ปลดล็อกให้ใช้สารสกัดจาก "กัญชง" ผลิตยา-ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้

อาชญากรรม
31 ส.ค. 62
14:20
2,602
Logo Thai PBS
ปลดล็อกให้ใช้สารสกัดจาก "กัญชง" ผลิตยา-ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ได้
เว็บไซต์ราชกิจจาฯ เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธาณสุข ปลดล็อกกัญชาและกัญชงให้ผสมอาหารและผลิตเครื่องสำอางได้

วันนี้ (31 ส.ค.2562) เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 ซึ่งมีสาระสำคัญที่เป็นการกำหนดเพิ่มเงื่อนไขสำหรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 กัญชา และกำหนดระบุชื่อ “กัญชง” ให้เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 แต่ได้ยกเว้นกรณี

1.สารแคนนาบิไดออล (ซีบีดี)ที่สกัดจากกัญชงซึ่งมีความบริสุทธิ์มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 99 โดยมีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ไม่เกินร้อยละ 0.01 โดยน้ำหนัก

2.สารสกัดหรือผลิตภัณฑ์จากสารสกัดที่มีสารซีบีดีเป็นส่วนประกอบหลัก และ มีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก ซึ่งเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามกฎหมายว่าด้วยยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร และต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ทางยาหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร เท่านั้น 

3.เมล็ดกัญชงหรือน้ำมันจากเมล็ดกัญชงซึ่งเป็นอาหารและนำไปเพาะพันธุ์ไม่ได้ 

4.น้ำมันจากเมล็ดกัญชงหรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง ซึ่งเป็นเครื่องสำอาง และนำไปเพาะพันธุ์ไม่ได้ 

5.เปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้งและผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง 


โดยกำหนดให้จำหน่ายได้ภายในประเทศเท่านั้น มีระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่ 27 สิงหาคม 2562

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) ระบุว่า เริ่มการศึกษาวิจัยกัญชง มาตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งกัญชง มีคุณประโยชน์ตลอดทั้งต้น โดยเฉพาะน้ำมันและสารสกัดที่ได้จากกัญชงนี้ จะมีสาร CBD ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น น้ำมันจากเมล็ดสามารถไปผลิตเป็นน้ำมันซักแห้ง ทำสบู่ เครื่องสำอาง และถูกพัฒนาเป็นตำรับครีมน้ำมันกัญชงที่ให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงผิวแห้งเพื่อรักษาโรคผิวแห้งคันและสะเก็ดเงิน นอกจากนั้นยังสามารถนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ฯลฯ

อ่านประกาศ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/218/T_0001.PDF

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง