"นักข่าวอาชีพ" กับคุณค่าข่าว ยึดจริยธรรม-กฎหมาย

สังคม
5 มี.ค. 67
13:55
380
Logo Thai PBS
"นักข่าวอาชีพ" กับคุณค่าข่าว ยึดจริยธรรม-กฎหมาย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ความแตกต่างของนักข่าวอดีต-ปัจจุบัน ภายใต้หลักจริยธรรม กรอบกฎหมาย ที่ต้องยึดถือ กับการสร้างคุณค่าข่าวให้เป็น "นักข่าวอาชีพ" ไม่ใช่เพียง "อาชีพนักข่าว" ในมุมมองของ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2498 หรือเมื่อ 48 ปีที่แล้วนักข่าวหลายท่านได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย จนทำให้ทุกวันที่ 5 มีนาคมของทุกปี กลายเป็นวันนักข่าว หรือ วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติในประเทศไทย

วันนี้ (5 มี.ค.2567) นายสุปัน รักเชื้อ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เปิดเผยถึงมุมมองเนื่องในวันนักข่าว ถึงความแตกต่างระหว่างนักข่าวในอดีตและปัจจุบัน โดยมองว่านักข่าวรุ่นใหม่ยังขาดการค้นคว้าและศึกษาเพิ่มเติมของเนื้อหาข่าว อาจจะเนื่องจากกระบวนของบางกองบรรณาธิการก็ไม่สามารถอธิบายข่าวที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด

สุปัน รักเชื้อ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สุปัน รักเชื้อ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สุปัน รักเชื้อ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

การทำข่าวในปัจจุบัน นักข่าวต้องสนใจสถานการณ์ข่าวในแต่ละวัน ต้องจับประเด็นให้ได้ หลายคนเป็นห่วงนักข่าวรุ่นใหม่เรื่องของการจับประเด็นไม่ได้ รอการป้อนจากกองบรรณาธิการ ซึ่งเมื่อไม่มีประเด็นข่าวก็ไม่สามารถจะซักถามโต้แย้งกับแหล่งข่าวได้ ทำให้กลายเป็นเพียงกระบอกเสียงนำเสนอข่าว

นักข่าวจึงควรฝึกฝนตัวเอง ให้เป็นนักข่าวอาชีพ ไม่ใช่เพียงอาชีพนักข่าว 

อ่านข่าว : "วันนักข่าว" 5 มีนาคม ประวัติความเป็นมา

แม้ว่าทุกวันนี้ หลายคนยังมองว่าใครๆ ก็สามารถเป็นนักข่าวได้ เพียงมีมือถือ และพื้นที่บนโลกออนไลน์ อาจจะใช่แค่ส่วนหนึ่ง ที่สามารถสื่อสารเหตุการณ์ที่พบเห็นได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของนิยามคำว่าสื่อ ซึ่งหัวใจของความเป็นสื่อนั้น คือข้อเท็จจริงของข่าว สิ่งที่นำเสนอต้องไม่ไปละเมิด ก้าวล่วง บุคคลอื่น สื่อหลักนำประเด็นจากสื่อโซเชียลต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงถึงที่มาที่ไปให้รอบด้าน และสื่อสารออกไปทั้งในมุมที่เหมือนและแตกต่างกัน 

จุดเด่นของสื่อรุ่นใหม่ในปัจจุบัน มีความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งจะแตกต่างจากสื่อรุ่นเก่าที่ไม่มีความเท่าทันเทคโนโลยี แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะนำความเชี่ยวชาญเหล่านั้นมารองรับในการทำงานในหน้าที่สื่ออย่างไรเพื่อสร้างคุณค่าของข่าว ควบคู่กับการยึดหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ

อ่านข่าว : รอบด้าน ชัดเจน โจทย์ใหญ่คนข่าว

ทั้งนี้สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มีบทบาทในการดูแลจริยธรรมของสื่อต่างๆ เป็นการดูแลกำกับกันเอง โดยจะสื่อสารทางสำนักต่างๆ ที่เป็นสมาชิก ถึงทิศทางของข่าว รวมถึงการนำเสนอข่าวของแต่ละสถานการณ์ ซึ่งยอมรับว่าบางครั้งอาจจะมีปัญหา เนื่องจากแต่ละสื่อไม่สามารถสื่อสารไปถึงตัวนักข่าวได้ทั้งหมด อาจจะเป็นเพราะเรื่องกรอบเวลา หรือนโยบายของแต่ละสื่อเอง ซึ่งมีการตั้งคำถามของการนำเสนอของสื่อในปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งได้ว่าได้รับการร่วมมือจากสื่อแต่ละแห่งเป็นอย่างดี โดยปัจจุบันมีสื่อๆ ที่เป็นสมาชิกประมาณ 20 แห่ง ทั้งวิทยุ โทรศัพท์ รวมไปถึงเคเบิล

ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ยังกล่าวให้กำลังใจสื่อมวลชนทุกคนที่มุ่งมั่นทำข่าวที่สะท้อนข้อเท็จจริงให้สังคมได้รับทราบ ภายใต้หลักจริยธรรมและกรอบของกฎหมาย พร้อมฝากไปถึงสื่อสิ่งที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันคือการสร้างความน่าเชื่อถือของข่าวสาร

ทุกข่าวอาจจะไม่ได้สร้างพึงพอใจให้กับทุกคนได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยอยากให้รู้ว่าสิ่งที่กระทำไปบนสำนึกความถูกต้องมีคุณค่าอยู่ในตัว
แม้จะต้องเจอกับแรงเสียดทานในสังคม และให้รำลึกอยู่เสมอว่าได้ทำในนั้นยึดโยงอยู่กับจริยธรรมและกรอบกฎหมาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง