ทาหรือฉีด ? แพทย์ผิวหนังเคลียร์ชัด! ตัวช่วยผิวอิ่มน้ำ "ไฮยาลูรอน"

ไลฟ์สไตล์
17 เม.ย. 67
15:38
433
Logo Thai PBS
ทาหรือฉีด ? แพทย์ผิวหนังเคลียร์ชัด! ตัวช่วยผิวอิ่มน้ำ "ไฮยาลูรอน"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
แพทย์สถาบันโรคผิวหนังตอบชัด "ไฮยาลูรอน" ต้องทาหรือฉีด จึงได้ผลดี ? พร้อมไขข้อสงสัยหลังดรามาเลือกใช้ระหว่างไฮยา หรือ เรตินอล ชี้สารทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างกัน

วันนี้ (17 เม.ย.2567) กลายเป็นประเด็นดรามาของการใช้สกินแคร์กลุ่ม Active ingredient หรือส่วนผสมที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ออกฤทธิ์แบบแก้ปัญหาตรงจุด อย่างการใช้เซรั่มไฮยาลูรอน (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ออกฤทธิ์ให้ความชุ่มชื่น ช่วยผิวอิ่มน้ำ ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เมื่อนำมาทาแล้วไม่ได้ผล หากต้องการผลดีควรฉีดเท่านั้น

พญ.ศศธร สิงห์ทอง นายแพทย์ชำนาญการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้ข้อมูลว่า "ไฮยา" เป็นโมเลกุลของน้ำตาลชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ซึ่งเป็นส่วนประกอบต่างๆ ของเนื้อเยื่อในร่างกายอยู่แล้ว ทั้งผิวหนัง ข้อต่อ อย่างคนที่เป็นข้อเสื่อม ก็เพราะไฮยาในข้อเข่าลดลง

พญ.ศศธร สิงห์ทอง นายแพทย์ชำนาญการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์

พญ.ศศธร สิงห์ทอง นายแพทย์ชำนาญการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์

พญ.ศศธร สิงห์ทอง นายแพทย์ชำนาญการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์

เมื่อถามว่า ไฮยาจะได้ผล จำเป็นต้องฉีดเท่านั้นหรือไม่ คำตอบคือ ไฮยา หรือ ไฮยาลูรอน คือ ไฮยาลูโรนิก แอซิด มีทั้งรูปแบบเครื่องสำอางชนิดทาและเครื่องมือแพทย์สำหรับฉีด โดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป หากเป็นชนิดทา มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ปกป้องผิว โดยขนาดของโมเลกุลไฮยาที่มีหน่วยเรียกว่า kDa (กิโลดาลตัน) ต้องมีขนาดเล็กนิดหนึ่งระดับหนึ่ง จึงจะสามารถซึมเข้าสู่ชั้นผิวหนังได้ แต่หากอนุพันธ์ใหญ่ก็จะเป็นลักษณะเคลือบผิว ซึ่งผลิตภัณฑ์บำรุงต่างๆ จะมีไฮยาช่วยให้ผิวอุ้มน้ำเพิ่มมากขึ้น เพิ่มความชุ่มชื้นได้

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

สำหรับไฮยาที่วางขายตามท้องตลาด จะเป็นแบบมีขนาดโมเลกุลที่หลากหลายผสมอยู่ในเครื่องสำอางมาตรฐาน มีเลขจดแจ้ง ผลิตจากโรงงานที่มี GMP น่าจะเพียงพอสำหรับการเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณผิวหนังเท่านั้น

การฉีดไฮยาเข้าผิวหนัง เช่น ฟิลเลอร์ ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อเติมเต็มริ้วรอย ร่องลึก ซึ่งมีหลักฐานการแพทย์ว่ามีประสิทธิผลดี แต่ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางที่เชี่ยวชาญด้านนี้จริงๆ

แต่ พญ.ศศธร ก็เตือนว่า คนเรามีโอกาสแพ้เครื่องสำอางได้ เพราะมีสารประกอบหลายตัว ทั้งไฮยา น้ำหอม สารกันเสีย ฯลฯ ดังนั้น อาจทดลองทาบริเวณท้องแขนก่อนก็ได้ ส่วนกลุ่มคนที่ควรใช้ไฮยานั้น ใช้ได้ตั้งแต่วัยรุ่นได้จนถึงทุกวัย อาจใช้ควบคู่กับครีมบำรุงผิวทั่วไป

อ่านข่าวอื่น :

ไฮยา-เรตินอล อย่างไหนดีกว่ากัน

สำหรับดรามา หากทาไฮยาให้ทาเรตินอลดีกว่า พญ.ศศธร กล่าวว่า สารทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างกัน โดยเรตินอล เป็นอนุพันธ์ของวิตามิน A ซึ่งจะกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว จะช่วยให้ผิวกระจ่างใส แต่ก็อาจมีโอกาสระคายเคืองได้ วิธีการใช้ต้องเลือกให้เหมาะสม ค่อยๆ ปรับ เริ่มต้นใช้จากความแรงน้อยๆ ความถี่สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ส่วนไฮยานั้นจะเน้นบำรุงผิว เพิ่มความชุ่มชื้น

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ปัจจุบันโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูลเรื่องความงาม ครีมบำรุงผิวจำนวนมาก หลายอย่างต้องระวัง อาจไม่จริงเสมอไป ดังนั้นก่อนเลือกใช้ครีมบำรุงผิวหรือเครื่องสำอางใดๆ ควรศึกษารายละเอียดก่อน พิจารณาว่าเหมาะกับผิวตนเองหรือไม่ หรือหากไม่แน่ใจปรึกษาแพทย์ผิวหนังก่อนจะดีที่สุด พญ.ศศธร กล่าวทิ้งท้าย

อ่านข่าวอื่น :

ข่าวที่เกี่ยวข้อง