ชาวสวนระยองกังวล "น้ำแล้ง" กระทบผลผลิตทุเรียนลด 10%

สิ่งแวดล้อม
27 มี.ค. 67
12:05
321
Logo Thai PBS
ชาวสวนระยองกังวล "น้ำแล้ง" กระทบผลผลิตทุเรียนลด 10%
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สำรวจผลกระทบ "ภัยแล้ง" ชาวสวนทุเรียน และสวนผลไม้บ้านหนองจำรุง จ.ระยอง ตั้งรับสถานการณ์น้ำน้อย อ่างเก็บน้ำประแสร์มีใช้ 58% ห่วงขาดน้ำทำผลผลิตลด 10%

ทุเรียนพันธุ์ชะนี ที่มีลูกห้อยระย้าแทบจะทุกกิ่ง แค่ต้นเดียวมีลูกดกเกือบ 100 ลูก เป็นผลผลิตที่เกษตรกรหนุ่ม “เต่า” ชลทิศ รัตนพงศ์ เจ้าของสวนรุ่น 2 แห่งบ้านจำรุง ต.เนินฆ้อ อ.แกลง จ.ระยอง ฟูมฟักมาแล้วเกือบ 50 วัน และรอคอยเก็บเกี่ยวผลผลผลิตในอีก 1 เดือนข้างหน้า

แม้จะมีความกังวลกับปริมาณน้ำในช่วงหน้าแล้ง ที่อาจส่งผลผลิตให้ทุเรียนลดลงเกือบ 10% เนื่องจากทุเรียนในช่วงออกลูกต้องการน้ำแทบจะวันเว้นวัน เกษตรกรจึงต้องต่อระบบน้ำเข้ามารดให้เกิดความชุ่มชื้น

ชลทิศ รัตนพงศ์ เจ้าของสวนรุ่น 2 แห่งบ้านจำรุง จ.ระยอง

ชลทิศ รัตนพงศ์ เจ้าของสวนรุ่น 2 แห่งบ้านจำรุง จ.ระยอง

ชลทิศ รัตนพงศ์ เจ้าของสวนรุ่น 2 แห่งบ้านจำรุง จ.ระยอง

สวนทุเรียนพื้นที่ 4 ไร่ ถูกปรับแต่งดูแลไม่ให้รก แต่ละต้นมีอายุ 3-7 ปีผสมผสานระหว่างทุเรียนพันธุ์ชะนี หมอนทอง กระดุม ใต้ต้นจะมีท่อน้ำประปา และหัวฉีดพ่นน้ำเลี้ยง เพราะฤดูแล้งช่วง มี.ค.-เม.ย.ถือเป็นช่วงออกผลของทุเรียนจะขาดน้ำไม่ได้ เพราะหมายถึงคุณภาพของเนื้อทุเรียน

น้ำแล้ง-ทุเรียนออกผลผลิต

ชลทิศ บอกว่า ปีนี้ผลผลิตไม่ค่อยดีได้ลูกแค่ 60-70% เพราะขึ้นกับสภาพอากาศเป็นหลัก ตอนนี้ลูกทุเรียนอายุ 60 วันแล้ว ถ้าเป็นหมอนทอง 120 วัน ส่วนกระดุม 90 วัน ตอนนี้เพิ่งผ่านมา 60 วันแล้ว ตอนนี้ลุ้นว่าจะไม่เจอปัญหาขาดน้ำ เพราะหมายถึงเงินที่จะหายไป

กังวลนิด ๆ ไม่รู้ว่าน้ำต้นทางจะเป็นอย่างไร เราอยู่แค่ปลายทาง เพราะสวนทุเรียนในช่วงขยายลูก ต้องการน้ำมาก บางสวนก็รดน้ำทุกวัน หรือวันเว้นวัน
สวนทุเรียนพื้นที่ 4 ไร่ ถูกปรับแต่งดูแลไม่ให้รก แต่ละต้นมีอายุ 3-7 ปีผสมผสานระหว่างทุเรียนพันธุ์ชะนี หมอนทอง กระดุม

สวนทุเรียนพื้นที่ 4 ไร่ ถูกปรับแต่งดูแลไม่ให้รก แต่ละต้นมีอายุ 3-7 ปีผสมผสานระหว่างทุเรียนพันธุ์ชะนี หมอนทอง กระดุม

สวนทุเรียนพื้นที่ 4 ไร่ ถูกปรับแต่งดูแลไม่ให้รก แต่ละต้นมีอายุ 3-7 ปีผสมผสานระหว่างทุเรียนพันธุ์ชะนี หมอนทอง กระดุม

เขาบอกว่า แม้จะยังไม่เจอภัยแล้ง แต่ปีนี้ดูจากสภาพอากาศ และข้อมูลที่รัฐเตือนว่าจะมีอากาศที่ร้อน และแล้งมากกว่าปีก่อน ๆ ถ้าไม่มีน้ำจากอ่างเก็บน้ำมาป้อน ก็อาจเกิดปัญหาได้ ที่สวนเตรียมดูดน้ำจากอ่างเก็บน้ำหนองจำรุงมาเพิ่มไว้ หากน้ำน้อย ถึงจะใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์มาแบ่งให้ชุมชน

ส่วนใหญ่ชาวสวนทุเรียนของบ้านหนองจำรุง ต้องเจาะบ่อบาดาลรองรับไว้ บางสวนจะขุดบ่อน้ำลึก 10 เมตรไว้เป็นแหล่งสำรอง ส่วนตัวเองวางแผนไว้เหมือนกัน ถ้าปีหน้ายังมีปัญหาน้ำไม่เพียงพอ ก็คงต้องเจาะบ่อบาดาล

ในมุมของชาวสวน อยากให้ผ่านพ้นหน้าแล้ง และทุเรียนราคาดี เพราะหลายสวนใช้ต้นทุนสูงกว่าปีอื่น ๆ จากปัจจัยสภาพอากาศ ต้องสู้กับแมลง และน้ำก็มีส่วน ทุกอย่างถือเป็นต้นทุนหมด

เขาบอกว่า ปีนี้ประเมินว่าสวนทุเรียน 4 ไร่ของเขาอาจได้ผลผลิตถึง 10 ตัน บางส่วนจะขายให้กับล้งทุเรียน และบางส่วนขายเองในชุมชน ซึ่งจุดเด่นของทุเรียนบ้านหนองจำรุง คืออร่อยและดีทุกสวนแน่นอน

บทเรียนน้ำแห้ง-ยอมจ่ายค่าไฟสูบน้ำ

สอดคล้องกับคำบอกเล่าของ ศักดา ทรัพย์สม ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาดูงานบ้านจำรุง ยอมรับว่า แอบกังวลถึงคำเตือนสถานการณ์ภัยแล้งปีนี้ แม้ชุมชนแห่งนี้จะมี “หนองจำรุง” แหล่งน้ำสาธารณะพื้นที่ 16 ไร่ ที่ผลิตน้ำประปาให้กว่า 200 ครัวเรือนด้วยระบบไฟฟ้า และสูบน้ำเข้าเรือกสวนผลไม้มาหลายปี

จากที่เคยมีบทเรียนในอดีตเมื่อ 30 ปีก่อน หลังเกษตรกรบ้านจำรุง พากันเปลี่ยนไปเป็นสวนยางพารา เพราะยางราคาดี แต่พอทุเรียนราคาดี ก็ตัดยางออก ซึ่งทุเรียนแต่ละชนิดใช้น้ำเยอะ 

ักดา ทรัพย์สม ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาดูงานบ้านจำรุง

ักดา ทรัพย์สม ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาดูงานบ้านจำรุง

ักดา ทรัพย์สม ที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาดูงานบ้านจำรุง

โดยเฉพาะในช่วงแล้งทุเรียน และผลไม้หน้าร้อนหลายชนิด ทั้งมังคุด เงาะ ลองกอง ฝรั่ง ชมพู่ สละต้องการน้ำมาก แต่ละสวนต้องมีแหล่งน้ำเสริมของตัวเองทั้งขุดเจาะบ่อบาดาล และบ่อขุด

ศักดา ประเมินว่า ตอนนี้อ่างเก็บน้ำประแสร์ ยังมีปริมาณน้ำพอที่จะแบ่งปันให้สูบมาถึงชาวสวนผลไม้ใน อ.แกลง แต่หากน้ำในอ่างเหลือน้อย และต้องขายน้ำให้กับอิสวอเตอร์ แม้จะมีเงิน แต่หากไม่สูบน้ำให้ปัญหาความเสียหายเกิดแน่นอน พร้อมตั้งคำถามต้นทุนแพง ทุเรียนแพงคนไทยจะได้กินทุเรียนราคาถูกหรือไม่

ตอนนี้ยังไม่ถึงกับแย่งน้ำกัน แต่หลายปีเมื่อน้ำไม่เพียงพอ ชาวสวนจะเจรจากันว่าถ้าจะเอาน้ำเข้าสวนทุเรียน ต้องรวมกันจ่ายค่าไฟ เพื่อป้อนน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ และลงขันค่าไฟกันเป็นชั่วโมง

แพหัวบวบ-สูบน้ำเข้าสวน 

สำหรับหนองจำรุง เป็นแหล่งน้ำขนาด 16 ไร่ลึก 10 เมตรคอยหล่อเลี้ยงชาวบ้านมานานหลายปี เข้าหน้าแล้งมาเกือบ 2 เดือน ชาวบ้านบอกว่า ระดับน้ำในหนองจำรุงเหลือปริมาณ 50% ยังรองรับกับพื้นที่เกษตรจนถึงช่วงฝนมา   

ริมอ่างจึงมีแพหัวบวบนับ 10 จุด เรียงรายรอบๆ บ่อ เพื่อต่อปั้มเข้าสวน แต่ละสวน โดยจะสลับกันสูบน้ำเข้าสวนวันเว้นวัน ส่วนระบบประปาหมู่บ้าน จะใช้ระบบโซลาเซลล์ปั้มน้ำไปเติมในบ่อพัก ทำให้ชุมชนแห่งนี้ จึงไม่ประสบขาดแคลนน้ำเหมือนกับพื้นที่อื่น

ข้อมูลจากกรมชลประทาน รายงานอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง ล่าสุดมีปริมาณน้ำเก็บกัก 295 ล้านลบ.ม.คิดเป็นปริมาณ 58% หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของเดือนมี.ค.2566 มีปริมาณน้ำ 75% โดยมีพื้นที่ชลประทานฝัะ่งซ้ายและฝั่งขวารวมกัน 137,000 ไร่

หนองจำรุง 16 ไร่แหล่งน้ำของชุมชน มีแพหัวบวบนับ 10 จุด เรียงรายรอบๆ บ่อ เพื่อต่อปั้มเข้าสวนผลไม้

หนองจำรุง 16 ไร่แหล่งน้ำของชุมชน มีแพหัวบวบนับ 10 จุด เรียงรายรอบๆ บ่อ เพื่อต่อปั้มเข้าสวนผลไม้

หนองจำรุง 16 ไร่แหล่งน้ำของชุมชน มีแพหัวบวบนับ 10 จุด เรียงรายรอบๆ บ่อ เพื่อต่อปั้มเข้าสวนผลไม้

ผลผลิตจากสวน ขายในชุมชนลดรายจ่าย

ไม่เพียงแต่การรอดจากปัญหาภัยแล้ง หลังชาวบ้านหนองจำรุง ร่วมใจกันปรับจูนชุมชนให้พึ่งพาตัวเอง โดยการปลูก และแปรรูปผลผลิตภายในสวนหลังบ้าน เพื่อสร้างรายได้ และลดรายจ่ายมานานกว่า 30 ปี 

เช่น ป้ากรองแก้ว ขันสนิท บอกว่า ทำน้ำพริกกากหมู น้ำพริกกุ้ง น้ำพริกปลาหมึก รวมกว่า 5-6 ชนิดผลิตสดใหม่วันต่อวันมาขายให้เพื่อนๆ ในชุมชน และคนที่มาได้กินของฝากที่อร่อย สะอาดและราคาไม่แพง 35 บาทเท่านั้น

วันนี้บริเวณศูนย์ศึกษาดูงานบ้านจำรุง ผู้เฒ่าผู้แก่ และชาวบ้าน จึงจะนำผลผลิตของตัวเองที่มีในสวน และในครัวมาวางที่จุดจำหน่ายสินค้า มีทั้งน้ำพริกกากหมู น้ำพริกกุ้ง ของทะเลแปรรูปแห้ง ชมพู่ ฝรั่งไส้แดง สละพันธุ์สุมาลี ทุเรียนทอดกรอบ มาขายในราคาจับต้องได้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง