สื่อนานาชาติหนุนยกระดับปฏิญญากรุงเทพฯ หวังลดความเหลื่อมล้ำมุ่งสู่ “ดิจิทัลทีวี” ปี 58

สังคม
29 พ.ค. 55
13:51
14
Logo Thai PBS
สื่อนานาชาติหนุนยกระดับปฏิญญากรุงเทพฯ หวังลดความเหลื่อมล้ำมุ่งสู่ “ดิจิทัลทีวี” ปี 58

สื่อนานาชาติพร้อมเดินหน้าปรับปรุง “ปฏิญญากรุงเทพฯ” เน้นย้ำการทำงานของสื่อสาธารณะเป็นทางออกท่ามกลางวิกฤต “การเมือง-ภัยพิบัติ” เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมลดความเหลี่อมล้ำด้านสื่อดิจิทัล ร่วมเปลี่ยนผ่านทีวีจากยุค “อนาลอก-ดิจิทัล” ขณะที่ผู้แทนจากยูเนสโกแนะตั้งกฎเกณฑ์จริยธรรมสื่อโชเชียล มีเดีย

<"">
       
<"">

ในการประชุมสุดยอดผู้นำด้านสื่อสารมวลชนแห่งเอเชีย - แปซิฟิก ครั้งที่ 9 โดยความร่วมมือจากสื่อมวลชนกว่า 50 ประเทศ ได้มีการหารือในหัวข้อที่สำคัญคือ “ปฏิญญากรุงเทพฯ” ว่าด้วยการสื่อสารมวลชนฉบับแรกที่จัดทำขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้วนั้น จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้ถึงสิทธิ เสรีภาพ และจริยธรรมสื่อที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งแนวทางพัฒนาสื่อสาธารณะในภูมิภาค ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขพัฒนาที่ยั่งยืน เพิ่มความหลากหลายของเนื้อหาสาระ

นายแอเว่ มิเชล ผู้อำนวยการกิจการระหว่างประเทศ สถานีโทรทัศน์ฝรั่งเศส ระบุถึงการปรับปรุงแก้ไขปฏิญญากรุงเทพฯว่า จำเป็นต้องคำนึงถึงการส่งเสริมความหลากหลายด้วยการสนับสนุนโปรแกรมสื่อสาธารณะเพื่อส่งเสริมการกระจายช่องทางทั้งในทุกพื้นที่ของประเทศ รวมถึงไปยังต่างประเทศ และเป็นหน้าต่างของความหลากหลายทางวัฒนธรรม รวมถึงเครือข่ายดิจิทัล ที่จะต้องพัฒนาในระดับต่อไป และที่สำคัญจะต้องมีการต้องมีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 

ที่สำคัญคือการปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข่าวในรูปแบบเดิมของผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบในการผลิตข่าว ไม่ว่าจะเป็นผู้สื่อข่าว ผู้จัดรายการ ฝ่ายข้อมูล ซึ่งสุดท้ายได้ข้อสรุปให้ปรับปรุงให้มีเนื้อหาภายในประเทศที่หลากหลายมีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งได้ผู้มัดในการผลิตรายการทีวี ซึ่งจะต้องมีอย่างน้อยร้อยละ 60 ที่เน้นความหลากหลาย โดยมี 2 หน่วยงาน คือ “ซีเอสเอ” ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลโทรทัศน์

และ “ซีเอ็นซี” ในการติดตามดูแลการผลิตรายการ ซึ่งประเทศที่ไม่มีกลไกดังกล่าว ก็ควรที่จะต้องมีจริยธรรมในการเพิ่มความหลากหลายในเนื้อหา พร้อมกับย้ำว่ายูเนสโกจะต้องเป็นหน่วยงานหลักที่ส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นทั่วโลก อาทิ สิ่งที่เกิดขึ้นในซีกโลกตะวันออก ก็คือ การปฏิวัติอาหรับที่เห็นตรงกันว่าจะต้องทำงานร่วมกับยูเนสโก ซึ่งสามารถช่วยในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารได้เป็นอย่างดี ซึ่งขณะนี้ต้องคำนึงถ้าไม่ได้ทำเฉพาะรายการทีวีเท่านั้น แต่ต้องส่งเสริมจริยธรรม และคุณค่าที่เหมาะสมต่อสังคมอย่างยิ่ง โดยถือว่าเป็นพันธกิจอันสำคัญของสังคมในฐานะสื่อสาธารณะตามปฏิญญากรุงเทพฯ

สื่อสาธารณะ-คลี่คลายความขัดแย้ง “การเมือง-ภัยธรรมชาติ”
สอดคล้องกับที่นายอโณทัย อุดมศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ นั้นอ้างถึงการให้บริการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับคำประกาศเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยเฉพาะการให้บริการสังคมซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในขณะนั้น การให้บริการสาธารณะเป็นเรื่องใหม่อย่างมาก ซึ่งสังคมยังคงมีความสับสนระหว่าง การเป็นสื่อรัฐ หรือ ไม่ใช่สื่อรัฐ จนนำมาสู่การก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

ด้วยเหตุนี้จึงยังคงต้องเน้นถึงการให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับสังคม โดยหลักการแล้วนั้น สื่อสาธารณะเรื่องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งการจะใช้สิทธิดังกล่าว จำเป็นต้องรับรู้ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้น โดยที่ผ่านก็สามารถพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่าสื่อสาธารณะทำหน้าที่ได้ดี โดยเฉพาะช่วงของความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงเวลา 4 - 5 ปีที่ผ่านมา

โดยจากข้อมูลที่ได้สำรวจมานั้นประชาชนสามารถพึงหาข้อมูลจากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเป็นหลัก รวมถึงวิกฤตอุทกภัยก็เป็นอีกครั้งที่ประชาชนกว่าร้อยละ 80 ที่รับชมช่องไทยพีบีเอส ดังนั้น จึงสามารถตอกย้ำได้อย่างชัดเจนว่าสื่อสาธารณะอย่างสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสมีความจำเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมามีเพียงไทยพีบีเอสแห่งเดียวเท่านั้นที่สามารถดำเนินการสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

รวมถึงทรัพยากรบุคคล ที่จำเป็นต้องมีบุคลากรที่เข้าใจว่าจะต้องนำเสนอข้อมูลให้กับสังคมอย่างไร โดยให้ช่องทางการรับข้อมูลเพิ่มากขึ้น ซึ่งคือ เว็บไซต์ทีวี (ไทยพีบีเอส) เรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีที่บุคลากรสามารถเข้าใจเทคโนโลยี ใหม่ที่ยังคงมีการฝึกอบรมอย่างต่อนเนื่อง และยังเน้นย้ำในสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะสื่อสาธารณะที่เลือกสรร เนื้อหาที่สอดรับกันอย่างชัดเจน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความหลากหลายที่จำเป็นต้องคิดถึงการปรับปรุงทั้งบุคลากรภายใน และประชาชนทั่วไป และยังคงต้องสามารถดึงดูดความสนใจได้ และการมีส่วนร่วมกับภาคประชาสังคม

มุ่งแก้ไข “ความเหลื่อมล้ำเข้าถึงสื่อดิจิทัล”
นาง อุน จุน คิม ตัวแทนจาก  ITU กล่าวถึง การปรับปรุงปฏิญญากรุงเทพฯว่า ในอดีตนั้นถือว่าได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี ซึ่งยังคงตรงประเด็นและเหมาะสม โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ ความเหลื่อมล้ำในโลกดิจิทัล ที่ต้องยอมรับว่ามี และยิ่งในสังคมแห่งข้อมูล และความเฉลียวฉลาด โดยเฉพาะอุปกรณ์การสื่อสารที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ ที่ช่วยให้บุคคลที่อาจจะเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้น้อย นั้นสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะเป็น คนชรา ผู้หญิง คนพิการซึ่งสื่ออย่างอินเตอร์เน็ต และโซเชียลมีเดีย ส่วนในการผลักดันอย่างมาก  รวมถึงยังต้องคำนึงถึงผลทางลบอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อปราบปรามการโจมตีทางไซเบอร์ โดยจะต้องแก้ไขปฏิญญากรุงเทพฯ โดยเฉพาะการพูดถึงหลักจริยธรรม คนชายขอบ สิทธิเสรีภาพ โดยไม่ได้เสนอกฎเกณ์เข้มงวด แต่ต้องมีหลักการร่วมกันเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่ใช้มีการติดต่อกับการสื่อสารมวลชนจะสามารถทำต่อไปเช่นไร

ทั้งนี้ เป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำของสื่อดิจิทัลจะต้องลดลงในปี  2563 และในช่วงปี 2558 ที่จะเข้าถึงในการเข้าถึงเป้าหมายการปรับจากระบบการถ่ายทอดโทรทัศน์ระบบอนาลอกไปสู่ระบบดิจิทัลทีวีใน โดยไทยเป็น 1 ใน 15 ที่มีความสามารถที่จะก้าวข้ามผ่านไปได้ โดยมีความสำคัญนอกจากการถ่ายทอดที่ดีขึ้นแล้ว ยังรวมถึงสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
 
กำหนดกรอบจริยธรรมดูแล “โซเชียล มีเดีย”
ขณะที่นายแลนเดอร์ ตัวแทนจากยูเนสโกมีความวิตกกังวล การเติบโตของสื่อใหม่ โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย ที่มองว่า การแก้ไขปฏิญญากรุงเทพฯจะต้องปรับปรุงให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการพัฒนาของสื่อนำไปสู่การสร้างเสริมประชาธิปไตยที่แข็งแรงบนพื้นฐานของความมีจริยธรรมของสื่อ ไปจนถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับสื่อ ที่จะต้องตอบสนองความต้องการของสื่อ ที่ยูเนสโกยอมรับว่า จริยธรรมของสื่อนั้นจำเป็นต้องครอบคลุมไปจนถึงสื่อโซเชียล มีเดีย เพื่อนำไปสู่การแสดงออกใหม่ๆ ซึ่งความสำคัญอย่างมากโดยผู้รับสารจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้รับไปสู่ผู้สร้างสรรค์

หนุนขยายพื้นที่ข่าว “เด็ก-สตรี”
นางสุนทรี เทวี โสโบรัน ตัวแทนจาก MBC กล่าวถึง บทบาทของสิทธิสตรี กฎหมายของสื่อมวลชนจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการให้ครอบคลุมสื่อใหม่ ที่นอกเหนือจากสื่อเดิมอย่างวิทยุ และโทรทัศน์ด้วย เพื่อให้มีมาตรการดูแลที่ใกล้เคียงกันทั้งการกระจายสื่อในเรื่องที่อ่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องเพศ การจัดจ้างหญิง - ชาย ให้มีความเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น 

ขณะที่นายอับบาร์ก้า บอบโบยี่จิอิวา ตัวแทนจาก VON (ไนจีเรีย) ได้เผยว่า สื่อในประเทศแถบแอฟริกายังถือตามหลังประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปฏิญญากรุงเทพฯ โดยเฉพาะปัญหาในการเข้าถึงสื่อดิจิทัล ซึ่งยังถือว่ายังไม่มีความพร้อมมากนักในการเปลี่ยนระบบการถ่ายทอดโทรทัศน์จากระบบอนาลอกไปสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งต้องยอมรับว่าสถานีโทรทัศนทั้งของรัฐ และเอกชนต่างก็ยังไม่มีความพร้อมเพียงพอ และยังต้องการงบประมาณสนับสนุน เพื่อจะเชื่อมโยงสื่อแอฟริกา และเอเชียในอนาคต

“วิทยุชุมชน” เครื่องมือสำคัญระบอบประชาธิปไตย
ขณะที่วงเสวนายังมองว่า การสร้างสถานีวิทยุขนาดเล็ก หรือ “วิทยุชุมชน” ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตยตามที่ได้รับอนุญาตในประเทศที่จะมีเสรีภาพในการพูด เนื้อหาที่เกี่ยวกับวิทยุชุมชนที่เป็นความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นจึงจะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วม วิทยุชุมชนมีการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในการอ้างสิทธิ และก่อให้เกิดการคุ้มครองส่งเสริมการปฏิบัติตามและสิทธิมนุษยชนทั้งหมดเพื่อให้นโยบายของรัฐบาลควรสนับสนุนทรัพยากรในการวิทยุชุมชน อินเทอร์เน็ต, ดิจิทัล และมัลติมีเดียสามารถช่วยวิทยุชุมชนได้รับความคิดเห็นจากผู้ชม และทำให้เกิดการสื่อสาร 2 ทาง

ปัจจุบันสื่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่าย วิทยุชุมชน หรือสถานีวิทยุขนาดเล็กที่สามารถลดต้นทุนการดำเนินงานเช่นเดียวสามารถสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง