AI จ่ายยา-เอ็กซ์เรย์ แผนรับมือแก้ปัญหาผู้ป่วยล้น "รพ.รามาธิบดี"

สังคม
21 ก.พ. 67
13:46
409
Logo Thai PBS
AI จ่ายยา-เอ็กซ์เรย์ แผนรับมือแก้ปัญหาผู้ป่วยล้น "รพ.รามาธิบดี"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

60 ปีแล้ว ที่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหดิล ดูแลสุขภาพประชาชน จากปี 2508 จนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ หรือ การพัฒนาคุณมาตรฐานการรักษา การคิดค้นนวัตกรรม งานวิจัย ทางการแพทย์ เพื่อสุขภาพของคนไทย

หากเปรียบเทียบจากในอดีตจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ หรือ การพัฒนาคุณมาตรฐานการรักษา การคิดค้นนวัตกรรม งานวิจัย ทางการแพทย์ เพื่อสุขภาพของคนไทย

แต่ปี 2567 โลกแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาการ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial intelligence; AI)ได้ถูกนำมาใช้ในทุกวงการ โดยเฉพาะทางการแพทย์ เพื่อให้การรักษาและดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

"ล้น" รับผู้ป่วยนอกปีละ 3 ล้านคน 

ศ.คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์สุขภาพของคนไทยเปลี่ยนไปมาก นวัตกรรมการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

จำนวนผู้ป่วยนอก ที่เข้ารักษาตัวที่รพ.รามาธิบดี พญาไท พบว่ามีจำนวนถึง 3,000,000 คนต่อปี ส่วนผู้ป่วยในมีจำนวน 60,000 คนต่อปี ขณะที่รพ.รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ มีจำนวนผู้ป่วยนอก 300,000 คนต่อปี และผู้ป่วยใน 10,000 คนต่อปี

แม้ที่ผ่านมามาทางรพ.ได้ปรับรูปแบบการให้บริการ มีการเปิดคลินิกนอกเวลา และเปิดศูนย์บริการคลินิกพรีเมียม ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ ฯ แต่ปรากฏว่า จำนวนผู้ป่วยยังคงมากล้น ทำให้สังคมเกิดข้อกังขา และมีการตั้งคำถามว่า ศูนย์บริการทางการแพทย์พรีเมียม ให้การบริการที่สะดวกสบายและรวดเร็วได้จริงหรือไม่ เพราะผู้เข้ารับการรักษาก็ยังคงต้องเข้าคิวรอเหมือนเดิม

ศ.คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า ผู้ป่วย 1 คน ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลเฉลี่ย ต้องใช้เวลาการตรวจรักษา จนถึงการรับยา ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง และผู้ป่วยบางรายต้องใช้รอเวลานานถึง 6 ชั่วโมง เนื่องจากต้องมารอพบหมอแต่เช้า

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเป็นผู้สูงอายุ ไม่ได้ลุกเหินเดินนั่งสะดวกต้องมีลูกหลานพามา หรือ ในกรณีที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้ ก็จะถูกมาส่งตั้งแต่ช่วงเช้า และมารับกลับในช่วงเย็น ทางรพ.จึงจัดกิจกรรม เพื่อดึงดูถความสนใจและให้ผู้เข้ารับการรักษา รู้สึกเพลิดเพลิน เช่น การเล่นเปียโน มีเพลง ให้คนได้ฟัง เพื่อผ่อนคลาย ลดความกังวลในการรอ ทั้งรอหมอ รอลูกหลานมารับ

การลดปัญหาความแออัดในรพ. ที่ผ่านมา พยายามใช้ทุกแนวทาง ทั้งการสลับเวลา การลงตรวจคนไข้ของแพทย์ ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาคนไข้รอนาน ทั้งในห้องตรวจ และ ห้องยา รวมทั้งผลัดเวรให้แพทย์ลงตรวจ

เช่น แพทย์คนหนึ่งลงตรวจ 08.00 น. อีกคน ลง 09.00 น. อีกคนลง 10.00 น. ทยอยสลับกัน เพื่อให้คนไข้ไม่ต้องรอนาน และให้บริการรับยาทางไปรษณีย์ หรือ การเจาะเลือดที่บ้าน เพื่อไม่ให้ต้องมารอคิวเจาะเลือดนาน หรือ การใช้เทเลเมดิซีน ในการวิดิโอคลอ คุยกับแพทย์ลดการมาโรงพยาบาลซึ่งที่ผ่านมา มีการใช้ประมาณ 10 - 15%”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เครือข่ายหมอวอน สธ.ตั้ง Provider board หวั่นสปสช.ส่อทำรพ.เจ๊ง

"คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาฯ"จ่อใช้ AI จ่ายยา

นอกจากนี้ ยังมีนโยบายเพิ่มสัดส่วน จำนวนการรับบริการทางเทเลเมดิซีนเพิ่มมาก รวมทั้งการใช้แอพเพื่อนัดหมาย และแจ้งสถานะการรอคิวพบแพทย์ หรือ การรับจ่าย ช่วยให้การรับบริการง่าย โดยในเดือนพ.ค. 2567 ทางคณะแพทย์ศาสตร์จะเตรียมติดตั้ง AI จ่ายยา ในอาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 1 เนื่องจากพบว่า เป็นจุดที่มีผู้รับรอยามากที่สุด เฉลี่ย 1,000 คนต่อวัน

โดยขั้นตอนดังกล่าว จะตอบโจทย์บริการ หลังจากแพทย์ลงข้อมูลผู้ป่วย และบันทึกการจ่ายยาลงระบบคอมพิวเตอร์ ก็จะส่งมาให้ AI จัดยาได้ทันที โดยประสิทธิภาพและความสามารถของ AI จะใช้ได้ผลดี ในงานเอ็กซ์เรย์ และวิเคราะห์รูปถ่าย แต่ยังต้องพัฒนาเรื่องการวิเคราะห์ การอ่านการสื่อสาร

ศ.คลินิก นพ.อาทิตย์ อังกานนท์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้รพ.อยู่ระหว่างการก่อสร้างและขยายพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วย โดยจะมีการก่อสร้าง อาคารสูง 25 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 278,00 ตรม.จำนวน 1,000 เตียง มีห้องไอซียู 200 เตียง และ ห้องผ่าตัด 52 ห้อง และยังมีอุปกรณ์การแพทย์ อื่นๆ คาดใช้งบประมาณ 9,000 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างปลายปี 2567 คาดใช้เวลา 5-6 ปี จึงแล้วเสร็จ

โดยตึกใหม่จะอยู่บนเนื้อที่ขององค์การเภสัชกรรมปัจจุบัน ทั้งนี้ที่ผ่านมารพ.เปิดให้บริการผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ ระบบบัตรทอง หรือบัตร 30 บาทรักษาทุกโรค และสำนักงานประกันระบบสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ยังค้างหนี้รพ.รวมจำนวน 400 ล้านบาท ซึ่งหากไม่เร่งแก้ไข อาจส่งผลโครงการใหญ่ของโรงพยาบาลได้

นางสาวพรรณสิรี คุณากรไพบูลย์ศิริ ผู้จัดการมูลนิธิรามาธิบดี กล่าวว่า การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ ขาดแคลนทุนทรัพย์ ช่วยเหลือผู้ป่วยในโรคหายาก ถือ Soft Power และที่ผ่านมีผู้บริจาคเงินร่วมสร้างรพ. ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรายได้ระดับปานกลางโดยรพ.ใช้งบลงทุนก่อสร้างสูงถึง 9,000 ล้านบาท

แต่ปัจจุบันทางมูลนิธิฯจัดหาได้เพียง 1,000 ล้านบาท และยังต้องการเพิ่มอีก 8,000 ล้านบาท ผู้สนใจสามารถบริจาคผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ที่ https://www.ramafoundation.or.th/donation เพื่อความสะดวกให้กับผู้บริจาค

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เดินหน้าสร้างอาคารใหม่ รพ.รามาฯ รองรับสูงวัย-โรคซับซ้อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง