สนามบิน "ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ" กับแผนพัฒนาศักยภาพการขนส่งทางอากาศของไทย

1 ต.ค. 55
14:31
387
Logo Thai PBS
สนามบิน "ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ" กับแผนพัฒนาศักยภาพการขนส่งทางอากาศของไทย

6 ปีกับปัญหาความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ ที่สนามบินมีศักยภาพรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 45 ล้านคน แต่ทุกวันนี้มีผู้โดยสารมากถึง 51 ล้านคน รัฐบาลจึงต้องปรับนโยบายจากการให้บริการสนามบินเดียว มาเป็น 2 สนามบิน โดยให้สนามบินดอนเมืองเป็นฐานของสายการบินต้นทุนต่ำ

 การเปิดใช้สนามบินดอนเมืองเต็มรูปแบบวันนี้(1ต.ค.55) ลดความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิได้ปีละ 4 ล้านคน แต่ทั้งนี้ การท่าอากาศยานจะต้องบริหารและพัฒนา 2 สนามบิน เพื่อรองรับผู้โดยสารที่คาดว่าจะมีมากถึง 100 ล้านคนในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะการเชื่อมต่อของ 2 สนามบิน เพื่อให้สะดวกกับผู้โดยสาร 

 
การย้ายสายการบินโลว์คอสต์แอร์ไลน์ หรือ สายการบินต้นทุนต่ำ กลับมายังสนามบินดอนเมือง ตอกย้ำแผนพัฒนาสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อรองรับผู้โดยสาร 100 ล้านคน ในปี 10 ปีข้างหน้า
 
ตามแผนบริษัทท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. จะเน้นให้สนามบินดอนเมืองรองรับสายการบินต้นทุนต่ำ และสายการบินเชื่อมตรงไปยังปลายทาง  การเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ทอท.คาดว่า จะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นจากปีละ 9 ล้านคน เป็นปีละ 14 ล้านคน ซึ่งศักยภาพของสนามบินดอนเมือง รองรับได้เต็มที่ถึง 36 ล้านคน

 

<"">
  
<"">
  
 
ส่วนสนามบินสุวรรณภูมิปัจจุบัน มีผู้โดยสาร ใช้บริการมากกว่า 51 ล้านคน จากศักยภาพที่รองรับได้ปีละ 45 ล้านคนซึ่งการย้ายสายการบินต้นทุนต่ำไปยังสนามบินดอนเมือง จะทำให้ผู้โดยสารลดลดปีละ 4 ล้านคน
 
ทั้งนี้ ทอท.จะเน้นให้สุวรรณภูมิเป็นสนามบินหลัก รองรับเที่ยวบินเต็มรูปแบบ โดยมีแผนพัฒนาะระยะที่ 2 และ 3 โดยระหว่างปี 2555-2560 จะเพิ่มการรองรับผู้โดยสารให้ได้ปีละ 60 ล้านคน ด้วยการขยายอาคารผู้โดยสารฝั่งทิศตะวันออก ก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบิน รวมถึงก่อสร้างรันเวย์ที่ 3

  

<"">
  
<"">

 
ส่วนระยะที่ 3 ระหว่างปี 2559-2564 จะเพิ่มการรองรับผู้โดยสารให้ได้ปีละ 75 ล้านคน ไปจนปี 2570 มีโครงการขยายอาคารด้านผู้โดยสารทิศตะวันตก ก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่สอง และงานก่อสร้างลานจอดอากาศยานและอุโมงค์ด้านทิศใต้
 
การเดินหน้าแผนพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิยังคงสร้างความกังวลให้ชุมชนที่เกรงว่าจะได้รับผลกระทบ ซึ่งนายสมชัย สวัสดิผล ผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิ ชี้แจงว่า ทอท.ได้จัดตั้งหน่วยงานชุมชนสัมพันธ์ โดยมีตัวแทนชาวบ้าน ร่วมทำแผนงานร่วมกัน และจะพยายามแก้ปัญหาต่อเนื่อง
 
ในการเปิดบริการ 2 สนามบิน น.ส.มาริสา พงษ์พัฒนพันธุ์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานด้านธุรกิจการบิน หรือ เอโอซี เห็นว่า รัฐบาลและฝ่ายเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อสนามบิน โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้า และการสนับสนุนระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งเปรียบเป็นดัชนีชี้วัด คือความพึงพอใจของผู้โดยสาร
 
สอดคล้องกับนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เห็นว่า การสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่าง 2 สนามบิน จะช่วยกระตุ้นรายได้จากการท่องเที่ยว ที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ถึงถึง 2 ล้านล้านบาท

  

<"">
  
<"">

 
ขณะที่เจ้าของร้านเจ้เล้ง ผู้จำหน่ายสินค้านำเข้ารายใหญ่ บอกว่า การใช้ศักยภาพของทั้ง 2 สนามบิน จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ รอบพื้นที่ดอนเมือง การทำให้การเดินทางของทั้ง 2 สนามบินเป็นไปอย่างคึกคัก
 
อย่างไรก็ตาม แผนการพัฒนาของทั้ง 2 สนามบิน อาจยังต้องประเมินควบคู่กับข้อมูลของกระทรวงคมนาคม เพื่อให้สอดรับกับทิศทางของการเติบโตการขนส่งอากาศอีกร้อยละ 6-8 ในช่วงปี 2555-2562 จากการเปิดน่านฟ้าเสรีในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะการเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำในไทย ซึ่งขณะนี้มีผู้โดยสารใช้บริการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17 จากปี 2550 ที่มีผู้โดยสารประมาณ 5 ล้านคน
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง