รัฐบาลเตรียมใช้ ม.44 ช่วยผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล พักจ่ายเงินประมูล 3 ปี

เศรษฐกิจ
15 มี.ค. 61
16:33
1,072
Logo Thai PBS
รัฐบาลเตรียมใช้ ม.44 ช่วยผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล พักจ่ายเงินประมูล 3 ปี
รัฐบาลเตรียมใช้มาตรา 44 ช่วยผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล พักจ่ายเงินประมูล 3 ปี ขณะที่ กสทช.ช่วยค่าเช่าเสาโครงข่าย 2 ปี มีผลหลังประกาศ มาตรา 44 ในช่วงกลางเดือนหน้าอย่างช้า

วันนี้ (15 มี.ค.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมร่วมเพื่อแก้ปัญหาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประชุมร่วมกับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล เพื่อมารับฟังความคิดเห็น โดยนายวิษณุให้ส่งตัวแทนฝ่ายละ 5 ช่อง โดยกลุ่มที่ต้องการให้ช่วยเหลือ เช่น กลุ่มที่ร้องขอให้ช่วยเหลือ เช่น เนชั่นทีวี, ไทยรัฐทีวี, สปริงนิวส์, ช่องวัน และนิวทีวี เป็นตัวแทน ด้วยการเสนอขอพักชำระหนี้ที่ชนะประมูลทีวีดิจิทัล จากกำหนดเดิม กสทช.กำหนดว่าต้องจ่ายทุกปี และกลุ่มที่ไม่ได้ยื่นมาตรการขอความช่วยเหลือ เพราะเห็นว่าเดินหน้าต่อได้ มีตัวแทน 5 ช่อง เช่น ช่อง 3, ช่อง 7, โมโน, เวิร์คพ้อยท์ และ TNN ซึ่งนายวิษณุให้เชิญมาร่วมสะท้อนความคิดเห็น และการประชุมวันนี้ ยังมีตัวแทนจาก กสทช., ตัวแทนจากกรรมการกฤษฎีกา, กระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ, สมาพันธ์ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ผู้แทน กมธ.ปฏิรูปด้านสื่อสารมวลชน สนช.เข้าร่วมด้วย

 

นายวิษณุ เครืองาม

นายวิษณุ เครืองาม

นายวิษณุ เครืองาม

 

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์

 

นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม (ขวา)

นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม (ขวา)

นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม (ขวา)

 

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เปิดเผยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกัน สำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล จะได้รับการพักชำระหนี้ 3 ปี โดยผู้ประสงค์จะขอพัก ต้องยื่นแสดงความจำนงภายใน 30 วัน และเสียดอกเบี้ยตามอัตราธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้ง กสทช.จะสนับสนุนค่าเช่าโครงข่าย (มักซ์) สัญญาณทีวีดิจิทัล ไม่เกินร้อยละ 50 ของค่าเช่าที่ต้องเสีย โดยจะสนับสนุนเป็นเวลา 24 เดือน นับจาก คสช.ออก มาตรา 44

นอกจากนี้ จะช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ชนะมูล 4G คลื่นความถี่โทรคมนาคมด้วย ซึ่งบริษัท เอไอเอส และทรู คอร์ปอเรชั่น จะยังต้องจ่ายเงินประมูลงวด 4 อีกประมาณ 59,000 ล้านบาท และกว่า 60,000 ล้านบาท ซึ่งจะให้แบ่งชำระเป็นระยะเวลา 5 ปี เหลือปีละกว่า 10,000 ล้านเศษ

"การให้ความช่วยเหลือ นายวิษณุ รองนายกฯ ระบุว่า น่าจะเสนอ ครม.วันที่ 27 มี.ค.2561 จากนั้นจะเสนอหัวหน้า คสช.ออก ม.44 ซึ่งน่าจะทันภายในปลายเดือนนี้ หรือกลางเดือนหน้า" นายฐากร กล่าว

 

นายสุภาพ คลี่ขจาย (ซ้าย)

นายสุภาพ คลี่ขจาย (ซ้าย)

นายสุภาพ คลี่ขจาย (ซ้าย)

 

 

ด้านนายสุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าวว่า ผลวันนี้ผู้ประกอบการพอใจสำหรับมาตรการช่วยเหลือ เพราะจะนำเงินไปพัฒนาเนื้อหา บุคลากร และช่วยให้อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลอยู่รอดได้ และการประชุมครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับคำพิพากษาศาลปกครองกลางกรณีไทยทีวี เพราะเป็นเรื่องต่อเนื่องข้ามปีแล้ว

 

นายประวิทย์ มาลีนนท์ (ซ้าย)

นายประวิทย์ มาลีนนท์ (ซ้าย)

นายประวิทย์ มาลีนนท์ (ซ้าย)

 

นายประวิทย์ มาลีนนท์ อดีตผู้บริหารช่อง 3 กล่าวว่า มาตรการใดที่เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการ ก็เห็นด้วยกับแนวทางนั้น

ขณะที่นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์นิวทีวี กล่าวว่า มาตรการที่ออกมาเป็นแนวทางที่ดีสำหรับการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และในส่วนนิวทีวีเอง ยังเดินหน้าทำสถานีโทรทัศน์ต่อไป เพราะขณะนี้ อีกหลายช่องก็ยังคงเดินหน้าประกอบกิจการ

 

ฉัตรชัย ตะวันธรงค์

ฉัตรชัย ตะวันธรงค์

ฉัตรชัย ตะวันธรงค์

 

นายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท สปริงนิวส์ กล่าวว่า มาตรการที่ออกมาวันนี้ ช่วยต่อลมหายใจให้ผู้ประกอบการได้ระยะหนึ่ง แม้สุดท้ายแล้ว ผู้ประกอบการต่างต้องการเดินหน้าประกอบกิจการกันต่อไป แต่ไม่มีอะไรการันตีได้ว่ามาตรการเหล่านี้ จะทำให้มีผู้ประกอบการรายใดต้องการยกเลิกประกอบกิจการหรือไม่ เพราะเดือนพฤษภาคม 2561 จะครบระยะเวลาจ่ายเงินประมูลงวดที่ 5 แล้ว ก็ต้องรอดูช่วงเวลานั้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการยังมีภาระอื่นนอกจากการชำระค่าประมูล เช่น ค่าเช่าโครงข่าย หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการประกอบกิจการ ต้องดูระยะยาวหลังจากนี้ว่าผู้ประกอบการรายใดจะตัดสินใจยกเลิก หรือรายใดเดินหน้าต่อ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง