วันมาฆบูชานี้ ไม่ได้ไปวัดก็ทำบุญได้ ด้วย “บุญกิริยาวัตถุ 10”

สังคม
23 ก.พ. 67
16:52
8,404
Logo Thai PBS
วันมาฆบูชานี้ ไม่ได้ไปวัดก็ทำบุญได้ ด้วย “บุญกิริยาวัตถุ 10”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เมื่อถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนต่างนิยมไปทำบุญ ตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม เพื่อสร้างบุญกุศลให้ตัวเอง แต่ในทางศาสนายังมีวิธีการสร้างบุญอีกอย่างที่เรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ 10”

    บุญ เป็นสภาพธรรมที่ชำระจิตให้สะอาด (เพราะโดยปกติแล้วจิตสกปรกด้วยอำนาจของอกุศลธรรม) ขณะที่เป็นบุญ จิตสะอาดจากอกุศล คือ โลภะ โทสะ และ โมหะ 

รู้จัก “บุญกิริยาวัตถุ 10” ทางแห่งการทำดี 10 ประการ    

      ในทางพระพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน 10 วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 ที่ตั้งแห่งการกระทำความดี ทางกาย วาจา และ ทางใจ ได้แก่

1. ทานมัย บุญสำเร็จจากการให้วัตถุเพื่อสงเคราะห์หรือบูชาแก่ผู้อื่น

ทานมัย หมายถึง การให้ทาน การสละ หรือการเผื่อแผ่แบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง ข้าวของเครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด กับใครก็ได้ถือเป็นบุญทั้งสิ้น สิ่งสำคัญของการบริจาคหรือให้ทานแก่ผู้อื่น ควรเป็นสิ่งของที่ยังใช้ได้ ไม่เสียหายชำรุด หรือ หมดอายุ การให้ทานทำได้ทุกที่ทุกเวลา และไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน เช่น การแบ่งของกินให้กับแม่บ้านที่ทำงาน หรือยาม เป็นต้น

ผลที่ได้รับ ทำให้ผู้ที่ให้ทานลดความเห็นแก่ตัว ความตระหนี่ และความคับแคบในจิตใจให้น้อยลง ไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของ 

ทานมัย หมายถึง การให้ทาน การสละ หรือการเผื่อแผ่แบ่งปัน

ทานมัย หมายถึง การให้ทาน การสละ หรือการเผื่อแผ่แบ่งปัน

ทานมัย หมายถึง การให้ทาน การสละ หรือการเผื่อแผ่แบ่งปัน

2. สีลมัย บุญสำเร็จจากการงดเว้นจากทุจริต หรือประพฤติสุจริตทางกาย วาจา

สีลมัย หรือ การรักษาศีล หมายถึง การปฏิบัติทางกายและวาจา เช่น ศีล 5 ศีล 8 เช่น เป็นแม่ค้าไม่โกหกหลอกขายของไม่ดีแก่ลูกค้า เป็นพ่อบ้านไม่กินเหล้าเมายา ทำให้ลูกเมียมีความสุข ล้วนเป็นการรักษาศีล 

ผลที่ได้รับ เป็นการฝึกฝนมิให้ไปเบียดเบียนผู้อื่น ลด ละ เลิกความชั่ว มุ่งให้กระทำความดี อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต มิให้ตกต่ำลง ทำให้เป็นคนเยือกเย็น สุขุม

3. ภาวนามัย บุญสำเร็จจากการอบรมจิตให้สงบจากกิเลส และการอบรมปัญญาเพื่อละกิเลสทั้งปวง

ภาวนามัย หรือ เจริญภาวนา เป็นการมุ่งพัฒนาจิตใจและปัญญา เห็นคุณค่าสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เช่น นั่งสมาธิ วิปัสสนา หรือ วิธีการสวดมนต์

ผลที่ได้รับ เป็นการเตือนสติให้เรายึดมั่นในการประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้จิตใจสงบ  และผลบุญนี้จะทำให้เกิดปัญญาแก่ผู้ปฏิบัติ

ภาวนามัย บุญสำเร็จจากการอบรมจิตให้สงบจากกิเลส

ภาวนามัย บุญสำเร็จจากการอบรมจิตให้สงบจากกิเลส

ภาวนามัย บุญสำเร็จจากการอบรมจิตให้สงบจากกิเลส

4. อปจายนมัย บุญสำเร็จจากการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน

อปจายนมัย หรือ การอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การประพฤติตนเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ว่าจะเป็นผู้น้อยประพฤติต่อผู้ใหญ่ และการที่ผู้ใหญ่แสดงตอบด้วยความเมตตา หรือการอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพต่อความคิด ความเชื่อ และวิถีปฏิบัติของบุคคล หรือสังคมอื่นที่แตกต่างจากเรา

ผลที่ได้รับ ลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตนของเรา ช่วยให้สังคมทุกระดับเกิดความเข้าใจต่อกัน ผลบุญข้อนี้จะทำให้เกิดความเมตตาต่อกัน

5. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จจากการขวนขวายบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น

เวยยาวัจจมัย หรือ การช่วยขวนขวายทำในกิจที่ชอบเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมรอบข้าง ในการทำกิจกรรมความดีต่างๆ เช่น ช่วยงานเพื่อนที่ทำงานให้แล้วเสร็จทันเวลา ให้กำลังใจแก่เพื่อนที่มีความทุกข์

ผลที่ได้รับ ช่วยให้เกิดความรักความสามัคคี

เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จจากการขวนขวายบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น

เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จจากการขวนขวายบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น

เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จจากการขวนขวายบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น

6. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จจากการให้ส่วนบุญที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว

ปัตติทานมัย หรือ การให้ผู้อื่นมาร่วมทำบุญกับเรา คือ ไม่ว่าจะทำบุญอะไร ก็เปิดโอกาสให้คนอื่นได้มาร่วมทำบุญด้วย ไม่ขี้เหนียว หรืองกบุญเพราะอยากได้บุญใหญ่ไว้คนเดียว เช่น จะทำบุญสร้างโบสถ์ ก็ให้คนอื่นได้ร่วมสร้างด้วย  

ผลที่ได้รับ จะช่วยให้เราเป็นคนใจกว้าง และปราศจากอคติต่างๆ เพราะพร้อมเปิดใจรับผู้อื่น

7. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จจากการยินดีในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว

ปัตตานุโมทนามัย หรือ การอนุโมทนาส่วนบุญ คือ การยอมรับหรือยินดีในการทำความดีหรือทำบุญของผู้อื่น เมื่อใครไปทำบุญมาก็รู้สึกชื่นชมยินดีไปด้วย โดยไม่คิดอิจฉาหรือระแวงสงสัยในการทำความดีของผู้อื่น เช่น ร่วมอนุโมทนากับเพื่อนที่ไปสร้างโบสถ์สร้างวัด ไม่อิจฉาแม้เราไม่ได้ไป และอย่าไปคิดอกุศลว่าในทางที่ไม่ดี

ผลที่ได้รับ การไม่คิดในแง่ร้ายทำให้เราจิตใจไม่เศร้าหมอง เพราะได้ยินดีกับกุศลผลบุญต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แม้จะมิได้ทำเองโดยตรงก็ตาม

8. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จจากการฟังพระสัทธรรม

ธัมมัสสวนมัย หรือ การฟังธรรม ทำให้เราได้ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ทั้งต่อสติปัญญา และการดำเนินชีวิต ซึ่งการฟังธรรมนี้ ไม่จำเป็นต้องไปฟังที่วัด แต่อาจจะฟังจากเทป ซีดี หรือเป็นการฟังจากผู้รู้ต่างๆ โดยไม่รวมเฉพาะหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังหมายรวมไปถึงเรื่องจริง เรื่องดีๆ ที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้และปัญญา

ผลที่ได้รับ จะทำให้ผู้ฟังเกิดการรู้แจ้งเห็นจริงยิ่งขึ้น

9. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จจากการแสดงพระสัทธรรม

ธัมมเทสนามัย หรือ การแสดงธรรม คือการให้ธรรมะหรือข้อคิดที่ดี ๆ แก่ผู้อื่น ด้วยการนำธรรมะหรือเรื่องดีๆ ที่เป็นประโยชน์ไปบอกต่อ หรือให้คำแนะนำให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เช่น สอนวิธีการแก้ปัญหา สอนวิธีการทำงานให้ แนะหลักธรรมที่ดีในการดำเนินชีวิต

ผลที่ได้รับ ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และทำให้ผู้บอกกล่าวได้รับการยกย่องสรรเสริญอีกด้วย

ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จจากการแสดงพระสัทธรรม

ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จจากการแสดงพระสัทธรรม

ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จจากการแสดงพระสัทธรรม

10. ทิฏฐุชุกัมม์ ทำความเห็นให้ตรงถูกต้องตามความเป็นจริง

ทิฏฐุชุกัมม์ หรือ การทำความเห็นให้ถูกต้อง คือ การไม่ถือทิฐิ เอาแต่ความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ แต่ให้รู้จักแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น และความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ให้ถูกต้องตามธรรมอยู่เสมอ เป็นบุญข้อสุดท้ายที่สำคัญ เพราะไม่ว่าจะทำบุญใดทั้ง 9 ข้อที่กล่าวมา หากมิได้ตั้งอยู่ในทำนองครองธรรม การทำบุญนั้นก็ไม่บริสุทธิ์ และให้ผลได้ไม่เต็มที่ 

ผลที่ได้รับ ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม เป็นการพัฒนาปัญญาที่นำไปสู่การมีชีวิตที่ดีงาม 

อ่านข่าวอื่น

"ฟรีแลนซ์" รายได้ไม่แน่นอนแต่มีเงินออมเก็บเป็น "บำนาญ" ได้ 

4 สถานที่ทรงคุณค่า "แหล่งมรดกโลก" ที่ถูก UNESCO ถอดถอน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง