ดาวตกชนิดระเบิด

9 มี.ค. 67
จากปรากฏการณ์พบลูกไฟขนาดใหญ่ แตกเป็นหลายชิ้นส่วน เหนือท้องฟ้าหลายจังหวัดของไทย เมื่อหัวค่ำ 6 มีนาคม 2567 ครั้งนี้คาดอาจเป็น ดาวตกชนิดระเบิด NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยข้อมูลจากกรณีมีผู้พบเห็นแสงสว่างวาบเป็นทางยาว เหนือท้องฟ้าหลายพื้นที่ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของไทย แสงดังกล่าวปรากฏขึ้นประมาณสองครั้ง เวลาประมาณ 19:13 น. มีลักษณะหัวเป็นสีฟ้า หางเป็นสีเขียว จากนั้นแตกออกเป็น 2-3 ส่วน และเวลาประมาณ 20:21 น. ปรากฏขึ้นอีกหนึ่งครั้ง มีสีส้ม มองเห็นด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน คาดว่าเป็น “ดาวตกชนิดระเบิด” เหตุการณ์ครั้งนี้พบเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจนในหลายจังหวัดกระจายอยู่เกือบทุกภูมิภาคของไทย อาทิ ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ อยุธยา ฉะเชิงเทรา กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี นครสรรค์ ศรีสะเกษ ชุมพร บุรีรัมย์ ชลบุรี สมุทรสาคร นครปฐม นครนายก ระยอง ชัยภูมิ เชียงใหม่ เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าวคาดว่าอาจเป็นดาวตกชนิดระเบิด ซึ่งเกิดจากวัตถุท้องฟ้าขนาดเล็ก เช่นดาวเคราะห์น้อย หรือเศษชิ้นส่วนที่กระเด็นจากการพุ่งชนบนดวงจันทร์หรือดาวอังคาร เป็นต้น เมื่อเศษชิ้นส่วนดังกล่าวเคลื่อนที่เข้ามายังชั้นบรรยากาศโลก เสียดสีกับอนุภาคในชั้นบรรยากาศ เกิดความร้อนสูงจนลุกไหม้จึงมองเห็นเป็นแสงสว่างวาบพาดผ่านท้องฟ้า ที่เราเรียกว่า ดาวตก กรณีที่เศษชิ้นส่วนมีขนาดใหญ่ ความร้อนและแสงสว่างที่เกิดขึ้นก็จะมากขึ้นตามไปด้วย หากมีความสว่างเทียบเท่ากับความสว่างของดวงจันทร์เต็มดวง หรือเกิดการระเบิดขึ้นกลางอากาศ นักดาราศาสตร์จะเรียกว่า ดาวตกชนิดระเบิด (Bolide) #ดาวตกชนิดระเบิด #ดาวตก #ดาวตกชนิดลูกไฟ #ลูกไฟสีเขียว #ข่าววันนี้ #ข่าวล่าสุด #ข่าวล่าสุดวันนี้ #ข่าวไทยพีบีเอส #ข่าวที่คุณวางใจ #ThaiPBSnews

ดาวตกชนิดระเบิด

9 มี.ค. 67
จากปรากฏการณ์พบลูกไฟขนาดใหญ่ แตกเป็นหลายชิ้นส่วน เหนือท้องฟ้าหลายจังหวัดของไทย เมื่อหัวค่ำ 6 มีนาคม 2567 ครั้งนี้คาดอาจเป็น ดาวตกชนิดระเบิด NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยข้อมูลจากกรณีมีผู้พบเห็นแสงสว่างวาบเป็นทางยาว เหนือท้องฟ้าหลายพื้นที่ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของไทย แสงดังกล่าวปรากฏขึ้นประมาณสองครั้ง เวลาประมาณ 19:13 น. มีลักษณะหัวเป็นสีฟ้า หางเป็นสีเขียว จากนั้นแตกออกเป็น 2-3 ส่วน และเวลาประมาณ 20:21 น. ปรากฏขึ้นอีกหนึ่งครั้ง มีสีส้ม มองเห็นด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน คาดว่าเป็น “ดาวตกชนิดระเบิด” เหตุการณ์ครั้งนี้พบเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจนในหลายจังหวัดกระจายอยู่เกือบทุกภูมิภาคของไทย อาทิ ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ อยุธยา ฉะเชิงเทรา กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี นครสรรค์ ศรีสะเกษ ชุมพร บุรีรัมย์ ชลบุรี สมุทรสาคร นครปฐม นครนายก ระยอง ชัยภูมิ เชียงใหม่ เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าวคาดว่าอาจเป็นดาวตกชนิดระเบิด ซึ่งเกิดจากวัตถุท้องฟ้าขนาดเล็ก เช่นดาวเคราะห์น้อย หรือเศษชิ้นส่วนที่กระเด็นจากการพุ่งชนบนดวงจันทร์หรือดาวอังคาร เป็นต้น เมื่อเศษชิ้นส่วนดังกล่าวเคลื่อนที่เข้ามายังชั้นบรรยากาศโลก เสียดสีกับอนุภาคในชั้นบรรยากาศ เกิดความร้อนสูงจนลุกไหม้จึงมองเห็นเป็นแสงสว่างวาบพาดผ่านท้องฟ้า ที่เราเรียกว่า ดาวตก กรณีที่เศษชิ้นส่วนมีขนาดใหญ่ ความร้อนและแสงสว่างที่เกิดขึ้นก็จะมากขึ้นตามไปด้วย หากมีความสว่างเทียบเท่ากับความสว่างของดวงจันทร์เต็มดวง หรือเกิดการระเบิดขึ้นกลางอากาศ นักดาราศาสตร์จะเรียกว่า ดาวตกชนิดระเบิด (Bolide) #ดาวตกชนิดระเบิด #ดาวตก #ดาวตกชนิดลูกไฟ #ลูกไฟสีเขียว #ข่าววันนี้ #ข่าวล่าสุด #ข่าวล่าสุดวันนี้ #ข่าวไทยพีบีเอส #ข่าวที่คุณวางใจ #ThaiPBSnews