วันหยุดราชการ 6 พ.ค. "ชดเชยวันฉัตรมงคล" หยุดแล้วได้เงินหรือไม่?

ไลฟ์สไตล์
1 พ.ค. 67
08:00
28,915
Logo Thai PBS
วันหยุดราชการ 6 พ.ค. "ชดเชยวันฉัตรมงคล" หยุดแล้วได้เงินหรือไม่?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
วันเสาร์ที่ 4 พ.ค.2567 ตรงกับวันฉัตรมงคล และ มติ ครม.ยังประกาศให้วันจันทร์ที่ 6 พ.ค. เป็นวันชดเชยวันฉัตรมงคลอีกด้วย เช็กเลย! ใครได้หยุดวันที่ 6 พ.ค.กันบ้าง ? และหากต้องทำงานในวันหยุดต้องได้รับค่าแรงเท่าใด

วันฉัตรมงคล คือวันอะไร

วันฉัตรมงคล คือ วันสำคัญในวัฒนธรรมประเพณีไทยที่จะมีการจัดพระราชพิธีขึ้น เป็นพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระมหาเศวตฉัตร เครื่องราชูปโภค เพื่อเฉลิมฉลองวันคล้ายวันบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชวงศ์จักรี

อ่านข่าว : เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ "วันฉัตรมงคล" 4 พฤษภาคม

วันชดเชยวันฉัตรมงคลตรงกับวันจันทร์ที่ 6 พ.ค. นับเป็นวันหยุดราชการ ตามมติ ครม. เป็นวันหยุดของราชการ เอกชน และ ธนาคาร

สำหรับวันหยุดชดเชย ทางราชการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี โดยหลักการว่า หากวันหยุดราชการประจำปีใด ตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ให้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันนั้น ไปหยุดในวันงานถัดไป โดยให้หยุดชดเชยได้ไม่เกิน 1 วัน ส่วนการกำหนดเป็นปีๆ ไป ว่าวันหยุดดังกล่าวตรงกับวันใด คือ จันทร์ หรือ อังคาร นั้น

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

มติ ครม.ในเรื่องวันหยุดชดเชย แต่ละคราวจะแตกต่างกันไปตามแต่สถานการณ์บ้านเมืองและดุลยพินิจของ ครม.ในแต่ละยุค ไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบเป็นการเฉพาะ 

"ข้าราชการ" ปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ

ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในวันหยุดราชการ ให้มีสิทธิเบิกค่าตอบแทนได้ไม่เกินวันละ 7 ชม. ในอัตรา ชม.ละ 60 บาท ทั้งนี้กรณีที่ข้าราชการได้รับคำสั่งให้เดินทางไปราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการและการจัดการประชุมของทางราชการ พ.ศ.2524

ผู้ปฏิบัติงานไม่มีสิทธิได้รับเงินตอบแทนนอกเวลาราชการ เว้นแต่ ได้รับอนุมัติให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการก่อนการเดินทาง เมื่อการเดินทางไปราชการนั้นเสร็จสิ้นและกลับถึงสำนักงานในวันเดียวกัน

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

"เอกชน-ลูกจ้าง" ทำงานในวันหยุดราชการ

ส่วนกระทรวงแรงงานกำหนดให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้หยุดงานในวันชดเชย แต่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดงานได้ เนื่องจากมีลักษณะงานที่จำเป็นหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดอาจจะเสียหายแก่งาน เช่น งานในกิจการโรงแรม ร้านขายอาหาร สถานพยาบาล งานในที่ทุรกันดาร งานขนส่ง เป็นต้น ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่าจะให้หยุดชดเชยวันอื่นแทนหรือจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้กับลูกจ้าง

กรณีที่ตกลงกันว่าจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดนั้น นายจ้างจะต้องจ่ายค่าแรงให้กับลูกจ้างเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานปกติ สำหรับกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันแรงงานแห่งชาติ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาในอัตราไม่น้อยกว่า 3 เท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ตามชั่วโมงที่ทำ

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ค่าตอบแทนกรณีทำงานในวันหยุด กรณีพนักงานมาทำงานตามเวลางานปกติในวันหยุด เช่น เวลางานปกติในวันหยุดกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 - 17.00 น. กรณีเช่นนี้พนักงานมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น) โดยอัตราการจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแบ่งออกเป็น 2 กรณีดังนี้

  1. พนักงานรายเดือน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า
  2. พนักงานรายวัน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ค่าตอบแทนกรณีทำล่วงเวลาในวันหยุด (OT ในวันหยุด) ถ้าพนักงานทำงานเกินกว่าชั่วโมงงานปกติในวันหยุด เช่น วันหยุดกำหนดให้พนักงานมาทำงานเวลา 08.00 - 17.00 น. แต่พนักงานอาจจำเป็นต้องทำงานให้เสร็จ แล้วจึงทำงานจนถึงเวลา 20.00 น. ลักษณะนี้นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงให้กับพนักงาน (วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์) เป็นต้น

หากนายจ้างที่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายมีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

"วันชดเชยวันฉัตรมงคล" เบิกถอนเงินที่ธนาคารได้ไหม ?

ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุวันหยุดในเดือน พ.ค. ไว้ว่า

  • วันพุธที่ 1 พ.ค.2567 เป็นวันแรงงานแห่งชาติ
  • วันจันทร์ที่ 6 พ.ค.2567 เป็นวันชดเชยวันฉัตรมงคล
  • วันพุธที่ 22 พ.ค.2566 เป็นวันวิสาขบูชา

บริการส่งของ ส่งพัสดุได้ไหม ?

ไปรษณีย์ไทยและบริษัทขนส่งเอกชน พร้อมให้บริการประชาชนในวันชดเชยวันฉัตรมงคล

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

วันฉัตรมงคล ขายเหล้าไหม

สำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีประกาศ เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ยกเว้นการขายเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในท่าอากาศยานนานาชาติ

โดยในปี 2567 มีวันสำคัญทางพระพุธศาสนาห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ดังนี้

วันเสาร์ 24 กุมภาพันธ์ – วันมาฆบูชา
วันพุธ 22 พฤษภาคม – วันวิสาขบูชา
วันเสาร์ 20 กรกฎาคม – วันอาสาฬหบูชา
วันอาทิตย์ 21 กรกฎาคม – วันเข้าพรรษา
วันพฤหัสบดี 7 ตุลาคม – วันออกพรรษา

อ่านข่าวเพิ่ม :

1 พ.ค. "วันแรงงาน" ใครบ้างที่ต้องหยุดใน "วันบังคับหยุด"

ความพ่ายแพ้ของโวลเดอมอร์ต 2 พ.ค. "วันเฉลิมฉลองแฮร์รี พอตเตอร์สากล"

10 พ.ค. "วันพืชมงคล" วันหยุดราชการที่มีแต่ราชการเท่านั้นที่หยุด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง