ถอดรหัสพุทธศิลป์ ชุดเบญจภาคี

Logo Thai PBS
ถอดรหัสพุทธศิลป์ ชุดเบญจภาคี

ถอดรหัสทางพุทธศิลป์ ชุดเบญจภาคีจักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาด้านศาสนา การตีความตามหลักพุทธ ในฐานะวัตถุธรรมเครื่องรำลึกถึงพระพุทธองค์

<"">
     
<"">

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่  องค์พระสง่างามพระพักตร์รูปผลมะตูม ไหล่ซ้ายสูงกว่าไหล่ขวา ในซุ้มครอบแก้วลักษณะคล้ายหวายผ่าซีก เข้าลักษณะตามตำราเซียนพระ มีราคาไม่น้อยกว่า 8 หลัก แม้เป็นที่รู้กันในหมู่เซียนพระว่ามูลค่าขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้เช่าและผู้ให้เช่า หากพระสมเด็จ ของวัดระฆัง บางขุนพรหม และเกศไชโย เป็นที่ต้องการในราคาสูง จักรพรรดิ์แห่งพระเครื่อง จึงกลายเป็นสังหาริมทรัพย์ ที่มีอำนาจต่อรองทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน

ด้านนายราม วัชรประดิษฐ์ นักวิชาการด้านพุทธศิลป์ – ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพิมพ์ กล่าวว่า การซื้อพระสมเด็จฯ เพื่อเก็งกำไร เพราะซื้อง่าย ขายคล่อง กำไรร้อยเปอร์เซ็น และเป็นที่ต้องการ โดยพระสมเด็จแพง ๆ สวย ๆ สามารถค้ำประกัน หรือแลกบ้านแลกรถได้ ส่วนนายรักษ์ ศรีเกตุ เซียนพระ กล่าวว่า การซื้อขายพระไม่เสียภาษี ทำให้ซื้อง่ายขายคล่อง

<"">
      
<"">

ขณะที่ ศิริวรรณ วิบูลย์มา นักวิชาการ – ผู้ศึกษานัยสัญลักษณ์ของพระสมเด็จฯ กล่าวว่า วัดนอกจากเป็นศูนย์ศรัทธา ยังมีบทบาทในการสอนจริยธรรมให้กับผู้คนผ่านงานพุทธศิลป์ เช่น จิตรกรรมฝาผนัง รูปสลัก พระพุทธรูป หรือแม้แต่พระพิมพ์ ซึ่งระยะหลังการตีค่าพระพิมพ์ออกมาเป็นมูลค่ามากกว่าความหมายที่แฝงอยู่ ทำให้เกิดการถอดรหัสทางพุทธศิลป์มากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการศึกษาด้านศาสนา โดยพระพิมพ์ ทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟักของพระสมเด็จ และการจัดวางองค์พระภายใต้ซุ้มครอบแก้วอย่างสมดุล จากการศึกษาวิจัย นัยสัญลักษณ์ของพระพิมพ์สกุลสมเด็จพระพุฒาจารย์ พบว่าการจัดวางและรูปทรงตรงกับกับทฤษฎีทางศิลปะที่เรียกว่า "สัดส่วนทอง" ที่ถือกันว่าเป็นความงามตามอุดมคติตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ ที่มีความงามตามหลักประวัติศาสตร์ศิลป์ หากการศึกษาเทียบเคียงเส้นลายต่างๆ ในองค์พระเข้ากับพุทธปรัชญา ทั้งฐาน 3 ชั้น อาจมีนัยถึงไตรลักษณ์หรือความไม่เที่ยง คือ ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ขณะที่ทรงสี่เหลี่ยมอาจสื่อถึงอริยสัจ 4 การตีความตามหลักพุทธ เป็นหนึ่งคุณค่าที่พุทธศาสนิกชนมีมุมมองต่อพระสมเด็จ ในฐานะวัตถุธรรมเครื่องรำลึกถึงพระพุทธองค์

ขณะที่ นายราม วัชรประดิษฐ์ นักวิชาการด้านพุทธศิลป์ – ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพิมพ์ กล่าวว่า ประเพณี ปฏิบัติ ตลอดจนศาสนสถาน ศาสนวัตถุ เกิดจากการสั่งสมทางความคิด จากคติความศรัทธาทางศาสนา ที่ล้วนมีอุบายธรรมแฝงอยู่ การมองและศึกษาอย่างลึกซึ้ง นอกจากสร้างความเข้าใจถึงสื่อธรรมะ ยังนำไปสู่การก้าวผ่านความงามภายนอก สู่ความหมายในพุทธศิลป์

ทั้งนี้ ชุดเบญจภาคี ประกอบด้วย พระสมเด็จ วัดระฆัง สร้างโดย ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) พฺรหฺมรังษี , พระซุ้ม ก. หรือ กำแพงเม็ดขนุน จังหวัดกำแพงเพชร, พระนางพญา จังหวัดพิษณุโลก , พระผงสุพรรณ จังหวัดสุพรรณบุรี และพระรอด กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง