เสวนา "สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย" ชี้ "แก้รธน." ขัดรัฐธรรมนูญ

การเมือง
29 มิ.ย. 55
14:06
9
Logo Thai PBS
เสวนา "สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย" ชี้ "แก้รธน." ขัดรัฐธรรมนูญ

กรณีร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แม้จะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้วินิจฉัยตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้เสนอคำร้อง ยืนยันว่าขั้นตอนการยื่นคำร้องชอบด้วยบทบัญญัติและเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ

ในระหว่างที่รัฐสภา ต้องชะลอกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุที่มีคำร้องกล่าวหาเข้าข่ายการล้มล้างการปกครอง ตามมาตรา 68 ทำให้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา จัดเสวนาเรื่อง "สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย" เพื่อระดมความเห็นจากนักวิชาการ ภาคประชาชนและส.ว. ถึงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น

โดยผู้เข้าร่วมเสวนาส่วนใหญ่ เห็นว่าการตีความตามตัวอักษรและตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ ผู้พบเห็นสามารถยื่นคำร้องตามมาตรา 68 ต่ออัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง ขณะเดียวกันก็เชื่อว่าการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้งส.ส.ร.ในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ขัดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

<"">
<"">

ผศ.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญนอกเหนือจากบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้แล้ว ขัดต่อวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนุญ

ขณะที่ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา กล่าวว่า มาตรา 291 มีเจตนารมย์ที่จะให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยความมุ่งหมายว่า รัฐธรรมนูญเมื่อใช้ไปนานๆโดยก็อาจไม่เหมาะกับสังคมในปัจจุบัน จึงสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยแก้ไขตาม มาตรา 91

และแม้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ออกมาถึงแนวโน้มของการถอนร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองออกจากวาระที่ถูกบรรจุเป็นเรื่องด่วนในสภาผู้แทนราษฎร แต่ทั้งพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.พรรคมาตุภูมิและนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ผู้เสนอร่างกฎหมายกลับปฏิเสธที่จะถอนร่างกฎหมาย และด้วยเหตุนี้ วิปรัฐบาล จึงเตรียมประชุมสรุปแนวทางร่วมกันในสัปดาห์หน้า

<"">
<"">

อุดมเดช รัตนเสถียร ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่า วิปรัฐบาลจะหารือถอนและเลื่อนปรองดองต่อไป แต่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน ยังไม่เชื่อว่าการถอนหรือเลื่อนร่างปรองดองจะเป็นไปได้ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่าการขับเคลื่อนที่ต่างกันออกไป อาจกำลังเดินเกม 2 ด้าน หรือน่าจะเกิดความขัดแย้งภายใน หากแต่วันเปิดประชุมสภาฯนัดแรก 1 สิงหาคมก็น่าจะได้ความชัดเจน เช่นเดียวกับการแก้รัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญก็จะวินิจฉัยคำร้องกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งก็จะชี้ขาดได้ว่า จะเดินหน้าหรือถอยหลัง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง