เตรียมใจของแพง ค่าแรงขึ้น 400 บาท สินค้า-บริการจ่อปรับ 15%

เศรษฐกิจ
29 เม.ย. 67
15:56
1,432
Logo Thai PBS
เตรียมใจของแพง ค่าแรงขึ้น 400 บาท สินค้า-บริการจ่อปรับ 15%
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ม.หอการค้าไทย เผย เอกชนชี้ปรับค่าแรงเพิ่มขึ้น 400 บาทต่อหัว ราคาสินค้าจ่อขยับอีก 15% ภายใน 1-3 เดือน ทำผู้ประกอบการเกินครึ่งเทใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน หนีจ่ายค่าจ้างแพง

วันนี้ (29 เม.ย.2567) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้า กล่าวว่า หลังจากกระทรวงแรงงานปรับขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ 400 บาท นำร่อง 10 จังหวัดในธุรกิจโรงแรม และเตรียมทยอยขึ้นค่าแรงในธุรกิจ ทั่วประเทศภายในปี 2567

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้า

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้า

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้า

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้สำรวจความคิดเห็นภาคเอกชนทั้งภาคการผลิต การค้าและบริการ พบว่า การปรับอัตราค่าแรงในแต่ละครั้งมักจะมีผลกระทบต่อทั้ง GDP เงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน รวมถึงอัตราการว่างงานทั้งบวกและลบ

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ผลเชิงบวก คือ เมื่อผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) เพิ่มขึ้น จะช่วยผลักดันให้ GDP โตขึ้นตามไปด้วย กระตุ้นกำลังซื้อดีและการผลิตและการลงทุนดีขึ้น

ทั้งนี้หากผลิตภาพแรงงานที่สูงขึ้น อาจช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้า เมื่อต้นทุนต่อหน่วยลดลง จะช่วยให้สินค้าในประเทศแข่งขันได้มากขึ้น และเมื่อค่าแรงสูงขึ้นอาจจูงใจให้นายจ้างลงทุนในการพัฒนาทักษะและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของแรงงาน

ส่วนผลเชิงลบ คือ หากค่าแรงเพิ่มเร็วเกินไป อาจเกิดการว่างงานและกำลังซื้อลดลง เช่น ฝรั่งเศส ปี 2543 ค่าแรงขึ้นมากเกินไปโดยไม่ได้คำนึงถึงผลิตภาพแรงงาน และถ้าผลิตภาพไม่เพิ่มตามค่าแรง ความสามารถแข่งขันอาจลดลง กระทบการส่งออกและ GDP

ขณะเดียวกัน นายจ้างอาจปลดพนักงานหากรับมือต้นทุนไม่ไหว กระทบกำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจ ต้นทุนค่าแรงอาจถูกผลักไปที่ราคาสินค้าทำให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อ โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น และหากไม่ลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพ ต้นทุนที่สูงขึ้นอาจมีผลทำให้ขีดความสามารถแข่งขันลดลง ซึ่งส่งผลเสียในระยะยาว

สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่า เอกชน 64.7 % จะปรับราคาสินค้าและบริการประมาณ 15 % ขึ้นไป และ 17.2 % คือ ลดปริมาณซึ่งนี่เป็นแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการ และ 11.5 % มีแนวโน้มที่จะนำเครื่องจักรมาทดแทนแรงงาน เพราะกำลังการผลิตของแรงงานไม่สามารถเทียบเท่ากับเครื่องจักรได้ และเครื่องจักรมีความแม่นยำ ถูกต้องกว่าแรงงานคน

 ผู้ประกอบการกังวลว่าจะมีภาระต้นทุนของธุรกิจสูงขึ้น แต่ทักษะการทำงานของลูกจ้างยังคงเท่าเดิม ต้นทุนค่าแรงสูงขึ้นก็จริง แต่ภาระต้นทุนอื่นๆ ของการทำธุรกิจสูงขึ้น

เช่นเดียวกับ เช่น ค่าน้ำมัน ค่าไฟฟ้า แน่นอนว่าผลกระทบนอกจากความสามารถในการแข่งขันแล้ว ซึ่งผู้ประกอบการ 72.6 % ยังคงเห็นว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาท ยังไม่มีความเหมาะสม และยังมองว่าค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 370 บาทต่อวัน

ส่วนมุมของแรงงาน หรือ ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาท สำรวจทั่วประเทศจำนวน 1,259 ตัวอย่าง พบว่ากรณีที่ไม่สามารถปรับเพิ่มค่าแรงได้อย่างที่คาดหวังไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ 65.3 % ขอเพียงให้เพิ่มเท่ากับค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่มสูงขึ้น รองลงมาขอให้เพิ่มเท่ากับค่าเดินทาง เพิ่มเท่ากับค่าราคาอาหาร เพิ่มเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเพิ่มเท่ากับค่าเช่าที่อยู่อาศัย

อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ราคาสินค้าที่ปรับตัวตาม ซึ่ง60.8% ของแรงงานไม่สามารถรับได้ ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องค่าแรงหรือค่าครองชีพ คือ ช่วยเหลือค่าครองชีพกลุ่มเปราะบาง กระตุ้นเศรษฐกิจแรงงานจะได้มีรายได้เพิ่ม

หรือนายจ้างช่วยค่าอาหารช่วยเหลือให้เงินอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค กระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาคให้แรงงานกลับถิ่น และมีสวัสดิการค่าเดินทางให้กับแรงงานรายได้น้อย นอกจากนี้ แรงงานยังกังวลเรื่องตกงาน และมีความเสี่ยงจากการไม่มีเงินเก็บซึ่งสัดส่วนถึง 81.3% จะสามารถอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน

อ่านข่าว : ราคาทองคำ เช้านี้ ติดลบ 150 คาดเฟดคงดอกเบี้ย แนะซื้อสะสม

พาณิชย์รับส่งออก มี.ค.ติดลบ 10.9% ครั้งแรกรอบ 8 เดือน

รอบที่ 2! “ไข่ไก่” ปรับราคาขึ้นอีกแผงละ 6 บาท มีผล 29 เม.ย.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง