กินอยู่ยังไง ? เมื่อต้องสู้กับฝุ่น PM 2.5 แนะการสุมยาเมื่อมีอาการแพ้ฝุ่น

ไลฟ์สไตล์
15 ก.พ. 67
17:59
955
Logo Thai PBS
กินอยู่ยังไง ? เมื่อต้องสู้กับฝุ่น PM 2.5 แนะการสุมยาเมื่อมีอาการแพ้ฝุ่น
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สมุนไพร - ผลไม้ กินเป็นประจำเสริมสุขภาพช่วงเผชิญปัญหาฝุ่น PM 2.5 ขณะที่กรมการแพทย์ฯ แนะสุมยาบรรเทาอาการภูมิแพ้ ที่มากับฝุ่น

เข้ากลางเดือน กุมภาพันธ์ 2567 ท่ามกลางฝุ่นหนา เมื่อสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในหลายจังหวัดทั่วไทย โดยเฉพาะในเขต กรุงเทพฯ - ปริมณฑล ที่กลับมาวิกฤตอีกครั้ง คุณภาพอากาศ ในหลายพื้นที่อยู่ในระดับ "สีแดง" มีผลกระทบกับ "สุขภาพ"

จน ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ต้องขอความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน Work From Home เพื่อยกดับการป้องกัน พร้อมตั้งวอร์รูมฝุ่น เพื่ออัปเดตสถานการณ์วันละ 3 รอบ คือ 07.00 น., 11.00 น. และ 15.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการเดินทางกันจำนวนมาก และเป็นปัจจัยที่ทำทิศทางฝุ่นใน กทม.สะสมมาตลอดสัปดาห์

ส่วนปัจจัยเพิ่มเติมจากจุดความร้อนทั้งจากประเทศเพื่อนบ้าน และ กทม.ยังเจอสภาพอากาศไม่ระบาย ทำให้ฝุ่นแช่นานขึ้น หลายคนจึงอาจตั้งคำถามฝุ่นขนาดนี้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแค่ไหน แล้วจะมีสมุนไพร หรือ อาหารอะไรที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย นอกจากการใส่หน้ากากป้องกันตัวเอง 

อ่าน กทม.ฝุ่นพิษระดับสีแดง 17 พท.เตือนแนวโน้มเพิ่ม 16-17 ก.พ.นี้

กินผัก ผลไม้ประจำทำ "ปอด" แข็งแรง

มลภาวะทางอากาศ ส่งผลให้เราอาจได้รับสารพิษเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจอย่างไม่รู้ตัว ทั้ง "ภูมิแพ้" หรือผลกระทบต่อ "ปอด" ซึ่งอวัยวะที่สำคัญ และหน้าที่หลักคือ การแลกเปลี่ยน "ออกซิเจน" เข้าสู่ระบบเลือดในร่างกาย การดูแลปอดให้ดี และแข็งแรง จึงช่วยให้สุขภาพร่างกาย แข็งแรงด้วยเช่นกัน ไทยพีบีเอสรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง 

การเน้นบริโภคผักผลไม้ให้ได้วันละ 400 กรัมขึ้นไปจะทำให้ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถต้านการอักเสบของเซลล์ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

สำหรับอาหารหรือผักผลไม้ ช่วยลดการอักเสบ และสารต้านอนุมูลอิสระ มีดังนี้

  • อาหารกลุ่มที่มี วิตามินซีสูง : ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสียหายต่อเซลล์ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดอาการแพ้

ส้ม สตอเบอร์รี่ แอปเปิ้ล แตงโม ฝรั่ง ผักเขียวเข้ม ผักโขม บัวบก มะขามป้อม มะเขือเทศ

  • อาหารกลุ่มวิตามินอีสูง : ในกลุ่มอาหารที่ไขมันสูง

เช่น ธัญพืช ถั่ว ไข่แดง ข้าว น้ำมันรำข้าวจมูกข้าว น้ำมันปลา ช่วยลดการอักเสบ

  • วิตามินบี 6 และ 12 และ กรดโฟลิกหรือโฟเลต  

บรอกโคลี ฟักทอง แครอท เนื้อสัตว์ เนื้อแดง ข้าวไม่ขัดสี นม ถั่วต่าง ๆ จมูกข้าว รำข้าว กะหล่ำปลี

  • วิตามินเอและเบต้าแคโรทีน : วิตามินเอช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและระบบทางเดินหายใจ

แครอท ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง มันเทศ มะม่วง มะละกอ แคนตาลูป น้ำมันตับปลา เครื่องในสัตว์ ไข่แดง รวมถึงผักที่มีสีเขียวเข้ม สีเหลือง สีส้ม

  • โอเมก้า 3 : กรดไขมันไม่อิ่มตัว ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหาร

ปลา น้ำมันพืช ถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ หรือผักใบเขียว อะโวคาโด

  • สารอาหารที่มีกรดอะมิโน N-acetyl cysteine : ช่วยลดความเสี่ยงโรคทางเดินหายใจ อาหารที่ควรกิน

หัวหอม กระเทียม ไข่ เนื้อแดง แตงโม

รู้จักสารต้านอนุมูลอิสระ จากผักผลไม้ 5 สี

สีแดง มีสารไลโคปีน และบีทาเลนสูง ช่วยป้องการโรคมะเร็ง เช่น มะเขือเทศ แตงโม 

สีน้้าเงิน - สีม่วง มีแอนโทไซยานินสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ชะลอความเสื่อมของเซลล์
เช่น กะหล่้าม่วง มะเขือม่วง 

สีเขียว มีสารคลอโรฟิลล์ และลูทีน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันโรคมะเร็ง เช่น บร็อคโคลี่ ต้าลึง
คะน้า ผักโขม 

สีเหลือง - ส้ม มีเบตาแคโรทีน ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
เช่น แครอท ฟักทอง มะละกอสุก 

สีขาว-น้้าตาล มีสารฟลาโวนอยด์ ต้านอนุมูลอิสละ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ต้านการอักเสบ
เช่น ผักกาดขาว เห็ด หัวไชเท้า ลูกเดือย 

สมุนไพรต้านอักเสบ-บำรุงปอด

มะขามป้อม : มีวิตามินซีสูง พบว่าหากนำมาต้มดื่มจะช่วยป้องกันเซลล์อักเสบและช่วยให้การทำงานของหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นและการไหลเวียนที่ดี

ขมิ้นชัน : มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินอีถึง 80 เท่า ดีต่อการทำงานของปอด 

รางจืด : โดดเด่นเรื่องการล้างพิษ แต่ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเกิน 1 เดือน

อ่าน ลด PM 2.5 เลิกเผา "ซังข้าว-ตออ้อย" พัฒนาที่ดินแนะไถกลบแทน

การสุมยาบรรเทาอาการที่มาพร้อมกับ ฝุ่น PM 2.5

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ยังมีข้อแนะนำในช่วงนี้

  • หลีกเลี่ยงการเผชิญฝุ่นโดยตรง 
  • หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้สวมแมสที่สามารถป้องกันฝุ่นได้
  • การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำเพราะจะช่วยล้างฝุ่นที่อยู่ในโพรงจมูก
  • การสุมยาโดยนำสมุนไพรมาต้มแล้วเอาผ้าคลุมหัว แล้วสูดเอาไอความร้อนเข้าไปในปอดจะทำให้ระบบการเดินหายใจดีขึ้น

สำหรับการสุมยาเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาทางการแพทย์แผนไทย โดยใช้ความร้อนชื้นจากไอน้ำที่ระเหย จากน้ำมันที่ได้จากสมุนไพร ซึ่งมีฤทธิ์รักษาระบบทางเดินหายใจส่วนต้น สมุนไพรที่ใช้ในการสุมยา เช่น ตะไคร้ หอมแดง ขิง ข่า ใบมะกรูด ผิวมะกรูด เป็นต้น โดยช่วยบรรเทาอาการ ไอ จาม คัดจมูก 

สำหรับขั้นตอนการสุมยา คือ นำสมุนไพรมาหั่น และทุบพอหยาบ ใส่สมุนไพรในกะละมัง และใส่น้ำร้อน แล้วนำผ้ามาคลุมศีรษะให้มิดชิดสูดดมไอระเหยจาก สมุนไพรประมาณ ครั้งละ 15 นาที วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น

ข้อห้ามและข้อควรระวัง

  • ไม่ให้สูดยาใกล้เกินไป
  • หากมีอาการแน่ อึดอัด ควรหยุดสุมยา
  • ระวังในผู้ที่แพ้สมุนไพร
  • ห้ามในผู้ป่วยมะเร็งระบบทางเดินหายใจ
  • ไม่ใช้อุปกรณ์และสมุนไพรสุมยาร่วมกัน

อย่างไรก็ตามในช่วงที่ทุกคนต้องเผชิญฝุ่น PM 2.5 หนักขนาดนี้ขออย่าลืมใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง และหากพบอาการผิดปกติ มีอาการแสบจมูก หายใจติดขัด วิงเวียนศีรษะ ขอให้ไปพบแพทย์ทันที สุดท้ายอย่าลืมดูแลสุขภาพ กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

อ้างอิงข้อมูล : กรมสุขภาพจิตscbกรมอนามัย

อ่านข่าวอื่น ๆ

มะเร็งหายาก 1 ในล้านคน ไร้ประวัติกินเหล้า-สูบบุหรี่

เครือข่ายป้องกันภัยฯ บุก สธ.ค้านขยายขาย "แอลกอฮอล์"

"แม่เต่ามะเฟือง" วางไข่หาดไม้ขาว จ.ภูเก็ต

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง