จ.นราธิวาส ภาพ : กฤษณา ไกรสินธุ์

 

ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สิ่งที่น่าประทับใจอย่างมาก ก็คือ ผลิตโดยโรงงาน ผลิตยาสมุนไพร จากโรงพยาบาลจะแนะ คือ เป็นของท้องถิ่นอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นการสร้างเศรษฐกิจให้คนในพื้นที่

คนในพื้นที่ตื่นเต้นว่า นวัตกรรมก็มา รายได้ก็มา เป็นแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ผลิตยาเม็ด ที่นี่ เขาภูมิใจมากเลย

พัฒนาพื้นที่ “3 จชต.ถึงภาคเหนือ”

หลังจากผ่านมานั้น 3 ปี 5 เดือน ได้ขยายไปในพื้นที่ภาคเหนือ อ.บ้านตาก จ.ตาก โดยมีสมุนไพรที่เด่นสุด ของ จ.ตาก คือ “พริกกะเหรี่ยง” และยังแปรรูปฟ้าทะลายโจร พริกกะเหรี่ยง มะแว้งต้น มะแว้งเครือ โดยเริ่มที่โรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ อ.ท่าสองยาง ที่จะแปรรูปขมิ้นชัน รวมถึง สมุนไพรอีกหลายประเภท ทั้ง ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร มะแว้งต้น มะแว้ง รวมถึง อ.อุ้มผาง ที่จะมี “สามหมื่นโมเดล” ที่ดอยสามหมื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก

การแปรรูปพริกกะเหรี่ยง

การแปรรูปพริกกะเหรี่ยง

การแปรรูปพริกกะเหรี่ยง

พอพูดถึงพริกกะเหรี่ยงเขาตาลุกกันขึ้นมา วิธีการดึงความสนใจเขาเนี่ย เราต้องเอาสิ่งที่เขาสนใจก่อนมาพูด

กรณี “พริกกะเหรี่ยง” ชาวบ้านฟังแล้วตาลุก จากเดิมจะเริ่มที่ “ฟ้าทะลายโจร” เมื่อคนว่าชาวบ้านสนใจมากกว่า ก็ต้องปรับตัวเปลี่ยนเป็นการสนับสนุนปลูกพริกกะเหรี่ยงแทน

จุดเด่นของพริกกะเหรี่ยงคือ รสชาติเผ็ดและหอมที่สุดในประเทศไทย และหอม ซึ่งไม่ใช่การค้นพบ แต่ที่เจอเพราะว่าชาวบ้านเขารับประทานพริกกะเหรี่ยงกันเป็นประจำทุกวัน

ทั้งนี้ “พริกกะเหรี่ยง” เป็นของกิน แต่ว่า มีความสำคัญมาก เพราะคนไทยรับประทานพริกกันมาก และหากทำพริกกะเหรี่ยงให้มันดี มีคุณภาพ สามารถรับรองได้ว่า สุขภาพคนไทยจะดีขึ้น ซึ่งต้องแปรรูปให้เร็วที่สุด มีคุณภาพที่สุด

ทั้งนี้กระบวนการแปรรูปใช้เวลา 12 นาที ซึ่งเป็นนวัตกรรม จากนี้จึงส่งให้ ม.เชียงใหม่ นำไปตรวจ และนี่คือ “ช้างเผือกโมเดล” ซึ่งผลการตรวจก็พบว่าปลอดเชื้อ สะอาดมาก จากนี้ไปคนไทยจะได้รับประทานพริกที่สะอาด ซึ่งมาจากต้นตอมาจากบนยอดเขา ขณะที่ การปลูกมะแว้งต้น มะแว้งเครือ ก็เพราะชาวบ้านนิยมนำมารับประทานกับลาบ และยังเป็นยาแก้ไอ ซึ่งเป็นสมุนไพรในตัว

“ช้างเผือกโมเดล” จ.เชียงใหม่ 

ขณะที่ ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ มี “ช้างเผือกโมเดล” ที่ อ.แม่แจ่ม ซึ่งทำให้กับ ม.เชียงใหม่ แม้ว่า ในช่วงแรกจะมีหลายคนบอกว่า อย่าไป อ.แม่แจ่ม แต่เราก็บอกว่า ไม่เป็นไร ๆ ใครพูดอะไรฉันก็ไม่ฟังทั้งนั้นอยากทำก็ทำ เราก็เชื่อว่าถ้าเราตั้งใจทำเต็มที่แล้ว ถ้าคนเขามีความเชื่อมั่นกับเรา แล้วทำงานด้วยกับเรา แล้วทำไมจะไม่สำเร็จ

จริง ๆ คนน่ะ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามเนี่ย ถ้าเราเอาใจคนไม่ได้แล้ว ถ้าเราเข้าถึงเขาไม่ได้ ไม่มีวันทำอะไรได้เลยค่ะ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา 

ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ยังกล่าวถึง วิธีการทำให้ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ก็คือ ต้องให้ความจริงใจ ต้องไปอธิบายว่าเรามาทำอะไร แต่ถ้าเขาไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร เพราะที่ อ.แม่แจ่ม ไปทั้งหมด 11แห่ง และเลือก 3 แห่ง เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีกระบวนการคัดสรร คัดเลือกอะไรต่าง ๆ ตรงไหนเป็นที่เหมาะสม ว่าตรงนี้สามารถทำได้ ซึ่งโดยหลักนั้นอยู่ที่คน ทุกที่เลยนะคะ มันอยู่ที่คน

ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ลงพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ในโครงการช้างเผือกโมเดล   

ภาพ : Krisana Kraisintu

ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ ลงพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ในโครงการช้างเผือกโมเดล ภาพ : Krisana Kraisintu

นอกจากนี้ การเข้าไปจะต้องกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรอย่างสมุนไพร โดยชี้ให้เขาเห็นความสำคัญของทรัพยากรที่มีอยู่ ให้เขามีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของเขา และช่วยให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ
ตรงนี้สำคัญมาก

นอกเหนือจาก “ช้างเผือกโมเดล” ใน จ.เชียงใหม่แล้ว ก็ยังมี จ.พะเยา “ภูกามยาวโมเดล” ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีโครงการในพื้นที่ภาคอีสาน ที่ดำเนินการในหลายพื้นที่ เช่น “จัมปาศรีโมเดล” ในพื้นที่ จ.มหาสารคาม จ.ศรีสะเกษ จ.สุรินทร์ จากนั้น จึงขยายไปที่ จ.ชัยภูมิ แล้วเกิดเป็น “พฤกษามณีโมเดล” ที่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
ขณะที่พื้นที่ภายตะวันออก มีโครงการ เพ็ญพฤกษา ที่ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 47จ.เพชรบุรี

การปลูกมะแว้งต้นและมะแว้งเครือของจัมปาศรีโมเดล จ.ชัยภูมิ ภาพ : Krisana Kraisintu

การปลูกมะแว้งต้นและมะแว้งเครือของจัมปาศรีโมเดล จ.ชัยภูมิ ภาพ : Krisana Kraisintu

การปลูกมะแว้งต้นและมะแว้งเครือของจัมปาศรีโมเดล จ.ชัยภูมิ ภาพ : Krisana Kraisintu

“ดิน-น้ำ” สิ่งสำคัญ

ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ยังกล่าวว่า ถ้าพูดถึงสินค้าเกษตร ต้องดูตั้งแต่ต้นตอว่า เหตุใดสินค้าจึงไม่มีคุณภาพ นั่นก็เพราะดินกับน้ำมันไม่ดี ดังนั้น จุดสำคัญจึงเป็นเรื่องของดินกับน้ำ อาหารที่มันอยู่ในดิน ถ้าดินไม่ดีจะออกมาดีได้อย่างไร เพราะฉะนั้นเมื่อเริ่มโครงการจะตรวจตั้งแต่ต้นเลยนะว่า อินทรีย์วัตถุมีเท่าไหร่ ปลูกอะไรได้บ้าง ซึ่งต้องมีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่โดยจะจะเน้นที่ดินกับน้ำเสมอ ด้วยเหตุนี้ ผลพลอยได้ของโครงการนี้ คือ การพัฒนาดินกับน้ำ ซึ่งมีความสำคัญมาก

คุณก็ได้ไปปลูกอะไรต่าง ๆ คุณได้เริ่มจากจุดเล็ก ๆ มันเหมือนกันจุดประกาย แล้วก็ให้มีการเชื่อมโยงกันแต่ละที่ มันก็จะเป็นเครือข่ายที่มันเข้มแข็งขึ้น

เน้นตลาดพรีเมี่ยม

ขณะที่การทำตลาด จะเน้นที่ของพรีเมี่ยมจากนั้นการตลาดจะตามมา เนื่องจากของพรีเมี่ยมนั้นมันขายไม่ยากโดยสามารถพิสูจน์ได้ เช่นมีใบรับรอง ยกตัวอย่างเช่น “ผักเคล” ที่เรา จะสามารถแสดงให้เห็นว่ามีปริมาณดูวิตามินเท่าใด หรื สารอาหารต่าง ๆ เป็นอย่างไร

มันก็ของดีที่สุดแล้ว ในราคาที่จับต้องได้ จุดนี้สำคัญ ราคาที่จับต้องได้คือราคาที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึง ฉะนั้นบอกแจ้งกับเอกชนที่มารับซื้อ โดยเน้นว่าอย่าขายแพงนะ เพราะคนชั้นกลาง ชั้นที่เขาไม่ค่อยมีเงิน ก็สามารถซื้อได้ด้วย

โครงการนี้ มีหลายองค์กรให้การสนับสนุน โดยองค์กรหลักคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) โดยทำหน้าที่ขนส่งโลจิสติกส์ โดยได้แจ้งกับ กฟผ.ว่าในช่วง 3ปีแรกให้ช่วยขนส่งสินค้าไปพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อชาวบ้านสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง ก่อน
“ก็บอก กฟผ.ว่า ให้ชาวบ้านเขาอยู่ได้สัก3ปี ยืนได้ด้วยตัวเอง กฟผ.ก็ตกลง ก็จะช่วยขนช่วงนี้ ขนให้ฟรีก่อน หลังจากนั้นยืนได้ด้วยตัวเอง ต้องหาทาง”

ปลูกป่าควบคู่ปลูกสมุนไพร

นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง ปลูกป่า โดยปลูกสมุนไพรอยู่ในป่านั้นด้วย เพราะสมุนไพรชื่อมันก็อยู่ในป่า ช่วงที่ป่ามันจะขึ้นใช้เวลาประมาณ 7 – 8 ปี สามารถปลูกสมุนไพร ได้จำนวนมาก รวมถึงยังสร้างรายได้จากสมุนไพรได้ด้วย

แทนที่เราจะไปจ้างคนให้มาดูต้นไม้เนี่ย ก็ให้มันได้รายได้จากสมุนไพรที่เราปลูก

ขณะที่สมุนไพรในป่า จะต้องแปรรูปในพื้นที่ทันที เนื่องจากบางพื้นที่ป่านั้นอยู่ไกลบนยอดเขา การขนสมุนไพรลงมาข้างล่างอาจเหี่ยวเฉาจึงต้องทำหน่วยแปรรูปสมุนไพรเคลื่อนที่ (Mobile Station) โดย กฟผ.จะทำทั้งหมดเลย

<"">

"ศ.ภญ.ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์” กับรถแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร ภาพ : Krisana Kraisintu

ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบ คาดว่าในช่วงเดือน ก.พ.นี้ รถต้นแบบสำเร็จ รถแปรรูปสมุนไพรนี้ จะใช้พลังงานจากโซลาเซลล์ มีหม้อต้มไมโครเวฟ โดยจะเริ่มที่ อ.แม่แจ่ม เพื่อเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่น ๆ

ต่อไปใครจะปลูกป่าปลูกแบบนี้สิ ปล่อยไปตามธรรมชาติ ชาวบ้านก็จะได้ ได้เงินจากสมุนไพรด้วยแทนที่เราจะไปจ้างให้เขาปลูก ให้เขาดูแล ถ้าชาวบ้านได้ประโยชน์ ชาวบ้านจะไม่เผาป่า คือมันได้ทางอ้อม  

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง