เศรษฐกิจโตต่ำ กกร.คงเป้า GDP ไทย จี้รัฐบาลรับมือ เร่งเบิกจ่ายงบ

เศรษฐกิจ
3 เม.ย. 67
16:39
364
Logo Thai PBS
เศรษฐกิจโตต่ำ กกร.คงเป้า GDP ไทย จี้รัฐบาลรับมือ เร่งเบิกจ่ายงบ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กกร.รับปัญหาภูมิรัฐศาสตร์แนวโน้มรุนแรง จี้รัฐเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ กระตุ้นเศรษฐกิจ ลดดอกเบี้ย รับมือเศรษฐกิจโตต่ำพร้อมคงเป้าGDP ที่ 2.8-3.3 %

วันนี้ (3 เม.ย.2567) นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงสูง กกร.ยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ที่ 2.8-3.3% และคาดการณ์การส่งออกที่ขยายตัวได้ 2-3% และคงเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 0.7-1.2%

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

เศรษฐกิจยังมีความเสี่ยงสูง และด้วยข้อจำกัดเชิงโครงสร้างของไทย จึงทำให้การส่งออกฟื้นตัวได้ช้าและไม่ทั่วถึง รวมถึงอุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ

ดังนั้น เศรษฐกิจไทยจึงต้องการแรงกระตุ้นเพิ่มเติมจากทั้งนโยบายการคลังในการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและมาตรการกระตุ้นอื่น ๆ และนโยบายการเงินซึ่งจะเป็นในรูปของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะช่วยลดภาระทางการเงินให้กับภาคครัวเรือนและธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

นายเกรียงไกร กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงเติบโตได้ต่ำลง จากปัญหาเชิงโครงสร้างที่กระทบต่อการผลิตและการส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีขนาด 1 ใน 4 ของเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับปัญหาและไม่สามารถส่งออกได้เต็มศักยภาพ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยหลายรายการ เช่น รถยนต์สันดาป Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์พลาสติก ชะลอตัวลงจากปัจจัยทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ขณะที่ สินค้าที่ส่งออกได้ดีเป็นสินค้าที่มีความซับซ้อนต่ำ เช่น ยางรถยนต์ และเนื้อสัตว์แปรรูป นอกจากนี้สินค้าบางประเภทเผชิญกับการแข่งขันจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นภาคการผลิตไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลง และบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

สำหรับสัญญาณเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯยังมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง และเศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณบวกที่หนุนการทยอยฟื้นตัว ซึ่งส่งผลดีต่อภาคการส่งออก

นอกจากนี้ทิศทางนโยบายการเงินของ ประเทศหลัก เช่น อังกฤษ และยุโรป มีแนวโน้มที่จะลดดอกเบี้ยเพื่อประคองการฟันตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจไม่ได้รีบลดดอกเบี้ยเร็วและแรงเหมือนที่นักวิเคราะห์เคยคาดไว้ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีทิศทางผันผวนอ่อนค่า

สงครามระหว่างประทศ

สงครามระหว่างประทศ

สงครามระหว่างประทศ

ประธานกรร.ยังกล่าวถึง ปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้นในระยะข้างหน้า โดยประเทศที่แบ่งขั้วชัดเจนจะหันมาค้ากับประเทศที่มีจุดยืนทางภูมิรัฐศาสตร์ไม่ขัดแย้งกัน ดังนั้นไทยจะต้องหาโอกาสสร้างความได้เปรียบทางการค้า ขณะเดียวกัน เสนอให้รัฐบาลพิจารณาเพิ่มกลไกในการสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อสร้างฐานข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาสินเชื่อตามกลไกตลาด

อย่างไรก็ดี การที่รัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาทุ่มตลาดในประเทศไทย ซึ่งกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการซื้อสินคำนำเข้าออนไลน์ที่ไม่เกิน 1,500 บาท เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการแข่งขันของผู้ประกอบการภายในประเทศเพื่อให้เกิดการบรูณาการในการแก้ไขสินค้าไม่มีคุณภาพทั้งระบบ

แต่ทั้งนี้ ภาครัฐควรพิจารณาปรับเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์เขตปลอดอากร หรือ ฟรีโซนรวมทั้งเพิ่มความเข้มงวดการตรวจจับสินค้าสำแดงเท็จที่นำเข้าผ่านด่านศุลกากร โดยสนับสนุนเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสแกนสินค้า

ปัจจุบันมีการสุ่มตรวจเพียง 30% ของรายการสินค้านำเข้าเท่านั้น ดังนั้นอยากให้รัฐบาลพิจารณาเพิ่มอัตราการสุ่มตรวจให้เป็นอย่างน้อย 70% หรือถ้าทำได้ 100% ก็จะเป็นเรื่องที่ดี

ทั้งนี้ ปัญหาสินค้าด้อยคุณภาพที่เข้ามาในไทยนั่น ได้ส่งผลกระทบกับมากกว่า 20 กลุ่มอุตสาหกรรม จากทั้งหมด 46 อุตสาหกรรมแล้ว ขณะเดียวกัน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เมื่อเดือนก.พ. 2567 ก็มีหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ซึ่งสะท้อนว่าการผลิตสินค้าในประเทศจะลดลงเรื่อย

หากปล่อยไว้ จะกลายเป็นผู้ประกอบการเลือกปิดไลน์การผลิต และจะหันไปนำเข้าสินค้าแทน โดยเฉพาะในกลุ่มเอสเอ็มอี
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า กกร.ตระหนักถึงปัญหาของผู้ประกอบขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่มีศักยภาพแต่ยังเข้าไม่ถึงสินเชื่อในระบบ เสนอให้รัฐบาลพิจารณาเพิ่มกลไกในการสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้ามาอยู่ในระบบ เพื่อสร้าง ฐานข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาสินเชื่อตามกลไกตลาด

โดยส่งเสริมให้จดทะเบียนนิติบุคคล โดยยกเว้นการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ 5-7 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการปรับตัวพร้อมปรับเงื่อนไขและเพิ่มทรัพยากรช่องบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเกิดความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเช้าถึงสินเชื่อในระบบได้มากขึ้น

ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลพบว่า มีธุรกิจอยู่นอกระบบมากถึง 50% ของธุรกิจทั้งหมด โดยส่วนใหญ่เป็นSและM ทำให้ธุรกิจกลุ่มไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะประกอบการพิจารณาสินเชื่อ ทำให้เข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งที่ผ่านมาทางรัฐบาลก็มีมาตรการเปิดให้ผู้ประกอบการมาลงทะเบียนในระบบแล้ว แต่กระบวนการอาจต้องใช้เวลา ดังนั้น รัฐบาลควรมีการทำมาตรการผ่อนปรน เช่น ยกเว้นภาษี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีเวลาปรับตัว

สำหรับกรณีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีการประชุมวันที่ 10 เม.ย. 2567 คงต้องติดตามว่า กนง.จะมีมติลดดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้เลยหรือไม่ ในส่วนของตลาด มองว่าในปีนี้ กนง.จะลดดอกเบี้ยลง 2 ครั้ง รวมลดลงประมาณ 0.5%

 อ่านข่าวอื่นๆ:

อัปเดต "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" เดือนเมษายน 2567 จ่ายอะไรบ้าง

เศรษฐกิจไทยฟื้น นักธุรกิจยื่นจดทะเบียนเปิดบริษัทใหม่ 2.5 หมื่นราย

พุ่งติดจรวด ! ราคาทองเหลืออีก 250 บาท ทะลุบาทละ 40,000

ข่าวที่เกี่ยวข้อง