คอป.ชี้ 3 ปัจจัยขยายผลความขัดแย้งสู่การใช้ความรุนแรงในสังคมไทย

การเมือง
17 ก.ย. 55
11:31
114
Logo Thai PBS
คอป.ชี้ 3 ปัจจัยขยายผลความขัดแย้งสู่การใช้ความรุนแรงในสังคมไทย

คอป.ระบุ 3 ปัญหาหลักส่งผลไปสู่ให้ความขัดแย้งขยายตัวและนำไปสู่การใช้ความรุนแรง

<"">
<"">

วันนี้ (17 ก.ย.) ดร.จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย กรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป.ระบุ แถลงถึงจัดทำรายงานการสืบค้นในการระบุถึงที่มาของการใช้ความรุนแรงในสังคมไทยในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาว่า มีหลายสาเหตุผสมผสานกันและเป็นพลวัต โดยมี 3 จุดสำคัญนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่นำไปสู่คสวามรุนแรงที่เกิดขึ้น ดังนี้
<"">
<"">

1.ความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท ซึ่งถือเป็นปัญหาดั้งเดิมของสังคม การครอบครองทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม การกระจายรายได้ไม่เป็นธรรมของสังคมเมืองและสังคมชนบท รัฐและนโยบายของรัฐจัดสรรหรือจัดการได้อย่างไม่เป็นธรรม และกระบวนการกฎหมายและกระบวนการทางนิติธรรมที่ไม่ได้ผล โดยดำเนินเรื่อยมาแต่ไม่ส่งผลให้เกิดความรุนแรง หรือวัฒนธรรมและควมเชื่อเรื่องบุญ-กรรม รวมไปถึงวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ หรือการสงเคราะห์เป็นรายครั้งไปทำให้ความรุนแรงยังคงไม่เกิดขึ้น

2.ตัวตั้งเงื่อนไขนำไปสู่ความรุนแรง ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกในช่วงปี 2540 การมีรัฐธรรมนูญปี 40 ที่เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเดิมในระบบไพร่ฟ้า หรือเรื่องบุญกรรมไปสู่การเป็นพลเมือง และเมื่อเข้าสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540 จึงเกิดกลุ่มทุนใหม่และประชาชนรากหญ้าใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยต่อสู้กับกลุ่มทุนเก่าที่ปรับตัวไม่ทันซึ่งถือว่าเป็นช่วงของการช่วงชิงอำนาจ  รวมไปถึงทักษิโณมิคอยู่ในขั้นของการช่วงชิงอำนาจในขั้นที่ค่อนข้างคุกรุ่นที่จะนำไปสู่ความรุนแรง

3.ตัวกระตุ้นแปรเปลี่ยนความขัดแย้งเป็นความรุนแรง ก็คือ การรัฐประหารในปี 2549 ซึ่งทำให้ผู้มีอำนาจเดิมนั้นหมดอำนาจและกลุ่มผู้นำใหม่ที่เกิดขึ้นจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ (คมช.) และการมีรัฐธรรมนูญปี 50 และการเปลี่ยนขั้วอำนาจจนทำให้การเรื้อรังของปัญหานั้นรุนแรง และนำไปสู่สังคมของการเลือกสี และแม้ว่าจะมีการผลัดกันขึ้นมาเป็นผู้นำ แต่ในยุคของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ ขึ้นดำรงตำแหน่ง นั้นก็ปรากฎว่าได้มีการใช้ความรุนแรงในหลายด้านไม่ว่าจะทั้งจากรัฐ และฝ่ายตรงข้าม ทั้งการปราศรัยที่ใช้ถ้อยคำรุนแรง การจาบจ้วงสถาบัน ซึ่งนำไปสู่การใช้ความรุนแรง เนื่องจากความไม่ชอบธรรมในการเข้ารับตำแหน่ง และการนำทหารมาใช้การในดูแลความสงบในช่วงของการชุมนุมในช่วงปี 2553 ที่ผ่านมา


ข่าวที่เกี่ยวข้อง