นักวิชาการเชื่อน้ำโขงแห้งมาจากจีนกักน้ำไว้ในเขื่อน

สังคม
5 มี.ค. 53
05:25
108
Logo Thai PBS
นักวิชาการเชื่อน้ำโขงแห้งมาจากจีนกักน้ำไว้ในเขื่อน

นักวิชาการเชื่อน้ำโขงแห้งเร็วกว่าทุกปีมาจากจีนกักน้ำไว้สร้างเขื่อนเสี่ยววาน ส่งผลกระทบต่อกลุ่ม 5 ประเทศลุ่มน้ำโขง พร้อมแนะให้รวมกันใช้เวทีการค้าเจรจากัดดันจีนปล่อยน้ำให้ไหลลงมาตามปกติ ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่น่าหวาดหวั่นอย่างยิ่งของคนลุ่มน้ำโขง 5 ชาติ ทั้งพม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม เพราะเพียงสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ระดับน้ำในแม่น้ำโขง จากการตรวจวัดระดับน้ำที่ จ.หนองคาย มีระดับต่ำสุดที่ 33 เซนติเมตร ซึ่งต่างจากปกติที่น้ำในแม่น้ำโขง จะเริ่มแห้งในเดือนเม.ย.ของทุกปี

นายมนตรี จันทะวงศ์ มูลนิธิฟื้นฟูชีวิต และ ธรรมชาติ มองว่า สาเหตุที่แม่น้ำโขงแห้งขอดมาจาก 2 สาเหตุด้วยกันคือ 1.ในช่วงปีที่ผ่านมาฝนตกน้อย 2. เกิดจากการสร้างเขื่อนของประเทศจีน ซึ่งจากการติดตามมาตั้งปี เขื่อนแห่งแรกของจีนคือเขื่อนม่านวาน (Manwan)ที่สร้างในเสร็จปี2536 จากการศึกษาของกรมทรัพยากรน้ำเมื่อเดือนเม.ย. 2547 พบว่าตั้งแต่เปิดเขื่อนม่านวานปี2536 ปริมาณน้ำที่ไหลเฉี่ยในแม่น้ำโขงที่เคยไหลอยู่ที่ 752ลูกบาศก์เมตร/วินาที ลดลงมาเหลืองเพียง569 ลูกบาศก์เมตร/วินาทีหรือลดลงประมาณ 25 %

หลังจากนั้นในปี 2548-2549 เมื่อเขื่อนต้าเฉาซาน (Dachaoshan) สร้างเสร็จระดับน้ำในแม่น้ำโขงก็ลดระดับไปใกล้เคียงปี 2536 อีกครั้ง
นอกจากนี้จีนยังสร้างเขื่อนจิงฮงขึ้นมากอีก ล่าสุดจีนยังได้การสร้างเขื่อนเสี่ยววาน (Xiaowan) ซึ่งมีความสูงถึง 300 เมตรมีกำหนดสร้างเสร็จ ปี 2555 นี้ ใหญ่กว่า 3 เขื่อนที่สร้างเสร็จแล้ว 5 เท่า

โดยปริมาณน้ำทั้ง 3 เขื่อน คือ เขื่อนต้าเฉาซาน, เขื่อนม่านวาน และเขื่อนจิงฮง รวมกันประมาณ 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เขื่อนเซี่ยววานมีปริมาณมากถึง 15,000 ล้านลูกบาศก์เมตรไว้รองรับน้ำแข็งที่ละลายจากจากเทือกเขาทิเบตในช่วงนี้

“ค่อนข้างมั่นใจว่าเขื่อนประเทศจีนมีผลโดยตรงกับแม่น้ำโขงที่แห้งลงอย่างผิดปกติ”

ขณะที่นาย ทรงฤทธิ์ โพนเงิน กรรมการศูนย์แม่น้ำโขงศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวว่า การศึกษาในทุกยุคสมัยพบว่าสัดส่วนน้ำ 20 % ของน้ำโขงมาจากจีนซึ่งเกิดจากการละลายหิมะของทิเบตในหน้าร้อน และที่เขื่อนเสี่ยววานมีความสูงถึง 300 เมตรเทียบเท่ากับตึก 100 ชั้นคอยดักเอาไว้ทำให้น้ำไหลไม่ถึงน้ำโขงในปัจจุบัน

นอกจากนี้เนื่องจากเขื่อนเสี่ยววานมีนาดใหญ่ จะต้องใช้เวลากักน้ำน้อย 5 ปีถึงเพียงพอกับความสูงของเขื่อน

อย่างไรก็ดีกรรมการศูนย์แม่น้ำโขงศึกษาฯ ยังมองถึงผลกระทบที่จะตามมาว่า แม่น้ำโขงใช้หล่อเลี่ยงคน 6 ประเทศกว่า 200 ล้านคน มีผลผลิตทางการเกษตร ผลผลิตทางด้านการประมง 3,000 ล้านดอลล่าร์

นอกจากนี้อุตสาหกรรมไฟฟ้าในสปป.ลาวก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งเพราะลาวต้องการเป็นแบตเตอร์รี่เอเชีย โดยตอนนี้ลาวสร้างเขื่อนขายไฟฟ้าให้ไทยถึง1/3 ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ แต่ลาวมีโครงการสร้างเขื่อนในลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงมากถึง 71 เขื่อนในอนาคตจะทำให้น้ำที่ไหลลงน้ำโขงลดลงไปอีก ซึ่งลาวถือเป็นประเทศที่มีน้ำไหลลงน้ำโขงมากที่สุดคือ 40 %

ส่วนทางออกของปัญหานี้กลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศต้องรวมตัวกันกดดันจีนให้ปล่อยน้ำลงมา โดยร่วมกันใช้มาตรการการค้าเข้าต่อรองเพราะจีนต้องการเปิดการค้าเสรีกับ 10 ประเทศอาเซี่ยนซึ่งมีมูลค่ามากถึง 200,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐแต่การขายไฟฟ้าจากเขื่อนของจีนมีมูลค่าเพียง1,000-1,2000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐซึ่งจีนอาจจะทบทวนโครงการได้


แท็กที่เกี่ยวข้อง:

-
ข่าวที่เกี่ยวข้อง