เก็บ 30 บาท กันพวกชอบฟรีที่ไม่มีหลักการ ได้จริงหรือ?

20 ม.ค. 55
05:08
10
Logo Thai PBS
เก็บ 30 บาท กันพวกชอบฟรีที่ไม่มีหลักการ ได้จริงหรือ?

โดย ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์

ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับจากองค์กรนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก สหภาพยุโรป และล่าสุดนายบันคีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ซึ่งได้มาเยี่ยมประเทศไทยภายหลังน้้าท่วมกล่าวชื่นชม ระบบบริการสุขภาพของไทยเราได้พัฒนาจากระบบรัฐช่วย (Public assistance) หมายถึง การสงเคราะห์ผู้ป่วยรายได้น้อย (สปน) หรือ ผู้ป่วยอนาถา (อน ) มาเป็น ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Services) ที่เราเรียกแบบไทยว่า ระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งมีแนวไปทางประเทศสหราชอาณาจักร มากกว่า สหรัฐอเมริกา ที่เป็น แบบประกันสุขภาพ (Health Insurance)

ตัวอย่างที่ เข้าใจได้ง่าย คือ ประกันรถยนต์ ประกันชีวิต และ ประกันสุขภาพจากบริษัทประกันเอกชน แต่ คนไทยซื้อประกันสุขภาพกันน้อยมาก และ ไม่น่าที่ระบบนี้จะขยายไปแบบสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยของเรา แต่อาจจะขายได้กับคนจ้านวนน้อยจ้านวนหนึ่งที่มีฐานะพอจ่ายได้ ทิศทางรวมน่าจะเป็นแบบ ระบบสุขภาพแห่งชาติ หรือ ระบบหลักประกันสุขภาพ มากกว่า แม้แต่สหรัฐอเมริกา ก็ก้าลังแสวงหาเส้นทางแบบนี้เพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ
 
เนื่องจาก เรื่องของระบบหลักประกันสุขภาพ เป็นเรื่องของภาพรวม ภาพรวมในเรื่องสิทธิของประชาชน ภาพรวมในเรื่องประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ ภาพรวมของการพัฒนา ความต่อเนื่อง ความยั่งยืน และ การมีหลักประกันของระบบหลักประกันสุขภาพ ตลอดจน เป็น การทดสอบทฤษฎี สมมติฐาน และ ความรู้ทางวิชาการ โดยเฉพาะวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สุขภาพ ที่ท้าทาย ที่เอาชีวิตประชาชนเป็นเดิมพัน เวลาคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าไปใส่ไว้ในระบบหลักประกันสุขภาพ ที่เราเรียกชื่อเล่นว่า สามสิบบาท (รักษาทุกโรค) หรือ บัตรทอง จึงจ้าเป็นต้องมองในภาพรวม

ว่ากันว่า การเก็บสามสิบบาท เป็น โค ชนิดหนึ่ง เรียกว่า โคอินขัวรัน (coinsurance) แต่ การเก็บสามสิบบาท คงไม่ใช่ coinsurance ตามนิยามในวิกิพีเดีย เพราะไม่ได้เก็บหลังการได้ประโยชน์เกินเพดานประโยชน์ และ มักจะเก็นเป็นเปอร์เซ็นต์ หรือ สัดส่วนต่อค่าใช้จ่ายภายหลังได้ประโยชน์เค็มเพดาน พูดแบบชาวบ้านก็คือ คุณได้ประโยชน์ไปแล้วแสนหนึ่ง โดยก้าหนดเพดานไว้แสนหนึ่ง ถ้ามากกว่านี้ จ่ายเพิ่มมาร้อยละสิบ มากกว่านี้จ่ายเพิ่มมาร้อยละยี่สิบ มากอีกเป็นร้อยละสามสิบ เป็นต้น

วิธีการนี้เหมาะกับการประกันรถยนต์ เพราะความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ เกี่ยวกับการขับรถของคนขับเป็นหลัก ซึ่งป้องกันได้ แต่ ความเจ็บป่วยหลายโรค มาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว และ ท้าให้สิ้นเนื้อประดาตัว ดังนั้น เราอาจเรียก coinsurance ว่าเป็นการจ่ายร่วมแบบมีสัดส่วนหลังได้รับประโยชน์เกินเพดานแล้ว

ค้าถามที่ชวนปวดหัว คือ เพดานควรจะเป็นเท่าไร ซึ่งมักจะได้จากการศึกษาวิจัย และ ข้อมูลสถิติ การเก็บสามสิบบาท น่าจะเป็น โคเป หรือ copayment หรือ การร่วมจ่าย โดยวิกิพีเดีย นิยามว่า เป็นการจ่ายโดยผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิทุกครั้งที่มารับบริการสุขภาพ

ที่ต้องท้าเช่นนี้ อธิบายว่า เพื่อป้องกัน พฤติกรรมเบี่ยงเบน ในการมารับบริการอย่างขาดคุณธรรม คือ มาใช้โดยไม่จ้าเป็น ท้าให้สิ้นเปลือง อาจเรียกว่า พวกชอบของฟรีที่ไม่มีหลักการ แม้ว่าการก้าหนดเช่นนี้ อาจป้องกันคนแบบนั้นได้บ้าง แต่ ก็ไม่เคยมีการแสดงข้อมูลที่แน่นอน ว่ามีมากน้อยเพียงใด และ ก็ไม่เคยมีการศึกษาด้วยว่า หากเปลี่ยนจ้านวนเงินมากขึ้น หรือ น้อยลง แล้ว คนที่มีนิสัย ชอบของฟรีที่ไม่มีหลักการ จะมีนิสัยที่ดีขึ้น การเก็บสามสิบบาท แม้เล็กน้อย อาจท้าให้ คนจนจริงๆ เลยไม่มารับบริการ ทั้งที่จ้าเป็น เพราะไม่มีเงิน บางคนบอกว่ามีทางออก คือ ให้ไปสงเคราะห์ แบบ สปน หรือ อนาถา แบบที่เคยท้า แต่ คนจ้านวนหนึ่งเห็นว่าไม่เหมาะสม เพราะเป็น การแบ่งแยกประเภทคน เป็นพวกที่มีเงินจ่าย และ พวกที่ต้องสงเคราะห์

จ้านวนเงินมีความหมายเช่นกัน จะท้าให้เหมาะสมอย่างไร ส้าหรับราคาในการจ่ายร่วม ระหว่าง ราคาการจ่ายร่วม ที่สูงพอที่จะป้องกันค่าใช้จ่ายจากบริการที่ไม่จ้าเป็น กับ ที่ต่้าพอที่จะไม่กีดกันการเข้าถึงบริการ สรุปแล้ว สามสิบบาท คือ ก้าแพง ที่จะมีไว้กันคนชอบของฟรีแต่ไม่มีหลักกการ อันที่จริง ก้าแพง ของการเข้ารับบริการ ไม่ได้มีแค่ การจ่ายเงิน การก้าหนดเวลาเฉพาะที่จะให้บริการ การท้าให้บริการยุ่งยาก ขั้นตอนมาก แออัด ไม่รู้อะไรเป็นอะไร ก็สามารถ เป็นก้าแพงได้หมด การกัน คนป่วยที่จะเข้ารับบริการจึงมีมากมายอยู่แล้ว สิ่งที่น่าสนใจที่สุด คือ หากการเก็บสามสิบบาท หรือ เท่าไร ก็แล้วแต่ เป็นหลักคิด

หลักการส้าคัญ ที่จะไว้กัน คนชอบของฟรีแต่ไม่มีหลักกการแล้ว ท้าไม จึงไม่เคยมีการน้าไปใช้กับระบบประกันสุขภาพอื่น ทั้งระบบสวัสดิการราชการ หรือ ระบบประกันสุขภาพของประกันสังคม หรือว่า ระบบดังกล่าว ไม่มีคนพันธ์ดังกล่าว หากมีคนบอกว่า ก็เป็นมาอย่างนั้นมาตั้งนานแล้ว ก็จงเป็นเช่นนั้นต่อไป วันนี้ ระบบสามสิบบาท หรือ บัตรทอง หรือ ระบบหลักประกันสุขภาพ ก็ไม่ได้เก็บสามสิบบาทมานานานจนคนรู้ไปหมดแล้วว่าไม่ต้องจ่ายแล้ว จะย้อนกลับไปเพื่อให้เกิดความแตกต่างของสามระบบ อย่างไม่เท่าเทียมได้อย่างไร

ดังนั้น หากจะเก็บสามสิบบาท เพราะ เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขแล้ว จึงหนีไม่พันที่จะต้องเก็บทุกระบบ จ่ายเมื่อมารับบริการ สามสิบบาท เท่ากัน อย่างไรก็ตาม ในเรื่องจ้านวนเงิน มีข้อพิจารณาว่า การเก็บเงินที่มีจ้านวนมากก็จะกีดกันคนจนในการเข้าถึง และ การเก็บเงินน้อยไปก็ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไร เพราะไม่ได้กันอะไรใคร

แล้ว สามสิบบาท ไปกัน คนชอบฟรีไม่มีหลักการได้แค่ไหนกัน ช่วยบอกผม หน่อย ว่าท้าไมต้องเก็บสามสิบบาท


ข่าวที่เกี่ยวข้อง