แจงรถไฟความเร็วสูงไม่กระทบ "มรดกโลกอยุธยา" ไม่เวนคืนที่ดิน

สังคม
23 ก.พ. 67
11:00
1,740
Logo Thai PBS
แจงรถไฟความเร็วสูงไม่กระทบ "มรดกโลกอยุธยา" ไม่เวนคืนที่ดิน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"คมนาคม" แจงรถไฟความเร็วสูงอยุธยาไม่กระทบมรดกโลก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ UNESCO แต่อยู่ห่างออกไป 1.5 กิโลเมตร ยันไม่มีการเวนคืนที่ดิน ชี้ทำรายงาน HIA ครั้งแรก

วันนี้ (23 ก.พ.2567) นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม กล่าวว่า รับมอบหมายจากนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม ให้เป็นผู้ชี้แจง ตอบกระทู้ถามแยกเฉพาะ เพื่อชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรในประเด็นปัญหาผลกระทบจากการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงพระนครศรีอยุธยา

ตามที่นายทวิวงศ์ โตทวิวงศ์ สส.พระนครศรีอยุธยา ตั้งกระทู้ถามแยกเฉพาะ ยืนยันว่าโครงการนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อมรดกโลก และกระทรวงคมนาคมมีแผนพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายสุรพงษ์ ชี้แจงว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (HIA) เพื่อลดข้อกังวลใจของ UNESCO และประชาชน ซึ่งไทยยังไม่เคยมีการจัดทำรายงาน HIA มาก่อน

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ตระหนักถึงความกังวลของประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อการเป็นมรดกโลก

ยืนยันว่าสถานีอยุธยาไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่มรดกโลก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ UNESCO แต่อยู่ห่างออกไป 1.5 กิโลเมตร และมีแม่น้ำป่าสักคั่นอยู่ ดังนั้นการขยายตัวของเมืองเข้าไปในเขตมรดกโลกจึงเป็นไปได้ยาก

อ่านข่าว “วิกฤตการเกิด” เรื่องกำเนิด ใครกำหนด ?

ยันไม่เวนคืนที่ดิน-ทำ HIA

นายสุรพงษ์ ได้ยกตัวอย่างเมืองมรดกโลกอื่น ๆ ที่มีสถานีรถไฟอยู่ใกล้ เช่น วัดโทจิ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น และมรดกโลกมหาวิหารโคโลญ ประเทศเยอรมนี เพื่อแสดงให้เห็นว่าสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา สามารถอยู่ร่วมกับมรดกโลกได้

ส่วนอธิบายถึงแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาที่มุ่งเน้นการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะรองรับผู้โดยสาร รวมทั้งพัฒนาเส้นทางรถสาธารณะ และปรับปรุงระบบขนส่งรูปแบบใหม่

โดยสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับประชาชนและนักท่องเที่ยว มีพื้นที่จอดรถ พื้นที่สีเขียว สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภูมิทัศน์รอบสถานีจะสวยงาม เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อรองรับประชาชนและนักท่องเที่ยว

โดยยืนยันว่าได้ดำเนินการศึกษาแนวทางปรับปรุงรูปแบบสถานี เพื่อลดผลกระทบต่อโบราณสถาน พร้อมทั้งดำเนินการตามผลการศึกษา ออกแบบรายละเอียด และมติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง โดยการพัฒนาพื้นที่สถานีอยุธยาถือเป็นการพัฒนาบนแนวเส้นทางเดิม ไม่ได้ทำการเวนคืนที่ดินแต่อย่างใด

ส่วนในกรณีประเด็นเรื่องทุนจากต่างประเทศ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า โครงการได้ดำเนินการจ้างโดยมีผู้รับจ้างเป็นบริษัทของไทย วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างส่วนใหญ่ล้วนมาจากไทย และมีคณะผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เข้าร่วมสังเกตการณ์อย่างโปร่งใส

โครงการรถไฟความเร็วสูงอยุธยาถือเป็นโครงการพัฒนาที่สำคัญต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ รัฐบาลมีแผนรองรับผลกระทบต่างๆ อย่างรอบคอบ และคำนึงถึงความโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน

อ่านข่าว

ไฟป่าลามเชิงดอยสุเทพใกล้บ้านป่าแหว่ง 17 พท.เหนือฝุ่นคลุม 

ขึ้นทางด่วนฟรี! หยุด 3 วัน มาฆบูชา รวม 60 ด่าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง