ยังพบ "น้ำค้างทุ่ง" ภาคกลางจำนวนมาก จากการจัดการน้ำล่าช้า

สังคม
3 ก.พ. 55
13:16
6
Logo Thai PBS
ยังพบ "น้ำค้างทุ่ง" ภาคกลางจำนวนมาก จากการจัดการน้ำล่าช้า

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ระบุว่า สาเหตุน้ำค้างทุ่งเกิดจากการบริหารจัดการน้ำล่าช้าประกอบกับปริมาณน้ำมากกว่าปี 2553 โดยคาดว่า ชาวบ้านจะใช้พื้นที่การเกษตรได้ตามปกติในเดือนมีนาคมนี้ ขณะที่กรุงเทพมหานครเริ่มลอกท่อระบายน้ำในวันนี้ ( 3ก.พ.) พบว่า มีขยะและทรายเป็นอุปสรรคขวางทางระบายน้ำ

เจ้าหน้าที่สำนักระบายน้ำกทม .และ ผู้ต้องขังชั้นดีจากรมราชทัณฑ์จำนวนกว่า 300 คน เร่งดำเนินการและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ขุดลอกคูคลอง เพื่อเปิดทางน้ำไหลและเตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯเหนือ กรุงเทพฯตะวันออก กรุงเทพฯใต้ และ ฝั่งธนบุรี ที่บริเวณหมู่บ้านนัฐกานต์ เขตหนองแขม โดยการขุดลอกท่อระบายน้ำของ กทม.มีแผนล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำในถนนและซอยต่าง ๆ ระยะทางกว่า 4,618 กิโลเมตร และ ขุดลอกคูคลองจำนวน 1,184 คลองระยะทาง 1,456 กิโลเมตร โดยใช้งบประมาณของ กทม.ว่าจ้างกรมราชทัณฑ์พร้อมใช้รถดูดเลน และ เจ้าหน้าที่ของสำนักการระบายน้ำและสำนักงานเขตดำเนินการอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะพื้นที่ถนน ซอยต่าง ๆ ที่เป็นจุดอ่อนน้ำท่วม และประสบปัญหาน้ำท่วมในปีที่แล้ว

จากการดำเนินการครั้งนี้พบว่า พื้นที่คลองยังมีสภาพตื้นเขิน และยังเศษขยะ รวมถึงเศษทราย ตกค้างในท่อเป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคมนี้

ม.ร.ว.สุขุพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บอกว่า ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ เตรียมเครื่องสูบน้ำ และ เครื่องจักรกลต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่ใช้งาน และขณะนี้สามารถลอกท่อระบายน้ำไปแล้วกว่าร้อยละ 30 ขณะนี้ กทม.ได้แบ่งงานกันทำอย่างชัดเจน

จากการสำรวจพื้นที่น้ำท่วมค้างทุ่งบนภาพถ่ายดาวเทียมเรดาร์แสทวันที่ 2 กุมพาพันธ์ที่ผ่านมาของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พบว่า ปริมาณน้ำท่วมค้างทุ่งบริเวณลุ่มน้ำยม และ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยังคงท่วมพื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน 520,000 ไร่ตั้งแต่ภาคเหนือ ถึงภาคกลาง สาเหตุเกิดจากการบริหารจัดการน้ำล่าช้าประกอบกับปริมาณน้ำที่มากกว่าปี 2553 โดยจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพื้นที่ที่มีน้ำท่วมค้างทุ่งมากที่สุดถึง 230,000 ไร่ ที่อำเภอบางปลาม้า อำเภอสองพี่น้อง อำเภออู่ทอง อำเภอเมือง และอำเภอศรีประจันต์ 

ขณะที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดชลบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดนนทบุรี ยังคงมีน้ำท่วมค้างทุ่งเหลือน้อย โดยเฉลี่ยน้ำจะลดลงเองตามธรรมชาติ

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า บริเวณพื้นที่น้ำค้างทุ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำการเกษต ไม่ใช่หมู่บ้านหรือชมุชน ซึ่งมั่นใจว่าชาวบ้านจะสามารถกลับมาทำการเกษตได้รอีกครั้งภายในเดือนมีนาคมนี้

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง