"มาฆบูชา 2567" อธิษฐานจิตก่อนตักบาตรอย่างไรให้ได้บุญ

ไลฟ์สไตล์
23 ก.พ. 67
15:26
15,582
Logo Thai PBS
"มาฆบูชา 2567" อธิษฐานจิตก่อนตักบาตรอย่างไรให้ได้บุญ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
วิธีตักบาตรตอนเช้าในวันพระใหญ่ มีขั้นตอนการใส่บาตร และวิธีปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

วันมาฆบูชา ตรงกับวันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ชาวพุทธต่างพร้อมใจกันมาทำบุญตักบาตรที่วัด เพราะการตักบาตรคือประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธปฏิบัติกันมาแต่สมัยพุทธกาล ถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเชื่อกันว่าอาหารที่ถวายไปนั้นจะส่งถึงญาติผู้ล่วงลับอีกด้วย

เตรียมใจให้ผ่องใส ก่อนใส่บาตร

บุญที่แท้จริงอยู่ที่ใจของผู้ถวายบุญ บุญจะบังเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มคิด ปลื้มปิติขณะทำ หลังจากให้ไปแล้วไม่นึกเสียดายในภายหลัง บุญกุศลจึงจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แนะนำให้รักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ทั้ง 3 ขณะ คือ

1. ก่อนถวาย ตั้งใจเสียสละอย่างแท้จริง
2. ขณะถวาย มีใจเลื่อมใส ถวายด้วยความเคารพ
3. หลังจากถวายแล้ว ต้องยินดีในทานของตัวเอง จิตใจเบิกบานเมื่อนึกถึงทานที่ตนเองได้ถวายไปแล้ว 

ตักบาตร วันมาฆบูชา 2567

ตักบาตร วันมาฆบูชา 2567

ตักบาตร วันมาฆบูชา 2567

อาหารคาว - หวาน ตักบาตรพระ

ในการเตรียมของตักบาตร พึงระวังอย่าให้อาหารคาวหวานร้อนหรือเย็นจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดความลำบากแก่พระภิกษุหรือสามเณร ที่ต้องอุ้มบาตรเดินทางในระยะไกล โดยสิ่งของที่ถวายจะต้องได้มาด้วยวิธีที่สุจริต และต้องเหมาะสมแก่พระภิกษุสามเณรด้วย

1. สิ่งที่จะนำมาใส่บาตร ควรเป็นอาหารเพื่อให้พระฉันได้ เช่น ข้าวสุก กับข้าวที่ปรุงสุกแล้ว อาหารที่ใส่ควรเป็นอาหารที่มีประโชน์ต่อร่างกาย

2. ห้ามตักบาตรด้วยเนื้อสัตว์ที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาพุทธ เรียกว่า มังสัง 10 อย่าง ได้แก่ มนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเสือดาว

นอกจากนี้ควรถวายผลไม้ที่พระฉันง่าย ถ้าเป็นเครื่องดื่มก็ต้องเหมาะกับการตักบาตร เช่น นม โยเกิร์ต เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ควรเลือกที่มีบรรจุกล่องขายสำหรับดื่มได้ในหนึ่งมื้อ เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์มาก และปลอดภัยจากเชื้อโรค เป็นแหล่งโปรตีนสูง

การตักบาตร ห้ามใส่บาตรด้วยเนื้อสัตว์ที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาพุทธ

การตักบาตร ห้ามใส่บาตรด้วยเนื้อสัตว์ที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาพุทธ

การตักบาตร ห้ามใส่บาตรด้วยเนื้อสัตว์ที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาพุทธ

วิธีปฏิบัติตัวในการใส่บาตร

  1. ในขณะที่รอตักบาตรนั้น ให้ทำจิตใจให้เป็นบริสุทธิ์ ไม่ควรนำเรื่องทุกข์ใจมาคิดในตอนนั้น
  2. ในขณะที่รอตักบาตรนั้น ต้องไม่จำเพาะเจาะจงตักบาตรแด่พระสงฆ์ สามเณร รูปใดรูปหนึ่ง การไม่จำเพาะเจาะจง เรียกว่า “สังฆทาน” พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่ามีผลมาก
  3. จิตใจของผู้ให้ทานต้องเบิกบาน ยินดีในทานที่ให้ ทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ ระหว่างรอตักบาตรไม่ควรคิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น ควรมีใจจดจ่อกับทานที่กำลังให้
  4. ไม่ควรใส่หมวก ผ้ามัดเอว ผ้าโพกหัว
  5. ไม่ควรถืออาวุธหรือเครื่องมืออื่น ๆ ถ้ามีควรวาง หรือเก็บไว้ที่อื่นก่อน
  6. แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย ผู้หญิงควรสวมใส่เสื้อผ้ามิดชิด คอเสื้อไม่คว้านลึก และบางจนเกินไป

วิธีการใส่บาตร

  1. นำอาหารที่เตรียมตักบาตร มาตั้งจิตถวายด้วยการยกขึ้นจบ คือ ยกขึ้นสูงระดับหน้าผาก ด้วยท่าประนมมืออธิษฐานตั้งความปรารถนา เพื่อทำกิเลสให้ลดน้อยลงจนถึงหมดสิ้นไป
  2. ขณะตักบาตรจะถอดรองเท้าหรือใส่รองเท้าก็ได้ หากการถอดรองเท้าทำให้รู้สึกกังวลใจจนไม่มีจิตใจหรือสมาธิที่จะจดจ่ออยู่กับการใส่บาตรแล้ว
  3. ยืนใส่บาตรในระดับที่เสมอแก่พระ คือยืนบนพื้นระดับเดียวกัน เป็นพื้นเดียวกัน และไม่ยืนสูงกว่าพระ 
  4. การนิมนต์พระควรนิมนต์ด้วยความสำรวม และใช้เสียงดังพอประมาณ ควรใช้คำว่า “นิมนต์ครับ/นิมนต์ค่ะท่าน”
  5. ขณะที่ตักบาตร ควรอยู่ในอาการสำรวมและเคารพ
  6. ของที่ใส่บาตรไม่ควรร้อนมากจนเกินไป เพราะบาตรพระทำจากโลหะ นำความร้อนได้ดี ปริมาณไม่ควรมากจนเกินไป การใส่ก็ควรวางในบาตรด้วยอาการสำรวม
  7. เมื่อตักบาตรเสร็จแล้ว ควรแสดงความเคารพด้วยการไหว้
คำกล่าวอธิษฐานก่อนตักบาตร มาฆบูชา 2567

คำกล่าวอธิษฐานก่อนตักบาตร มาฆบูชา 2567

คำกล่าวอธิษฐานก่อนตักบาตร มาฆบูชา 2567

การรับพร 

ขั้นตอนสุดท้ายของการใส่บาตรที่พระสงฆ์จะให้พรเรา เราควรพนมมือรับพรด้วยกริยาสำรวม 

คำกล่าวก่อนตักบาตร

ยกอาหารขึ้นเหนือศีรษะแล้วกล่าวว่า

“สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ”
ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นเครื่องนำมาซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสเถิด

หรือจะกล่าวเป็นภาษาไทยว่า “ข้าวขาวเหมือนดอกบัวยกขึ้นทูนหัวตั้งจิตจำนง ตักบาตรพระสงฆ์ขอให้ทันพระศรีอารย์ (นี้ตั้งความปรารถนาพบพระพุทธเจ้าพระองค์หน้า) ขอให้พบดวงแก้วขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้บรรลุนิพพานในอนาคตกาลเทอญ”

คำกล่าวหลังตักบาตร

นัตถิเม สะระนัง อัญยัง สังโฆเม สะระณังวะรัง
เอเตนะสัจจะวัชเชนะ โสตถิเม โหตุ สัพพะทา.
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสาระณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ขอให้ข้าพเจ้าเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

คำกรวดน้ำหลังตักบาตร

อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหตุ ญาตะโย
ขอบุญทั้งหลายจงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด ขอบุญทั้งหลายให้แก่คู่กรรมคู่เวรของข้่าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินท่านทั้งหลาย ตั้งแต่อดีตชาติถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านมารับแล้วอโหสิกรรมอดโทษให้แก่ข้าพเจ้า ไม่ตามจองล้างจองผลาญจองเวร ซึ่งกันและกันตลอดไปและอนุโมทนาบุญกลับมาหาข้าพเจ้าด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเถิด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง