ภารกิจ ASIA-AQ ส่งท้ายก่อนปลดประจำการ "แล็บลอยฟ้า" DC-8

ไลฟ์สไตล์
18 มี.ค. 67
15:25
458
Logo Thai PBS
ภารกิจ ASIA-AQ ส่งท้ายก่อนปลดประจำการ "แล็บลอยฟ้า" DC-8
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การพยากรณ์คุณภาพอากาศ อาศัยการอ่านค่าจากสถานีภาคพื้นดินและดาวเทียม แต่ทั้ง 2 วิธีมีข้อจำกัดเรื่องการแพร่กระจายมลพิษในอากาศ การเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องบิน จะช่วยตีความข้อมูลและนำไปสู่การพยากรณ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น นั่นคือที่มาภารกิจ ASIA-AQ ของ NASA

เรียกว่าช่วงนี้ในแวดวงอวกาศและสาวกนาซาในไทยต้องตื่นตาตื่นใจที่ได้เห็นโลโก้ NASA ที่ปลายหาง Douglas DC-8-72 (DC-8) และ Gulfstream C-20A (G-III) เครื่องบิน 2 ลำที่บินวนโฉบขึ้นและลงตามสนามบินของประเทศไทยตอนบน

DC-8 มีเส้นทางการบินรวม 8 ชั่วโมง/เที่ยว วิ่งขึ้นจากสนามบินอู่ตะเภา แล้วบินขึ้นไปทางทิศเหนือ ร่อนลงที่รันเวย์สนามบินดอนเมือง แล้ววนขึ้นไปยังสุโขทัย และ เชียงใหม่ จากนั้นเชิดหัวกลับ มุ่งหน้าไปทางตะวันออกของประเทศไทยที่ จ.แพร่ และบินมุ่งหน้าลงทางใต้ที่เพชรบูรณ์ ผ่านดอนเมืองอีกครั้ง ก่อนกลับไปที่อู่ตะเภา จะบินวนเส้นทางนี้ทั้งหมด 2-3 รอบ/วัน ก่อนจะจอดนอนปิดภารกิจช่วงเย็นที่อู่ตะเภา

เส้นทางการบินของ DC-8-72 NASA817

เส้นทางการบินของ DC-8-72 NASA817

เส้นทางการบินของ DC-8-72 NASA817

ส่วน G-III วิ่งขึ้นจากสนามบินอู่ตะเภาเช่นกัน แต่แผนการบินจะบินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบริเวณเหนือท้องฟ้า ชลบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม สมุทรปราการ ปทุมธานี และ พระนครศรีอยุธยา ด้วยความสูงประมาณ 27,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 

เส้นทางการบินของ G-III NASA520

เส้นทางการบินของ G-III NASA520

เส้นทางการบินของ G-III NASA520

ทั้ง 2 ลำมาปฏิบัติภารกิจที่ชื่อว่า ASIA-AQ หรือ The Airborne and Satellite Investigation of Asian Air Quality เก็บตัวอย่างข้อมูลคุณภาพอากาศ เพื่อนำไปศึกษาและหาแนวทางป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศ มีแผนปฏิบัติการทั้งสิ้น 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 16-26 มี.ค.2567 ภารกิจนี้เป็นภารกิจระหว่างองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA), 5 พันธมิตรร่วม คือ ไทย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และ มาเลเซีย, GISTDA  และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ที่มา ASIA-AQ 

เป็นความร่วมมือระหว่าง NASA และรัฐบาลในภูมิภาคที่มีอัตราคนเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลก ซึ่งก็คือเอเชีย เริ่มต้นบินจากเกาหลีใต้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ใช้เครื่องบิน 2 ลำ บินในบริเวณที่มีปัญหาฝุ่นมลพิษเพื่อเก็บตัวอย่างฝุ่นในแต่ละชั้นความสูง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลฝุ่นที่ได้จากดาวเทียม และ สถานีภาคพื้น เพื่อทำความเข้าใจเฉพาะเกี่ยวกับปัญหาคุณภาพอากาศในท้องถิ่นนั้นๆ และสร้างแบบจำลองคุณภาพอากาศ

ห้องแล็บลอยฟ้าในเครื่องบิน DC-8 ที่บินเข้ามาที่ไทยจะประเมินการปล่อยก๊าซและมลพิษในช่วงฤดูฝุ่น PM หนาแน่น โดยจะสุ่มเก็บตัวอย่างฝุ่นจากบริเวณทางตอนเหนือของประเทศไทย ที่เป็นฝุ่นมาจากการทำเกษตรกรรม ส่วนพื้นที่ภาคกลาง ปัญหาฝุ่นมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของการจราจร ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่ทางประเทศไทยจะสามารถใช้ข้อมูลจาก NASA นำมาวิเคราะห์ หาแนวทางป้องกันฝุ่นในประเทศได้ แต่ผลการวิเคราะห์ทั้งหมดจะเปิดเผยในอีก 1 ปีข้างหน้า 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ถ้าจะพูดให้ง่ายขึ้น โดยปกติการพยากรณ์คุณภาพอากาศจะใช้สถานีเก็บข้อมูล 2 ทางคือ ดาวเทียมและภาคพื้น ทำให้ได้ข้อมูลในระยะที่มองจากด้านบนสุดลงมา และข้อมูลจากด้านล่างขึ้นไป เท่านั้น ทำให้มีข้อจำกัดหลายอย่างที่ทำให้การพยากรณ์คุณภาพอากาศคลาดเคลื่อนได้ การใช้เครื่องบินเข้ามาบินเก็บตัวอย่างฝุ่นในช่วงกลาง จะทำให้ได้ข้อมูลมากขึ้นว่ามลพิษแพร่กระจายในอากาศอย่างไร

"Battleship Eight" แล็บลอยฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก

1 ในสิ่งที่น่าประทับใจในภารกิจ ASIA-AQ คือเครื่องบินไอพ่น 4 เครื่องยนต์ ขนาดลำตัวแคบหรือ Narrow body aircraft ที่ถูกดัดแปลงด้านในเป็นห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพอากาศมาใช้ในภารกิจนี้ เครื่องบินลำนี้สามารถบินได้ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 1,000-42,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเล ได้นานถึง 12 ชั่วโมง แม้ภารกิจจะใช้เวลาเฉลี่ย 6-10 ชั่วโมงก็ตาม นอกจากนี้ DC-8 สามารถบรรทุกเครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้ 30,000 ปอนด์ หรือประมาณ 14 ตัน และสามารถรองรับนักวิจัยและลูกเรือได้สูงสุด 45 คน ชั่วโมงบินนับจนถึงปี 2022 จำนวน 52,700 ชั่วโมง

ที่มา : Ratchapon Nut Pipitsombat

ที่มา : Ratchapon Nut Pipitsombat

ที่มา : Ratchapon Nut Pipitsombat

Douglas DC-8 หรือชื่อเล่นที่เรียกกัน "The Battleship Eight" ในวงการการบินอาจต้องเรียก "คุณปู่" แล้ว เพราะผลิตเสร็จตั้งแต่ปี 1969 และเข้าประจำฝูงบิน NASA ในส่วนศูนย์วิจัยการบินอาร์มสตรอง ในปี 1985 ถ้านับอายุคุณปู่ก็ 55 ปีแล้ว และทำงานให้ NASA ในฐานะห้องปฏิบัติการคุณภาพอากาศ 39 ปี 

ภายในเครื่องบิน DC-8

ภายในเครื่องบิน DC-8

ภายในเครื่องบิน DC-8

ฝูงบินนี้มีเครื่องบินจำนวน 5 ลำ รวมถึง DC-8 และโบอิง 747SP ที่ถูกดัดแปลงให้เป็นห้องแล็บปฏิบัติการ พัฒนาเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ผ่านการบิน มีภารกิจมากมายตั้งแต่การตรวจสอบแผนการสำรวจอวกาศ การสำรวจอากาศ การศึกษาทางนิเวศวิทยา ภูมิศาสตร์ เคมี-วิทยาศาสตร์ชั้นบรรยากาศโลก

นักบินผู้ควบคุมอากาศยาน DC-8

นักบินผู้ควบคุมอากาศยาน DC-8

นักบินผู้ควบคุมอากาศยาน DC-8

 

ภารกิจ ASIA-AQ ในภูมิภาคเอเชียนี้ นับเป็นภารกิจส่งท้ายก่อนที่คุณปู่ DC-8 จะถูกปลดประจำการ และถูกแทนที่ด้วย B777-200ER 

อ่านข่าวอื่น :

"เพื่อไทย" ตั้งทีมรับฝ่ายค้านซักฟอกปม "ทักษิณป่วย"

เตือนคนไทยเที่ยวญี่ปุ่น "โรคหัด" ระบาดนครโอซากา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง