อย่าลืม! ผู้ประกันตน ม.33 "ว่างงาน - ตกงาน" ลงทะเบียนรับเงินชดเชย

ไลฟ์สไตล์
19 ก.พ. 67
16:57
149,482
Logo Thai PBS
อย่าลืม! ผู้ประกันตน ม.33 "ว่างงาน - ตกงาน" ลงทะเบียนรับเงินชดเชย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ลงทะเบียน "ว่างงาน" ประกันสังคม "ผู้ประกันตน ม. 33" รายงานตัวว่างงานออน์ไลน์ 2567 มีขั้นตอนอย่างไร และสามารถรับเงินทดแทนได้ที่ไหน เช็กเลย

หากใครต้องตัดสินใจ "ลาออก" จากงาน หรือด้วยเหตุผลถูก "เลิกจ้าง" แบบไม่ทันตั้งตัวอย่าเพิ่งตกใจเพราะไม่ว่าจะว่างงานด้วยเหตุอะไรก็ยังมีเงินประกันสังคม ช่วยเหลือผู้ประกันตนให้มีเงินทุน ระหว่างหางานใหม่ ฉะนั้นมารู้ถึงสิทธิ และประโยชน์ที่ควรได้รับ เมื่อต้องว่างงาน 

ประกันสังคม ม.33 คืออะไร? ให้สิทธิอะไรคนทำงาน

ผู้ประกันตน ม.33 จะต้องเป็นคนที่ทำงานตามบริษัทเอกชนทั่วไป หรือพนักงานประจำที่มีนายจ้าง อายุตั้งแต่ 15 - 60 ปี โดยนายจ้างจะเป็นผู้แจ้งขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานประกันสังคมให้ลูกจ้าง ซึ่งความคุ้มครองที่ ผู้ประกันตนตาม ม.33 จะได้รับสิทธิประโยชน์ และความคุ้มครอง ดังนี้ ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ, ว่างงาน

สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้จ่ายเงินเข้าประกันสังคม โดยคำนวณจาก 5% ของเงินเดือน (คำนวณจากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ดังนั้น ผู้ประกันตนจึงจ่ายเงินสมทบสูงสุด ไม่เกิน 750 บาท/เดือน นอกจากนี้ นายจ้าง และรัฐบาล จะร่วมจ่ายเงินสมทบในแต่ละเดือนให้ด้วย

ทั้งนี้เมื่อผู้ประกันตนตาม ม.33 ต้อง "ลาออก" จากงาน หรือ "ตกงาน" การลงทะเบียนว่างงาน และการรายงานตัวว่างงาน เป็นสิทธิให้คนที่อยู่ในระบบแรงงานที่จ่ายสบทบเงินประกัน ม.33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนว่างงาน ผู้ประกันตนต้องลงทะเบียนว่างงาน และรายงานตัวว่างงาน มีขั้นตอนอย่างไรบ้างนั้น มีรายละเอียดดังนี้

อ่าน : "ปิดฝาชักโครก ก่อนกดน้ำ" ลดเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อโรค จริงหรือไม่

อ่าน : เคล็ดวิธีรับมือ เมื่อมนุษย์เงินเดือน "ถูกเลิกจ้าง-ตกงาน" กะทันหัน

เงื่อนไขขึ้นทะเบียนว่างงาน ประกันสังคม

  • เป็นผู้ประกันตน ม.33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน ไม่ว่าจะลาออกเอง เลิกจ้าง หรือว่างงานจากเหตุสุดวิสัย 
  • ว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
  • ขึ้นทะเบียนว่างงานผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน ภายใน 30 วัน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน
  • รายงานตัวออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน เดือนละ 1 ครั้ง
  • มีความพร้อมและสามารถทำงานที่จัดหาให้ได้
  • ไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
  • ไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีต่อไปนี้

- ทุจริตต่อหน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

- ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน

- ขาดงาน 7 วันติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร

- ประมาทจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง

- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

  • ไม่เป็นผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39

อ่าน : สิ่งที่ลูกจ้างควรรู้! เช็กสิทธิ "ลาหยุด ลาป่วย ลากิจ" ตามกฎหมายแรงงาน

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนประกันว่างงาน

ผู้ประกันตน ม.33 ขึ้นทะเบียน ทำตามขั้นตอนทั้งช่องทางออนไลน์ และ จุดบริการของสำนักงานประกันสังคม ดังนี้

  • ออนไลน์ ขึ้นทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์กรมการจัดหางาน ภายใน 30 วัน
  • จุดบริการสำนักงานประกันสังคม ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) ได้ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน (ยกเว้น สำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1694 ในวันและเวลาราชการ 08.30-16.30 น. 

อ่าน : ต้องรู้! "ลูกจ้าง" มีสิทธิลาได้ 3 วันเพื่อกิจธุระอันจำเป็น

ขั้นตอนและเอกสารที่ใช้ "ช่องทางออนไลน์"

ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางาน โดยกรอกข้อมูล และอัปโหลดเอกสารที่จำเป็น ดังนี้

  • ข้อมูลส่วนตัว
  • วุฒิการศึกษา
  • สถานะการออกจากงาน: ลาออก หรือเลิกจ้าง
  • ข้อมูลต้องการหางานทำ: ค้นหาตำแหน่งงานว่าง หรือเลือกสมัครงาน
  • ข้อมูลการประกอบอาชีพอิสระ: ระบุประเภทอาชีพ
  • แนบไฟล์สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) ผ่าน 8 ธนาคาร ได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.กรุงเทพ ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กสิกรไทย ธ.ทหารไทยธนชาต ธ.ซีไอเอ็มบีไทย ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย

จุดบริการ สำนักงานประกันสังคม

นำส่งและยื่นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมสาขาใกล้บ้าน โดยใช้เอกสารดังนี้

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)
  • บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
  • หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09) (ถ้ามี)
  • หนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)
  • หนังสือรับรองการขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัย (กรณีผู้ประกันตนว่างงานจากเหตุสุดวิสัย)
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) ผ่าน 10 ธนาคาร

ลงทะเบียนว่างงาน ได้เงินทดแทนเท่าไร

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน ตามเงื่อนไขการจ่ายประโยชน์ทดแทนประกันสังคม ว่างงาน ดังนี้

1.ถูกเลิกจ้าง

- ได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน

ยกตัวอย่างเช่น หากค่าจ้าง 10,000 บาท จะได้เงินชดเชยเดือนละ 5,000 บาท 

หรือ หากมีฐานเงินเดือน 20,000 บาท จะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 7,500 บาท 

ตัวอย่างการคำนวณเบื้องต้น

เช่น หากค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.50 x 180) / 30 = 250 บาทต่อวัน ไม่เกิน 180 วัน

เท่ากับว่า การว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้น จะได้เงินตั้งแต่ 250-45,000 บาท (คำนวณคร่าวๆ)

ถูกเลิกจ้าง 30 วัน ได้รับเงินชดเชย 7,500 บาท
ถูกเลิกจ้าง 60 วัน ได้รับเงินชดเชย 15,000 บาท
ถูกเลิกจ้าง 90 วัน ได้รับเงินชดเชย 22,500 บาท
ถูกเลิกจ้าง 120 วัน ได้รับเงินชดเชย 30,000 บาท
ถูกเลิกจ้าง 150 วัน ได้รับเงินชดเชย 37,500 บาท
ถูกเลิกจ้าง 180 วัน ได้รับเงินชดเชย 45,000 บาท

2.ลาออก หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง

- ได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลา ไม่เกิน 90 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน

ยกตัวอย่างเช่น หากมีฐานเงินเดือน 10,000 บาท ก็จะได้เงินชดเชยเดือนละ 3,000 บาท 

หรือ ผู้ประกันตนมีฐานเงินเดือน 20,000 บาท ก็จะได้นับเงินชดเชยเดือนละ 4,500 บาท 

**หมายเหตุ หาก 1 ปี มีการขอรับเงินทดแทนมากกว่า 1 ครั้ง เพราะถูกเลิกจ้าง หรือถูกเลิกจ้างและลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง สามารถรับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 180 วัน

หาก 1 ปี มีการขอรับเงินทดแทนมากกว่า 1 ครั้ง เพราะลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง สามารถรับเงินทดแทนรวมกันไม่เกิน 90 วัน

ตัวอย่างการคำนวณเบื้องต้น

เช่น ค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.30 x 90) / 30 = 150 บาทต่อวัน ไม่เกิน 90 วัน

เท่ากับว่า การว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้นจะได้รับเงินตั้งแต่ 150-13,500 บาท
ว่างงาน 1 วัน ได้รับเงินชดเชย 150 บาท
ว่างงาน 7 วัน ได้รับเงินชดเชย 1,050 บาท
ว่างงาน 15 วัน ได้รับเงินชดเชย 1,500 บาท
ว่างงาน 30 วัน (1 เดือน) ได้รับเงินชดเชย 4,500 บาท
ว่างงาน 60 วัน (2 เดือน) ได้รับเงินชดเชย 9,000 บาท
ว่างงาน 90 วัน (3 เดือน) ได้รับเงินชดเชย 13,500 บาท

รับเงินทดแทนได้ที่ไหน

ประกันสังคมจะโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ประกันสังคมว่างงาน เดือนละ 1 ครั้ง ผ่านทางบัญชีเงินฝากธนาคารที่แจ้งไว้ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียน

ถูกเลิกจ้างกรณีนี้ หมดสิทธิได้เงินชดเชย

นายจ้างมีสิทธิ์ไม่จ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทนได้ ดังนี้

  • ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น ลูกจ้างกระทำการโกงเงิน ยักยอกเงิน หรือแสวงหาผลประโยชน์จากบริษัทเพื่อไปเป็นของตัวเอง
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ถือว่าเข้าข่ายกระทำความผิดโดยนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ซึ่งหนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในกรณีนี้ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันควร

อ่านข่าวอื่น ๆ

สภาพัฒน์ เผย ศก.ไทยปี 66 GDP โต 1.9% แนะแบงก์ชาติทบทวนนโยบายการเงิน

อสส.ขอ ตร.คุ้มครอง "อธิบดีอัยการ" ถูกผู้ต้องหาคดีมินนี่คุกคาม

ลอบนำเต่าดาวอินเดีย-มังกรโคโมโด ปลายทางมองโกเลีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง