“จุรินทร์ ชี้ ค้านแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทำเพื่อคนพิเศษ ชำแหละร่างรัฐบาล เร่งรีบ รวบรัด ทุกขั้นตอน

การเมือง
14 ก.พ. 55
16:45
20
Logo Thai PBS
 “จุรินทร์ ชี้ ค้านแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ทำเพื่อคนพิเศษ ชำแหละร่างรัฐบาล เร่งรีบ รวบรัด ทุกขั้นตอน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ แถลงที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ภายหลังการประชุมพรรคฝ่ายค้าน กรณีการตั้งกระทู้ถามสดรัฐบาลในสัปดาห์นี้ซึ่งมีประเด็นที่อยู่ในข่ายประกอบการพิจารณาทั้งหมด 3 เรื่องด้วยกัน

1.    กรณีที่ปรากฏเป็นข่าว กรณีของนายกรัฐมนตรีกรณีโรงแรมโฟร์ซีซั่น ซึ่งก็เป็นประเด็นที่อยู่ในข่ายการพิจารณาว่าจะมีตั้งกระทู้ถามสดหรือไม่ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีได้มีโอกาสได้ชี้แจงแล้วก็เนื่องจากเห็นว่าเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชน

2.    กรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้นโยบายในเรื่องของการเก็บค่า แป๊ะเจี๊ยะ เข้าเรียน ซึ่งเหมือนกับการเป็นการให้ท้ายในเรื่องของการเก็บค่าแป๊ะเจี๊ยะ     ทำให้สังคมเกิดการเข้าใจเหมือนเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่ชอบธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมซึ่งก็สะท้อนวุฒิภาวะทางจริยธรรมทางนโยบาย ซึ่งเป็นประเด็นที่อยู่ในข่ายที่จะตั้งกระทู้ถามสดอีกเรื่องหนึ่งในสัปดาห์นี้เพื่อให้เกิดความชัดเจน

3.    กรณีการเยียวยาผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการเยียวยาเหยื่อไฟใต้ที่พึ่งมีมติไปเมื่อไม่กี่วันมานี้ในส่วนของฝ่ายค้านเรามีจุดยืนที่ชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับการที่จะเยียวยากับผู้ที่กระทำผิดทางอาญาซึ่งก็รวมทั้งผู้ที่ทำลายทรัพย์สินของทางราชการด้วยว่าไม่ควรได้รับเงินชดเชยจากรัฐหรือนำเงินภาษีของประชาชนไปจ่ายชดเชยให้กับผู้ที่กระทำผิดเหล่านี้ ส่วนกรณีของผู้บริสุทธิ์เราก็มีความเห็นว่ามติในเรื่องของการเยียวยาเหยื่อไฟใต้นั้นเป็นกรณีที่รัฐบาลเหมือนเจาะจงเลือกพิจารณาเฉพาะบางกรณีและบางเหตุการณ์เพราะทนต่อกระแสเรียกร้อง และข้อวิภาควิจารณ์ถึงความไม่เป็นธรรมและการปฏิบัติหลายมาตรฐานของรัฐบาลไม่ได้ รัฐบาลจึงมีมติเหมือนขอไปที เช่นระบุกรณีกรือเสะตากใบแต่ไม่รวมกรณีการฆ่าตัดตอน ซึ่งถือเป็นกรณีที่ถือเป็นความผิดของฝ่ายนโยบายชัดเจนว่าการฆ่าตัดตอนของผู้บริสุทธิ์จำนวนมากเกิดจากนโยบายที่ผิดพลาดและฝ่ายนโยบายต้องรับผิดชอบ แต่กลับไม่มีการพิจารณาในกรณีนี้รวมทั้งกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นทหาร ตำรวจ  พลเรือน ที่เสียชีวิตและได้รับผลกระทบจากปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้บริสุทธิ์ก็ยังไม่ได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมในขณะที่กลับไปพิจารณากรณีของผู้ที่เข้าข่ายกระทำผิดกฎหมายอาญาในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองหลายกรณีโดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ซึ่งหลักการเหล่านี้ถือเป็นหลักการที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมเพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็จะเป็นเรื่องที่จะเข่าข่ายกระทู้ถามอีกเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายค้านได้มีความเห็นไว้เบื้องต้น

ประเด็นที่สอง  กรณีการกดบัตรแทนกันในสภาผู้แทนราษฎร์ที่ ส.ส.รังสิมา รอดรัศมี ได้ท้วงติงกับประธานแล้วจนในที่สุดได้เดินไปชี้ตัวไปชี้จุดที่เห็นว่ามีการกดบัตรแทนกันซึ่งเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญแล้วก็ที่สุดฝ่ายค้านเรียกร้องให้ประธานได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนก็ปรากว่าประธานได้มอบหมายให้กรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้รับไปดำเนินการวิปฝ่ายค้านก็ขอเรียกร้องให้กรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งบุคคลที่เป็นกลางและเชื่อถือได้ขึ้นมาพิจารณาสอบสวนเรื่องนี้เพราะถ้าไปอาศัยเฉพาะตัวกรรมาธิการและอาศัยเสียงในการลงมติแน่นอนว่าในกรรมาธิการสามัญทุกคณะเสียงของรัฐบาลก็มากกว่าฝ่ายค้านอยู่แล้วซึ่งจะทำให้การตรวจสอบไม่ได้ข้อเท็จจริงและผลการตรวจสอบที่ไม่เป็นธรรม

ประเด็นที่สาม  กรณีของการที่ฝ่ายค้านได้ยื่นพรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่น ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตรวจสอบความชอบด่วนรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนด2 ฉบับ ประเด็นนี้วิปฝ่ายค้านยังมีความเห็นยืนยันว่าเป็นกรณีที่เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งคุณสรรเสริญจะให้รายละเอียดอย่างน้อยมีเหตุผลอีก 2 ประการ ที่จะประกอบชี้ให้เห็นว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนโดยเฉพาะพระราชกำหนดโอนหนี้กระทรวงการคลังไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย

ประเด็นที่สี่   สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญวิปฝ่ายค้านก็มีมติที่จะไม่เห็นชอบกับการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับชุดนี้และถ้าหากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญวิปฝ่ายค้านก็มีความเห็นว่าหากประเด็นใดเป็นปัญหากับส่วนรวมก็ควรแก้ไขในประเด็นนั้นนั่นคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นไปที่ไม่เห็นด้วยไม่ใช่กรณีวิตกจริตเหมือนที่วิปรัฐบาลได้กล่าวหาแต่เป็นเพราะว่าเรารู้เท่าทันพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลว่าเป้าหมายที่แท้จริงของการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่เพื่อประชาธิปไตยและการปฏิรูปการเมืองแต่เพื่อต้องการที่จะล้างผิดให้กับคนพิเศษ และที่ไม่เห็นด้วยเหตุผลการประการที่สองก็เพราะว่าไม่มีหลักประกันใด ๆว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่นั้นจะไม่ 1.แตะต้องสถาบัน 2.ไม่เป็นการยกเลิกองค์กรอิสระ 3.ไม่มีผลเป็นการนิรโทษกรรมให้กับบุคคลที่กระทำความผิดและสุดท้ายจะไม่นำประเทศกลับไปสู่ระบอบทักษิณซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้ก้าวข้ามมาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

สำหรับกรณีที่พรรคเพื่อไทยได้กล่าวหาว่าฝ่ายค้านก้าวไม่พ้นกรณีคุณทักษิณก็ขอเรียนว่าความจริงพรรคการเมืองที่ก้าวไม่พ้นคุณทักษิณ ก็คือพรรคเพื่อไทยและตราบใดที่พรรคเพื่อไทย และรัฐบาลยังก้าวไม่พ้นผลประโยชน์ของคุณทักษิณก็ยากที่จะให้สังคมก้าวพ้นในเรื่องเหล่านี้ หรือก้าวข้ามเรื่องเหล่านี้ไปได้  เพราะทุกคนมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมสำหรับร่างรัฐธรรมนูญของรัฐบาลมีข้อสังเกตหลายประการแต่อย่างน้อยประการหนึ่งที่ขอให้ข้อสังเกตในวันนี้คือเป็นไปตามที่วิปฝ่ายค้านได้แสดงความเห็นมาที่สุดการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะมีการดำเนินการอย่างเร่งรีบรวบรัดเพราะต้องการให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญบรรลุเป้าโดยเร็วที่สุดเพื่อประโยชน์ของคนพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อดูไปร่างของรัฐบาลแล้วก็จะเห็นว่ามีความพยายามที่จะใช้การย่นย่อระยะเวลาทุกขั้นตอนให้เร็วขึ้นเช่น กรณีการเลือก สสร. จากร่างของพรรคเพื่อไทยเดิมกำหนดไว้ให้เสร็จภายใน 90วัน  ก็ย่นลงมาเหลือ 75 วันหรือแม้แต่การทำประชามติซึ่งรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการทำประชามติระบุไว้ว่าต้องดำเนินการไม่เร็วกว่า90 วัน และไม่ช้ากว่า 120 วัน คือ90 – 120 วัน ก็ย่นย่อมาเหลือ 45 – 60 วัน เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก็ชี้ให้เห็นว่าก็มีความพยายามที่จะเร่งรีบรวบรัด ก็จะเป็นตัวอย่างอย่างหนึ่งที่น่าห่วงที่สุดประการหนึ่งก็คือกรณีที่ปรากฏปัญหาในเรื่องล็อบบี้แลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับวุฒิสมาชิกบางคนเพื่อให้รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับเพื่อคนพิเศษของรัฐบาล  แลกกับการต่ออายุการเปิดโอกาสให้สมัครรับเลือกตั้งได้อีกวาระหนึ่งเพราะรัฐธรรมนูญปัจจุบันห้ามเป็นติดต่อกันในช่วงสมัย2 สมัยเป็นต้น ซึ่งประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งเหมือนกับย้อนยุคกลับไปสู่อีกยุคหนึ่งที่เราก้าวข้ามมาในอดีตแล้วที่เงินซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราเป็นห่วงซึ่งทั้งหมดนี้ฝ่ายค้านก็จะดำเนินการในการที่จะคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับของรัฐบาลต่อไป 

ดร.สรรเสริญ  สะมะลาภา ชี้แจงรายละเอียดในกรณี 3.  กรณีของการที่ฝ่ายค้านได้ยื่นพรรคประชาธิปัตย์ได้ยื่น ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตรวจสอบความชอบด่วนรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนด2 ฉบับ ดังนี้ การพิจารณาการขอบศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องพระราชกำหนด 2 ฉบับฉบับแรกคือพระราชกำหนดการโอนหนี้ของกองทุนฟื้นฟูไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบ ฉบับที่สองคือการกู้เงิน 3.5แสนล้านบาทเพื่อที่จะนำมาใช้ในระบบบริหารจัดการน้ำสำหรับข้อตกลงล่าสุดที่กระทำโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์เป็นการตอกย้ำว่าพระราชกำหนดฉบับนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกเป็นความเร่งด่วนหรือจำเป็นที่จะต้องออกเป็นพระราชกำหนดเพราะว่าข้อตกลงล่าสุดก็คือการนำเงินที่เก็บได้จากธนาคารพาณิชย์นำไปใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูปรากฏว่าการชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูจากเงินในส่วนนี้ จะชำระในปีงบประมาณ 2556  คืองบประมาณปีหน้า รัฐบาลก็บอกเองว่าสำหรับปี2555นี้ ก็จะใช้เงินงบประมาณที่ตั้งไว้แล้วไปก่อน เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นการตอกย้ำว่าไม่จำเป็นที่จะต้องออกพระราชกำหนดด้วยเหตุผลที่ว่าจำเป็นเร่งด่วนโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และเป็นข้อที่เราโต้แย้งกับรัฐบาลมาโดยตลอดและปฏิเสธมาโดยตลอดแต่ในที่สุดผลการตกลงระหว่างสามภาคส่วนด้วยกันก็ออกมาในลักษณะนี้ 

อีกประเด็นก็คือมีการเรียกเก็บเงินจากธนาคารรัฐซึ่งตามเหตุผลเพื่อให้การแข่งขัดทัดเทียมกับธนาคารเอกชน จริงๆจะพูดอย่างนั้นทีเดียวก็ไม่เหมาะเพราะว่าธนาคารรัฐเองก็มีภาระมีเงือนไขว่าจะต้องดำเนินนโยบายตามที่รัฐบาลสั่งในบางเรื่องบางเรื่องรัฐบาลก็จ่ายดอกเบี้ยหรืองบประมาณมาชดเชยบางเรื่องก็ไม่ได้จ่าย แต่ก็ไม่เป็นไรเพราะว่าถือว่าเป็นดุลพินิจของรัฐบาลว่าจะเรียกเก็บเงินจากธนาคารรัฐหรือไม่แต่เมื่อเรียกเก็บมาแล้วปรากฏว่าเงินจำนวนนั้นเอาไปตั้งกองทุนใดกองทุนหนึ่งซึ่งวัตถุประสงค์ยังไม่ชัดแจนว่าจะนำไปทำอะไรนี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งว่าการออกพระราชกำหนดนั้นไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพราะว่าจำเป็นเร่งด่วนอย่างที่รัฐบาลกล่าวอ้างจริงๆเงินที่เก็บมาจากธนาคารรัฐ ก็สมควรที่จะนำไปใช้ชำระกองทุนฟื้นฟูด้วยแต่ทำไมถึงไม่ทำ พรุ่งนี้ก็จะมีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้  ซึ่งคิดว่าประเด็นสองข้อนี้เป็นประเด็นสองข้อหลักอีกครั้งหนึ่งที่จะเป็นการยืนยันว่าทั้งสองพระราชกำหนดนี้ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้แต่อย่างใด

 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง